-
คุณแม่มือใหม่ควรรู้...วิธีดูแลลูกน้อยตลอดการตั้งครรภ์
ในระหว่างการตั้งครรภ์สิ่งที่คุณแม่คำนึกถึงเป็นลำดับแรกๆ คือ สุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตที่ดี เพื่อให้ทารกที่อยู่ในครรภ์ปลอดภัยและแข็งแรงที่สุดเมื่อถึงเวลาลืมตาดูโลก ดังนั้นการทราบถึงความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ และการดูแลตนเองอย่างถูกต้อง จะทำให้เราสามารถรับมือกับมันได้อย่างดีและปลอดภัยทั้งแม่และลูกน้อยตลอดการตั้งครรภ์
ไตรมาสที่ 1 (อายุครรภ์ 1 - 14 สัปดาห์)
การเปลี่ยนแปลงในไตรมาสแรก ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องพบ!
เมื่อเข้าสู่ช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่อาจพบอาการดังนี้
คำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 1
1. อาหาร ทานอาหารตามปกติเหมือนก่อนตั้งครรภ์เท่าที่ทานได้ ในรายที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ควรเป็นอาหารอ่อน ย่อยง่าย หรือเครื่องดื่มชนิดต่างๆ เช่น น้ำหวาน และควรทานครั้งละน้อยๆ วันละ 4 - 6 มื้อ แต่พออิ่ม ไม่ควรบังคับกำหนดปริมาณในการทาน ซึ่งเป็นการเพิ่มความเครียดให้กับตัวเอง หลักการสำคัญคือ ให้ร่างกายได้รับสารอาหารเพียงพอ
2. การฝากครรภ์ มีความสำคัญ เพื่อให้คุณแม่และบุตรในครรภ์ได้รับการดูแลตลอดระยะเวลา 10 เดือน แพทย์จะให้คำแนะนำเรื่องการปฏิบัติตัวต่างๆ ขณะตั้งครรภ์ ช่วยวินิจฉัยโรคบางอย่างระหว่างตั้งครรภ์ ป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนของโรค โดยในระยะแรกแพทย์จะนัดตรวจทุก 4 สัปดาห์ จนถึงไตรมาสที่ 3 จึงจะนัดถี่ขึ้นเป็น 2 สัปดาห์ และ 1 สัปดาห์ ตามลำดับ
3. การฉีดวัคซีน ในหญิงตั้งครรภ์ควรได้รับวัคซีนบาดทะยักอย่างน้อย 1 เข็ม ส่วนวัคซีนอื่นๆ ไม่นิยมฉีดในขณะตั้งครรภ์ ยกเว้นมีความจำเป็นหรือมีความต้องการฉีดควรให้แพทย์เป็นผู้พิจารณา
4. เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ ไม่มีข้อห้ามในการมีเพศสัมพันธ์แต่อย่างใด ยกเว้นในรายที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เคยมีประวัติการแท้งบุตรมาแล้วหลายครั้ง หรือมีเลือดออกขณะตั้งครรภ์ ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ในไตรมาสแรก ในรายที่มีประวัติเคยคลอดบุตรก่อนกำหนด ควรงดเมื่อตั้งครรภ์ในไตรมาสสุดท้าย
หากมีอาการผิดปกติเหล่านี้ควรพบแพทย์โดยด่วน!
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ไตรมาสที่ 2 (อายุครรภ์ 14 - 28 สัปดาห์)
เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 คุณแม่อาจเมื่อกับการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
คำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 2
1. อาหาร ในระยะนี้อาการแพ้ท้องมักหายไป เริ่มทานอาหารได้ตามปกติ ควรทานให้ครบ 5 หมู่ อาจมีอาหารทุกประเภทใน 1 มื้อ หรือประเภทใดประเภทหนึ่งสลับกับมื้ออื่น แต่เมื่อรวม 5 - 6 มื้อในแต่ละวัน ต้องรับประทานให้ได้ครบทุกประเภท ไม่ควรรับอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมันมากเกินไป เพราะในช่วงตั้งครรภ์ร่างกายไม่ต้องการอาหารประเภทแป้ง และน้ำตาลเพิ่ม แต่ต้องการเฉพาะโปรตีนเพิ่มขึ้น
2. เน้นผัก ผลไม้ อาหารที่มีกากใยสูง ดื่นน้ำวันละ 6 - 8 แก้ว เพื่อป้องกันอาการท้องผูก
3. ธาตุเหล็ก มีในไข่แดง ตับ ผักใบเขียว ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดงให้มีมากพอที่จะลำเลียงออกซิเจนจากเลือดแม่ไปสู่ลูก
4. ทานแคลเซียม ซึ่งช่วยในการสร้างกระดูกและฟันของลูก และช่วยป้องกันไม่ให้แม่กระดูกพรุน โดยแคลเซียมสามารถทานได้จาก นม ปลาเล็ก ปลาน้อย หรือผักใบเขียวที่แข็ง
5. ออกกำลังกาย เป็นประโยชน์ต่อแม่ตั้งครรภ์ เพราะจะทำให้ร่างกายแข็งแรง ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี ท้องไม่ผูก นอนหลับสบาย และควรออกกำลังกายที่ไม่หักโหม หรือใช้ความอดทนมากเกินไป เช่น เดินวันละ 10 - 20 นาที ว่ายน้ำ (แนะนำให้ออกกำลังกายในรายที่เคยออกกำลังกายสม่ำเสมอ ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์)
6. ท่านอน จะช่วยบรรเทาอาการปวดหลังที่เกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์ได้ ท่านอนควรตะแคงซ้าย, ขวา หรือ หงายสลับกัน เพื่อลดจุดกดทับของร่างกาย โดยอาจมีหมอนรองรับขาให้สูงขึ้น เพื่อลดอาการบวมของขาที่เกิดจากกิจกรรมในระหว่างวัน
7. การตรวจเต้านม เพื่อเตรียมความพร้อมการให้นมในระยะหลังคลอด ลักษณะหัวนมที่แบน หรือบุ๋มลงไป ลานนมแข็งตึงไม่นุ่ม จะทำให้เด็กดูดไม่ได้ การตรวจด้วยตัวเองโดยการใช้นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้ทาบไปบนผิวหนังตรงรอยต่อระหว่างฐานของหัวนมกับหัวนม แล้วบีบเข้าหากัน ถ้าหัวนมสั้น หรือบุ๋มมากไปจนเด็กดูดไม่ได้ หัวนมจะยุบลงไประหว่างนิ้วมือทั้งสอง
หากมีอาการผิดปกติเหล่านี้ควรพบแพทย์!
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ไตรมาสที่ 3 (อายุครรภ์ 28 - 40 สัปดาห์)
คุณแม่กับไตรมาสสุดท้าย กับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
คำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 3
1. อาหาร ควรเพิ่มอาหารประเภทโปรตีน เช่นเดียวกับไตรมาสที่ 2 เช่น เนื้อสัตว์ เนื้อปลา ผักใบเขียวชนิดต่างๆ และอาหารที่มีแคลเซียม เช่น ปลาตัวเล็กทานทั้งก้างได้ หรือนม
2. การฝากครรภ์ การนัดตรวจครรภ์จะบ่อยขึ้น ในไตรมาสนี้จะมีการตรวจปัสสาวะ เพื่อดูน้ำตาลและโปรตีน เช็คความดันโลหิต ติดตามอาการบวม เพื่อตรวจหาว่ามีภาวะครรภ์เป็นพิษ หรือไม่
3. การดูแลเต้านม ในระยะ 2 - 3 เดือนก่อนคลอด ร่างกายจะขับสารจำพวกไขมันมาคลุมบริเวณหัวนม และลานนม ดังนั้นการอาบน้ำชำระร่างกาย ไม่ควรฟอกสบู่บริเวณหัวนมมากนัก เพราะจะชะล้างไขมันบริเวณนั้นออกไปหมด ทำให้หัวนมแห้ง และแตกง่าย
หากมีอาการผิดปกติเหล่านี้ควรพบแพทย์!
ทั้งนี้ ในระหว่างการตั้งครรภ์ไม่เพียงแต่คุณแม่เท่านั้นที่ต้องดูแลครรภ์ให้มีคุณภาพ แต่ต้องอาศัยทั้งคุณพ่อและคนรอบข้างในการเข้าใจและเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน ร่วมกับการฝากครรภ์เพื่อให้ทารกในครรภ์อยู่ในการดูแลจากแพทย์อย่างถูกต้อง และพร้อมที่จะออกมาลืมตาดูโลกอย่างปลอดภัยและหายห่วง
บทความโดย
แพทย์หญิงศิริพร ประยูรหงษ์
แพทย์ประจำสาขาสูตินรีเวชทั่วไป
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพสตรี
โทร.02-3632-000 ต่อ 2201-2202
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
รับข่าวสารและกิจกรรมทางสุขภาพดีๆได้ที่
Facebook : Paolo Hospital Samutprakarn
Line official account : Paolo Hospital Samutprakarn