-
โรคอ้วน...ต้นเหตุของปัญหาสุขภาพเรื้อรัง
ต้นเหตุของปัญหาสุขภาพต่างๆ ที่พบในปัจจุบัน เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือโรคมะเร็ง มักมีสาเหตุมาจาก “โรคอ้วน” ที่เป็นผลมาจากพฤติกรรมการกินของเรานั่นเอง ดังนั้นการรู้เท่าทันโรคอ้วน ก็จะช่วยให้ห่างไกลโรคเรื้อรังต่างๆ และสุขภาพดีได้หายห่วง
รู้จักกับ “โรคอ้วน” ให้ดี...ก่อนจะเริ่มมีพุง
โรคอ้วน (Obesity) คือ ภาวะที่ร่างกายมีสัดส่วนของไขมันมากเกินกว่าปกติ ทำให้ร่างกายเกิดการสะสมพลังงานที่เหลือเอาไว้ในรูปของไขมันตามอวัยวะต่างๆ ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ตามมาได้หากปล่อยไว้นานเข้า โดยโรคอ้วนมีเกณฑ์การวัดที่เรียกว่า ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI)
รู้ได้อย่างไร...เกณฑ์ไหนถึงเข้าข่ายอ้วน?
ค่าดัชนีมวลกายสามารถคำนวณหาเองได้จาก น้ำหนักตัว(กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง(เมตร) ยกกำลังสอง เช่น น้ำหนัก 70 กิโลกรัม ส่วนสูง 175 เซนติมตร (แปลง 175 เซนติเมตรเป็น 1.75) จะคำนวณออกมาได้ดังนี้ 70 / (1.75×1.75) = 22.8 ดังนั้นค่าดัชนีมวลกายของผู้ที่มีส่วนสูง 175 น้ำหนัก 70 จะเท่ากับ 22.8 kg/m2
แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าค่าดัชนีมวลกายเท่าไหร่ ถึงจะเข้าข่ายโรคอ้วน โดยคนปกติจะมีค่าดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 18.5 – 22.9 kg/m2 หากมากกว่าหรือน้อยกว่าค่าดังกล่าว อาจเข้าข่ายภาวะผอมหรืออ้วนมากเกินไปได้
อันตรายจากโรคอ้วน
ผู้ที่เป็นโรคอ้วน นอกเหนือจากเรื่องของบุคลิกภาพที่อาจทำให้ไม่มั่นใจแล้ว ยังส่งผลถึงเรื่องของสุขภาพหรือเรียกว่า “โรคร่วมจากความอ้วน” ซึ่งหากเกิดการสะสมของไขมันและปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน จนเกิดเป็นโรคอ้วน อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้หลายอย่าง ซึ่งบางภาวะแทรกซ้อนอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้
โรคร่วมจากความอ้วน
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคอ้วน มักมีความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังต่างๆ มากกว่าคนทั่วไป รวมถึงอาการที่ร้ายแรงต่างๆ ที่อาจจะมาตามมา เช่น
ต้นเหตุของการมีพุง...ที่มุ่งสู่โรคอ้วน
สาเหตุของการเกิดโรคอ้วนมีด้วยกันหลายปัจจัย ได้แก่
แค่เปลี่ยนพฤติกรรม...ก็หนีจากโรคอ้วนได้!
ดังนั้น เมื่อเราทราบสาเหตุของโรคอ้วนอย่างนี้แล้ว การหมั่นดูแลตัวเองเพื่อป้องกันก่อนที่ตัวเองจะเป็นหรือเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนจึงย่อมดีกว่า โดยสามารถปฏิบัติตามได้ดังนี้
ทั้งนี้ อีกหนึ่งวิธีที่หลายคนเลือกใช้ในการลดความอ้วนนั่นคือ การซื้อยาลดน้ำหนักมาใช้เอง ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดก็ตาม เป็นสิ่งที่ควรเลี่ยงและไม่ควรทำเด็ดขาด เพราะหลังเลิกใช้ยาน้ำหนักอาจขึ้นอีกจนมากกว่าน้ำหนักตั้งต้นหรือเรียกว่า “ภาวะโยโย่” หากต้องการที่จะใช้ยาลดน้ำหนักหรือรับคำแนะนำเกี่ยวกับการลดความอ้วน ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์อย่างถูกต้องและเหมาะสมในแต่ละบุคคล
บทความโดย
นายแพทย์อาจ พรวรนันท์
แพทย์ประจำสาขาอายุรกรรม
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ