เบาหวาน...ไม่ใช่โรคสำหรับผู้สูงอายุเสมอไป เบาหวาน (Diabetes) คือ ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถหลั่งอินซูลินออกมาควบคุมน้ำตาลในเลือดสูงมากผิดปกติได้ เรียกอีกอย่างว่าภาวะดื้ออินซูลิน ทำให้ร่างกายเรามีระดับในเลือดสูง ส่งผลกระทบต่อระบบไหลเวียนของเลือด ความดันโลหิตสูง การทำงานของหัวใจ ระบบประสาท และไต
เบาหวานไม่ใช่โรคของผู้สูงอายุอย่างที่เคยทราบกัน แม้โรคเบาหวานจะเกิดจากขึ้นได้จากพันธุกรรม ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย นอกจากนี้แล้ว ในปัจจุบันมีเด็กจำนวนไม่น้อยที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และในความจริงโรคเบาหวานนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย แนวโน้มทมี่เกิดขึ้นมักมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การทานอาหารที่มีไขมันสูง ขาดการออกกำลังกาย การทานแป้งในแต่ละมื้อมากกว่าที่ร่างกายต้องการ เป็นต้น
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นโรคเบาหวานนั้นเกิดขึ้นได้ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกร่างกาย เรามาทำความรู้จักกับโรคเบาหวานที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย หรือเกิดจากพันธุกรรมกัน
- โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากพันธุกรรม ติดตัวมากับเราตั้งแต่เกิด สืบทอดมาจากพ่อหรือแม่ก็ได้ โดยส่วนมากแล้วผู้ป่วยจะมีระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ ไม่สามารถสร้างอินซูลินออกมาได้มากเท่าที่ต้องการ เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะน้ำตาลในเลือดสูงก็ส่งผลกระทบต่อระบบเผาผลาญและการน้ำตาลไปเป็นพลังงานให้กับร่างกายได้อย่างเหมาะสม
- โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเบาหวานที่พบมากขึ้นในเด็กและวัยรุ่น เพราะเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ละเลยการดูแลสุขภาพ อย่างเช่น การเลือกทานอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง ขาดการออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ การพักผ่อนที่เพียงพอ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำ
อาการที่พบบ่อย- น้ำหนักลดทั้งที่กินอาหารเท่าเดิม
- อยากอาหารบ่อย ทั้งที่เพิ่งกินไป
- กระหายน้ำ ดื่มน้ำบ่อยกว่าปกติ
- เมื่อเกิดบาดแผลมักหายช้า
- เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
- ลมหายใจมีกลิ่นหวานคล้ายผลไม้
- มักตื่นกลางดึกขึ้นมาปัสสาวะบ่อย ๆ
- การมองเห็นพร่าเลือน มองไม่ชัด มองเห็นภาพซ้อน
การรักษาที่ดีที่สุดของโรคเบาหวาน คือ การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพราะโรคเบาหวานนั้นเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่รักษาได้ แต่ไม่หายขาด การดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอเป็นเกราะป้องกันโรคภัยได้อย่างดี การออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญไขมัน และน้ำตาลส่วนเกินของร่างกายก็ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคได้ การกินอาหารครบตามหลักโภชนาการ เลือกกินอาหารที่มีน้ำตาล แป้ง ไขมันต่ำ เลี่ยงอาหารรสหวาน ขนมหวาน และข้าวในปริมาณที่เหมาะสมต่อร่างกาย หมั่นเช็กอารมณ์ ความรู้สึกให้ผ่อนคลายจากความตึงเครียดอยู่เสมอ นอกจากนี้การตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อหาความผิดปกติของร่างกายที่อาจเป็นสัญญาณเตือนจากร่างกายที่เราไม่มองเห็น
ขอบคุณบทความดี ๆ จาก
นพ.วีระยุทธ บุญเกียรติเจริญ
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านอาชีวเวชศาสตร์
ประจำโรงพยาบาลเปาโล รังสิตปรึกษาปัญหาสุขภาพ
โรงพยาบาลเปาโล รังสิต โทร 0-2577-8111
รับข่าวสารและกิจกรรมทางสุขภาพดีๆ ได้ที่
Facebook : โรงพยาบาลเปาโล รังสิตLine ID : @paolorangsit