-
กินหมูดิบ เสี่ยงพบโรคไข้หูดับไม่รู้ตัว!
ในปัจจุบัน กระแสการกินอาหารประเภท ปิ้งย่าง ชาบู หรือหมูกระทะ กำลังได้รับความนิยมกันอยู่ไม่น้อย โดย 1 ในพฤติกรรมของการกินอาหารเหล่านี้ มักเป็นการใช้พาชนะในการกิน(โดยส่วนใหญ่มักเป็นตะเกียบ) คีบหมูดิบลงหม้อหรือกระทะ แล้วนำตะเกียบนั้นมาคีบอาหารเข้าปากต่อ พฤติกรรมนี้เปรียบเสมือนการกินหมูดิบที่ยังไม่ผ่านการปรุงสุกเลยก็ว่าได้ และมักส่งผลให้เกิดโรคที่หลายๆ คนคุ้นหูอย่าง “โรคไข้หูดับ” ได้โดยไม่รู้ตัว
เกิดจากการกินหมูดิบจริงหรือไม่?
โรคไข้หูดับมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ สเตรฟโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus Suis) จากการรับประทานอาหารที่มีเนื้อหรือเลือดหมูแบบดิบและกึ่งสุกกึ่งดิบ หรือผู้ที่ใช้อุปกรณ์ที่สัมผัสกับเนื้อหมูดิบร่วมการรับประทานอาหารโดยตรง รวมถึงการสัมผัสเนื้อหมูที่มีเชื้อผ่านทางบาดแผลหรือเยื่อบุตา หรือไปสัมผัสสารคัดหลั่งของหมู เช่น น้ำลาย ก็สามารถทำให้ติดเชื้อไวรัสสเตรฟโตคอกคัส ซูอิสที่ก่อให้เกิดโรคหูดับได้
โดยเชื้อไวรัส สเตรฟโตคอกคัส ซูอิส จะอาศัยอยู่ในทางเดินหายใจหมู และในเลือดของหมูที่กำลังป่วย โดยทั่วไปแล้วเชื้อชนิดนี้จะไม่ทำให้เกิดโรค แต่หากหมูเกิดอาการป่วย เชื้อตัวนี้ก็จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น จนทำให้หมูตัวนั้นตาย และทำให้ตัวเชื้อสามารถแพร่กระจายจากสัตว์ไปสู่คนได้
อาการของโรคไข้หูดับ
เมื่อได้รับเชื้อ สเตรฟโตคอกคัส ซูอิส เข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะมีระยะฟักตัวในร่างกายประมาณ 3-5 วันก่อนแสดงอาการ โดยผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการ
ในบางรายที่มีอาการรุนแรงก็จะส่งผลให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น ประสาทหูอักเสบจนสูญเสียการได้ยิน หูดับหรือหูหนวก ระดับความรู้สึกตัวลดลง หรืออาจร้ายแรงไปจนถึงการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งอาจทำให้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
ดังนั้นหากมีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น หรือมีประวัติสัมผัสหรือบริโภคเนื้อหมูแบบกึ่งสุกกึ่งดิบมาก่อนในช่วงไม่เกิน 14 วันที่ผ่านมา ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจหาเชื้อ สเตรฟโตคอกคัส ซูอิส และเข้ารับการรักษาเพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา
กลุ่มเสี่ยงที่ควรระวัง
เป็นกลุ่มที่หากสัมผัสได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะมีโอกาสในการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้มากกว่าคนทั่วไป ได้แก่
การรักษาโรคไข้หูดับ
การรักษาโรคไข้หูดับจะรักษาทั้งการรักษาแบบเจาะจง และรักษาตามอาการ โดยการรักษาแบบเจาะจงแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะผ่านทางหลอดเลือดดำอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ และการรักษาตามอาการเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงขึ้น เช่น การให้ยาลดอาการปวด ลดไข้ ลดอาการวิงเวียนศีรษะ รวมถึงการรักษาแบบประคองอาการ เช่น การให้สารอาหาร หรือเกลือแร่ให้แก่ผู้ป่วยอย่างเพียงพอ หากผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที การรักษาก็มักตอบสนองได้ดีและหายขาดได้
เปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง...เลี่ยงหูดับ
หากท่านมีความเสี่ยงต่อโรคไข้หูดับ ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างเร็วที่สุด และถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน
ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดโรคไข้หูดับ เราจึงควรหมั่นให้ความสำคัญกับสุขลักษณะของอาหารก่อนที่จะรับประทานทุกครั้ง และควรรับประทานอาหารที่มั่นใจว่าปรุงสุก เพื่อลดความเสี่ยงของโรคที่อาจจะตามมาได้
บทความโดย
นายแพทย์พิทยา กนกจรรยา
แพทย์ประจำสาขาโสต ศอ นาสิก
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ