-
โรค “ไอพีดี” (IPD) หรือโรคติดเชื้อแบคทีเรีย “นิวโมคอคคัส” ในเด็กเล็กที่ต้องใส่ใจ
ไม่ว่าลูกจะป่วยเป็นอะไร คุณพ่อคุณแม่ย่อมมีความกังวลใจอยู่ลึกๆ ยิ่งหากลูกยังอยู่ในวัยเด็กเล็กที่ภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรง ย่อมเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงหรืออาการแทรกซ้อนต่างๆ ได้ง่าย โดยเฉพาะหากเกิดการติดเชื้อ “นิวโมคอคคัส” ที่ส่งผลให้เกิดโรคร้ายแรงอย่าง “โรคไอพีดี (IPD)" ได้ ก็เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรทราบ
“โรคไอพีดี” คืออะไร?
โรคไอพีดี (IPD) หรือ Invasive pneumococcal disease เป็นโรคติดเชื้อชนิดลุกลาม โดยมีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า “นิวโมคอคคัส” โดยมักติดต่อกันผ่านทางละอองน้ำลาย น้ำมูก และเสมหะ ซึ่งเชื้อตัวนี้สามารถทำให้เกิดทั้งการติดเชื้อในกระแสเลือด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือปอดอักเสบรุนแรง ที่หากเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี เกิดการติดเชื้ออาจทำให้เด็กพิการหรือเสียชีวิตได้เลยทีเดียว
เชื้อนิวโมคอคคัส...คืออะไร?
เชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส (Streptococcus pneumoniae) เป็นเชื้อที่พบได้ทั่วไปในโพรงจมูกและลำคอ ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งตัวเชื้อสามารถแพร่กระจายได้ง่ายคล้ายการแพร่ของโรคไข้หวัด ทำให้โรคนี้ติดต่อกันได้ง่ายและเกิดได้กับทุกคนในทุกช่วงวัย โดยหากได้รับเชื้อนิวโมคอกคัสเข้าสู่ร่างกาย ถ้าร่างกายแข็งแรงดีก็มักไม่มีอาการใดๆ แต่เมื่อใดที่ร่างกายอ่อนแอก็จะทำให้เกิดโรคร้ายแรงขึ้นมาได้ โดยเฉพาะในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เป็นต้น
อาการจากการติดเชื้อนิวโมคอคคัส
อาการจากการติดเชื้อ “นิวโมคอคคัส” ในแต่ละคนจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่เกิดการติดเชื้อ เช่น เกิดเป็น...
นอกจากนี้เชื้อนิวโมคอคคัสยังทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้อีกหลายชนิด เช่น โรคไซนัสอักเสบ หรือโรคหูชั้นกลางอักเสบ เป็นต้น
โรคไอพีดี รักษาได้หรือไม่?
การรักษาโรคไอพีดี แพทย์จะตรวจวินิจฉัยโดยการตรวจร่างกายและส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจจำนวนเม็ดเลือดขาว รวมถึงการเพาะเชื้อในน้ำไขสันหลังหรือเลือด เมื่อตรวจพบว่าอาการของผู้ป่วยเกิดจากเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสแล้ว แพทย์จะให้ยาต้านจุลชีพในขนาดที่เหมาะสมกับโรคและอาการที่วินิจฉัยพบ
ใครที่มีความเสี่ยงต่อโรคไอพีดี?
คนทั่วไปหรือคนส่วนใหญ่ที่ได้รับเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส มักมีอาการไม่รุนแรง แต่หากเกิดการติดเชื้อในกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อชนิดลุกลามหรือรุนแรงได้ ทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคไอพีดีสูงกว่าปกติ โดยกลุ่มเสี่ยงดังกล่าว ได้แก่
การดูแลและป้องกันตัว...ให้ห่างไกลจากโรคไอพีดี
วัคซีนไอพีดี ฉีดได้ในเด็กอายุ 2 เดือนขึ้นไป
นอกจากการดูแลตนเองแล้ว การฉีดวัคซีนไอพีดีก็สามารถป้องกันและลดโอกาสการติดเชื้อและการเกิดโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถเริ่มฉีดวัคซีนได้ในเด็กอายุตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป โดยแนะนำให้ฉีดในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อนิวโมคอคคัสที่นำไปสู่อาการที่รุนแรงได้
บทความโดย
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม
แผนก กุมารเวชกรรม อาคาร 1 ชั้น 2
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
โทร 02-363-2000 ต่อ 2209-2210
รับข่าวสารและกิจกรรมทางสุขภาพดีๆ ได้ที่
Facebook : Paolo Hospital Samutprakarn
Line official account : Paolo Hospital Samutprakarn