การอยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจกับผู้ป่วยจิตเวช
โรงพยาบาลเปาโลรังสิต
การอยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจกับผู้ป่วยจิตเวช

          การดูแลย่อมแตกต่างกันไปตามลักษณะของโรค ซึ่งการดูแลผู้ป่วยจิตเวชนั้นต้องยอมว่าเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจในตัวโรคอย่างแท้จริง เพราะเราไม่สามารถมองเห็นรอยโรคที่อยู่ข้างได้ สาเหตุของการเจ็บป่วยที่อยู่ภายใน ผู้ป่วยแสดงออกมาให้เราเห็น หรือบางครั้งอาจจะไม่แสดงให้เราเห็นก็ได้เช่นกัน

          การอยู่ร่วมกันกับผู้ป่วย ครอบครัวมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วย เพราะเป็นกลุ่มคนที่ใกล้ชิด มีอิทธิพลต่อการรักษา หรือทำให้อาการแย่ลงได้เช่นกัน เพราะครอบครัวนั้นมีอิทธิพลกับการตัดสินใจของผู้ป่วยทั้งในด้านของอารมณ์ พฤติกรรม ความคิด สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่

ครอบครัว คนใกล้ตัวสามารถรับมือกับผู้ป่วยจิตเวชได้อย่างไรบ้าง
          การรักษาที่ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด นั้นไม่มีอะไรตายตัว เช่นเดียวกับโรคอื่น เพราะขึ้นอยู่กับโรค ขึ้นอยู่อาการ การรักษาของแต่ละคนที่แตกต่างกันไป
  1. การพบแพทย์ตามกำหนด การทานยาให้ครบมีผลต่อการรักษา หากการรักษาหรือขาดยา มีโอกาสทำให้โรคกำเริบได้อีก เกิดความเรื้อรังของอาการ ไม่หายขาด หรือใช้เวลาหายนานกว่าที่ควร คนในครอบครัวมีส่วนอย่างมากที่จะช่วยในการจัดยา คอยเตือนให้ทานยาครบตามที่แพทย์กำหนด
  2. ระวังการแสดงทางพฤติกรรม คำพูดต่อผู้ป่วย การดูแลรักษาผู้ป่วยนั้นต้องใช้แรงใจและความตั้งใจอย่างมาก เพราะการกระทำ คำพูดของเรานั้นก็สามารถทำให้อาการของผู้ป่วยแย่ได้ ไม่ว่าเราจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม คำพูดเสียดแทง หรือคำพูดแรงๆ ที่เราใช้ในเวลาที่อารมณ์หงุดหงิด ขุ่นมัว หรือคำพูดเสียดแทงที่ส่อเสียดล้อเลียน อาการของโรค ทำให้สิ่งที่ผู้ป่วยเป็นนั้นดูเป็นเรื่องตลกในสายตาคนอื่น กลายเป็นคำพูดที่กระทบจิตใจผู้ป่วยได้ไม่ยาก การรักษาก็เรื้อรัง หายช้ากว่าเดิม เสียทั้งเวลาและเงินในการรักษาเพิ่มขึ้นอีกด้วย

การอยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจกับผู้ป่วยจิตเวช


การดูแลผู้ป่วยในสถานพยาบาลกับดูแลผู้ป่วยที่บ้านแตกต่างกันอย่างไร
         ในเรื่องของสถานที่การรักษานั้นมีส่วนของการรักษาด้วยเช่นกัน แต่ก็แตกต่างกันไปตามอาการของโรค การรักษาของโรค เพราะบางโรค บางอาการนั้นเหมาะที่จะอยู่ในโรงพยาบาลเพราะใกล้ชิดผู้ป่วยมากกว่ากรณีที่ผู้ป่วยควบคุมตัวเองไม่ได้ ผู้ป่วยไม่อยู่ในความเป็นจริง เป็นอันตรายต่อตนเอง
กรณีที่ต้องใช้ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวเป็นการรักษา ก็เหมาะกับการรักษาที่บ้านมากกว่า เพราะผู้ป่วยจะรู้สึกว่าปลอดภัย เกิดความมั่นคงทางอารมณ์ มีความมั่นใจในตัวเองมากกว่าอยู่ที่โรงพยาบาล

          ซึ่งจะเห็นได้ว่า สถานที่นั้นแตกต่างกันไปตามการรักษาของแต่ละบุคคล ผู้ดูแลผู้ป่วยนั้นต้องเข้าใขว่า การเจ็บป่วยทางจิตเวชนั้นเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนสามารถเป็นได้ ไม่มีใครอยากป่วย และโรคทางจิตเวชไม่ใช่โรคน่ารังเกียจอย่างที่หลายคนเข้าใจ

          นอกจากดูแลผู้ป่วยแล้ว คนรอบข้าง ผู้ดูแลผู้ป่วยที่ต้องการกำลังใจและความตั้งใจอย่างมากในการดูแลผู้ป่วยนั้น อย่าลืมตัวเองด้วยเช่นกัน เพราะการใช้พลังไปการดูแลมากก็จะยิ่งเหนื่อย เพราะการดูแลผู้ป่วยนั้นย่อมมาพร้อมความคาดหวังให้เขาหายดี ให้เขาเป็นปกติ แต่หลายๆ ครั้งเราก็ลืมกลับมามองดูตัวเอง ว่าเริ่มมีความเครียด ความวิตกกังวลที่ตกตะกอนในตัวเราทีละน้อย การหาตัวช่วยอื่นๆ เช่นคนในครอบครัวคนอื่นที่พอจะช่วยดูแลได้ เพื่อให้ตัวเองได้พักผ่อนจากความตึงเครียด การหาช่องหาฉุกเฉินในกรณีที่ผู้ดูแลไม่สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้


ปรึกษาปัญหาสุขภาพ
โรงพยาบาลเปาโล รังสิต
โทร 0-2577-8111 ต่อ 2 หรือ 1772
รับข่าวสารและกิจกรรมทางสุขภาพดีๆ ได้ที่

Facebook : โรงพยาบาลเปาโล รังสิต

เพิ่มเพื่อน