รู้ทัน มะเร็งเต้านม ป้องกันก่อน รักษาได้
ความเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านม- เกิดจากความผิดปกติของยีนส์ BRCA
- ผู้ป่วยที่มีญาติสายตรงเป็นมะเร็ง
- ผู้ที่เคยเป็นมะเร็งเต้านมมาแล้วข้างหนึ่งก็มีโอกาสที่จะเป็นได้อีก
- ผู้ป่วยที่เคยได้รับฮอร์โมนสทดแทนเป็นระยะเวลานาน หลังจากที่หมดประจำเดือนมาแล้ว
- เคยได้รับการฉายรังสีตอนที่อายุน้อยก็เพิ่มความเสี่ยงได้เช่นกัน
อาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์- การคลำเจอก้อนเนื้อ
- มีสารคัดหลั่งออกมาจากหัวนม
- มีรอยบุ๋ม มีการดึงรั้งของผิวหนังบริเวณเต้านม
- อาการเจ็บเต้านมที่ไม่สัมพันธ์กับการมีประจำเดือน
ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมมีแบบไหนบ้าง?- การตรวจเต้านมด้วยตัวเอง หากมีอายุมากกว่า 20 ปี ควรตรวจทุกๆ 1 เดือน
- ตรวจโดยแพทย์ หากอายุมากกว่า 20 ปี ควรตรวจทุกๆ 3 ปี และผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปีควรตรวจทุกปีอย่างสม่ำเสมอ
- ควรตรวจด้วย Digital Mammogram ร่วมกับการอัลตราซาวด์เต้านม เพื่อผลการที่ชัดเจน แม่นยำเพียงพอต่อการวินิจฉัยโรค
การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วย Digital Mammogram กับ Ultrasound Breast แตกต่างกันอย่างไร การตรวจคัดกรองทั้งสองแบบมีความแตกต่างกัน หากต้องการตรวจคัดกรองอย่างครอบคลุม แนะนำให้ตรวจควบคู่กันทั้งสองแบบ
- การตรวจจด้วย Digital Mammogram จะตรวจหาการดึงรั้ง หาแคลเซียมหรือหินปูนที่ผิดปกติ
- การตรวจด้วย Ultrasound Breast จะตรวจหาความผิดปกติของก้อนเนื้อ ถุงน้ำได้ดีกว่า
สิ่งผิดปกติอะไรบ้างที่พบได้จากการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ก้อนเนื้อ ถุงน้ำ การดึงรั้งงที่ผิดปกติ ต่อมน้ำเหลืองโตผิดปกติ ลักษณะหินปูนที่บ่งบอกถึงมะเร็ง ทั้งหมดนี่เราสามารถพบได้จากการดิจิทัลแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์เต้านม ที่สามารถตรวจคัดกรองความผิดปกติในรายละเอียดแบบเจาะลึก ที่สามารถตรวจมะเร็งในระยะแรกเริ่มที่ไม่ลุกลามร้ายแรงและสามารถหายขาดได้
ปรึกษาปัญหาสุขภาพ
โรงพยาบาลเปาโล รังสิต โทร 0-2577-8111
รับข่าวสารและกิจกรรมทางสุขภาพดีๆ ได้ที่
Facebook : โรงพยาบาลเปาโล รังสิต