-
โรคงูสวัด...ภาวะอันตรายเมื่อร่างกายอ่อนแอ
โรคงูสวัด แม้จะเคยได้ยินชื่อนี้มากันมาก แต่ก็มีไม่น้อยที่รู้จักเพียงแค่ชื่อ ไม่รู้ถึงความอันตรายและร้ายแรงของโรคนี้ อีกทั้งยังเป็นโรคที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในผู้สูงอายุอันดับต้นๆ อีกด้วย อีกทั้ง โรคนี้ไม่เพียงแต่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุเท่านั้น แต่มันยังสามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ที่อ่อนแอ
อะไรคือ “โรคงูสวัด” ?
โรคงูสวัด (Herpes Zoster) เป็นโรคทางผิวหนังชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่เรียกว่า Varicella Zoster Virus หรือ VZV ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส (Chickenpox) หากติดเชื้อตัวนี้ในเด็กจะทำให้เกิดโรคที่เคยได้ยินกันมาอย่าง “อีสุกอีใส” ซึ่งเมื่อหายจากโรคนี้แล้ว เชื้อที่ได้รับจะยังไม่หายไปแต่จะแฝงตัวอยู่ในร่างกาย รอวันที่ร่างกายอ่อนแอลงหรือภูมิค้มกันต่ำลง อาการจะกำเริบขึ้นมาอีกครั้งได้โดยเรียกกันว่า “โรคงูสวัด”
ซึ่งสาเหตุที่โรคงูสวัดมักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ มักเป็นเพราะเมื่ออายุของเรามากขึ้น ร่างกายของคนเราก็จะยิ่งถดถอยลง มีภูมิคุ้มกันที่ต่ำลง ทำให้ตัวเชื้อไวรัสมีอาการกำเริบขึ้นมาอีกครั้ง นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำไมมักพบโรคนี้ในผู้สูงอายุ
ผื่นแดงกับตุ่มใสพร้อมอาการคัน...อาจเป็นสัญญาณของโรคงูสวัด
เมื่อผู้ป่วยได้รับไวรัสหรือมีอาการของโรคกำเริบออกมา จะส่งผลให้มีอาการแสดงดังนี้
ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการของงูสวัดแบบหลบใน ซึ่งจะมีอาการคัน ปวดแสบปวดร้อนบริเวณผิวหนังตามแนวเส้นประสาท แต่จะไม่มีผื่นแดงและตุ่มใสขึ้น หากพบกรณีนี้ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอาการอย่างละเอียดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ภาวะแทรกซ้อนจากโรคงูสวัด
นอกเหนือจากอาการผื่นแดงหรือมีตุ่มใสแล้ว ในผู้ป่วยบางรายที่เป็นโรคงูสวัดอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ โดยมักเกิดขึ้นในผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ ซึ่งอาจมีอาการเหล่านี้
ทำไมหายจากโรคงูสวัดแล้ว ยังมีอาการปวดอยู่?
หลังจากที่อาการผื่นแดงและตุ่มใสของโรคงูสวัดได้ตกสะเก็ดและหายดีแล้ว ผู้ป่วยบางรายอาจยังรู้สึก มีอาการเจ็บปวดตามเส้นประสาทอยู่ เนื่องจากในระหว่างที่ผู้ป่วยเป็นโรคงูสวัด ร่างกายจะเกิดอาการ “ภาวะเส้นประสาทอักเสบ” ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวของเส้นประสาท โดยอาจใช้ระเวลาเป็นเดือน หรือในบางรายอาจยังมีอาการเจ็บต่อเนื่องเป็นปี
วิธีการรักษาหากเป็นโรคงูสวัด
การรักษาโรคงูสวัด แพทย์จะใช้การรักษาโดยขึ้นอยู่กับอาการ โดยส่วนใหญ่แพทย์จะให้ยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการลุกลามจากเชื้อไวรัส รวมถึงให้ยาแก้ปวด ยากแก้อักเสบ หรือยาแก้คัน เพื่อรักษาให้อาการผื่นคันยุบตัวและหายเร็วขึ้น แต่ในผู้ที่มีอาการรุนแรงหรือเกิดภาวะแทรกซ้อน แพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วยเพื่อลดความรุนแรงของโรค
นอกจากนี้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคงูสวัดจะต้องหมั่นสังเกตอาการและดูแลตัวเองเพื่อรักษาอาการเบื้องต้น โดยสามารถปฏิบัติตัวได้ดังนี้
“โรคงูสวัด” แม้จะรู้ถึงสาเหตุและแนวทางการรักษาของโรค แต่การป้องกันการเกิดโรคย่อมเป็นวิธีที่ดีที่สุด นั่นคือการได้รับ “วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด” ซึ่งเป็นทางเลือกที่สำคัญและได้ผลดีในการป้องกัน ทั้งยังสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ โดยเฉพาะในผู้ที่มีโรคประจำตัว เป็นโรคเรื้อรัง ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือภูมิคุ้มกันต่ำ และผู้ที่ยังไม่เคยรับวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด โดยแพทย์แนะนำในผู้สูงอายุที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด รวมถึงผู้ที่เคยเป็นโรคงูสวัดแล้วก็ควรได้รับการฉีดวัคซีนด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้การหมั่นดูแลตัวเองอย่างถูกต้องให้แข็งแรงก็สามารถช่วยลดโอกาสการเกิดโรค หรือหากเกิดโรคงูสวัดก็จะสามารถลดความรุนแรงของอาการและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นได้