4 โรคตาที่ชาวออฟฟิศควรระวัง
โรงพยาบาลเปาโลรังสิต
19-ก.พ.-2567
4 โรคตาที่ชาวออฟฟิศควรระวัง

          ดวงตาคืออวัยวะสำคัญในการใช้ชีวิตสำหรับชาวออฟฟิศวัยทำงานทั้งหลาย เพราะเราจำเป็นต้องใช้ดวงตาในการทำงาน อ่านเอกสาร จ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ ในทางกลับกันพฤติกรรมเหล่านี้ก็เป็นตัวเร่งความเสื่อมของดวงตาด้วย ยิ่งใช้งานดวงตาเป็นเวลานาน ต่อเนื่องโดยไม่หยุดพัก อาจเสี่ยงต่อ 4 โรคดวงตาดังต่อไปนี้

  1. โรค CVS หรือ Computer Vision Syndrome คือ กลุ่มอาการของดวงตาที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ต่อเนื่องเป็นประจำ จนทำให้ความชุ่มชื่นในดวงตาลดจำนวนลงจนเกิดความระคายเคือง
    อาการที่พบ
    - ดวงใช้เวลาตาโฟกัสภาพนานกว่าปกติ
    - มีการเห็นภาพซ้อน
    - มีอาการตาแห้ง ดวงตาล้า เคืองตา แสบตา

  2. โรคจอประสาทตาเสื่อม คือ กลุ่มอาการที่เกิดจากความเสื่อมการรับภาพของจอประสาทตา ทำให้เรามองเห็นจุดศูนย์กลางของภาพพร่าเลือนมากขึ้นเรื่อยๆ
    อาการที่พบ
    - อ่านหนังสือลำบาก
    - ปรากฎจุดสีดำที่บริเวณจุดศูนย์กลางของภาพที่มองเห็น
    - มีปัญหาการแยกใบหน้า
    - ภาพที่มองเห็นมีสีซีดจาง

  3. โรคต้อหิน เกิดจากขั้วประสาทตาที่เป็นตัวนำกระแสภาพการมองเห็นไปสู่สมองนั้นเกิดความเสื่อมสมรรถภาพ
    อาการที่พบ
    - ตาพร่ามัว เวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียน
    - เห็นดวงไฟที่มีแสงจ้าเป็นรัศมีกระจาย

  4. โรควุ้นตาเสื่อม คือ ภาวะของวุ้นในดวงตาที่มีลักษณะคล้ายเจลเกิดการตกตะกอนลอยไปมาในดวงตา ทำให้เรามองเห็นตะกอนเหล่านั้นได้ซ้อนทับกับภาพที่เรามองเห็น
    อาการที่พบ
    - มองเห็นหยากไย่สีดำหรือสีเทาลอยไปลอยมา
    - เมื่อภาพที่เรามองเห็นเป็นภาพท้องฟ้าหรือผนังสีขาวที่มีความสว่าง จะทำให้เรามองเห็นตะกอนวุ้นในดวงตาชัดขึ้น
    - ขอบเขตการมองเห็นด้านข้างแคบลง สูญเสียการมองเห็นด้านข้าง




          สำหรับชาวออฟฟิศวิธีการถนอมดวงตาให้อยู่กับเราไปนาน สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการ...
  • พักสายตาประมาณ 5 นาที ต่อการทำงานทุกๆ 20-30 นาที
  • ควรใช้สายตาในพื้นที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ ไม่ควรอ่านเอกสาร ใช้โทรศัพท์มือถือในที่มืด เพราะจะทำให้ดวงตาทำงานหนักมากกว่าเดิม
  • ไม่ควรใช้มือขยี้ดวงตาแรงๆ เพราะจะทำให้กระจกตาได้รับการกระทบกระเทือน รุนแรงไปถึงมีการอักเสบ
          เราไม่ควรให้ดวงตาทำงานหนักเกินไป เพราะไม่ว่าอวัยวะใด หากใช้งานมากเกินไป ไม่มีการดูแลรักษา หรือใส่ใจในสุขภาพ ก็สามารถเสื่อมสมรรถภาพลงได้ทั้งนั้น กรณีที่มีอาการดังกล่าวเป็นเวลาติดต่อกันหลายวัน แม้จะพักสายตาหรือลดการใช้งานแล้วก็ไม่ทุเลาลง ควรมาพบแพทย์


ปรึกษาปัญหาสุขภาพ
โรงพยาบาลเปาโล รังสิต
โทร 0-2577-8111 ต่อ 2 หรือ 1772
รับข่าวสารและกิจกรรมทางสุขภาพดีๆ ได้ที่
Facebook : โรงพยาบาลเปาโล รังสิต

เพิ่มเพื่อน