การผ่าตัดเส้นฟอกไต ทางเลือกสำคัญเมื่อไตเรื้อรัง
โรงพยาบาลเปาโลรังสิต
30-ก.ย.-2567
การผ่าตัดเส้นฟอกไต ทางเลือกสำคัญเมื่อไตเรื้อรัง

          ไตมีหน้าที่กำจัดของเสียและน้ำน่วนเกินออกจากร่างกาย เมื่อไตเริ่มทำงานแย่ลงร่างกายจะไม่สามารถขับของเสียออกได้ปกติ จะเกิดภาวะดังนี้
  1.  ของเสียสะสมในเลือด (uremia) ซึ่งทำให้ผู้ป่วยอาจจะมีอาการซึม สับสน หรืออาจเสียชีวิตได้
  2.  เกิดภาวะบวม หรือน้ำท่วมปอดได้เนื่องจากมีภาวะน้ำเกิน
  3.  ปัสสาวะออกน้อยหรือไม่มีปัสสาวะ
  4.  เลือดมีความเป็นกรดมากขึ้น ไม่สามารถขับแร่ธาตุบางชนิดได้
การผ่าตัดเส้นฟอกไต ทางเลือกสำคัญเมื่อไตเรื้อรัง

          เมื่อไตเริ่มทำงานแย่ลงถึงระยะไตเสื่อมระดับ 5 (End-Stage Renal Disease - ESRD) ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการฟอกไต การฟอกไต คือการต่อนำเลือดของผู้ป่วยออกมาเข้าเครื่องฟอกไต เพื่อนำของเสียและน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย หลังจากนั้นนำเลือดที่ฟอกแล้วใส่กลับไปที่ผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้เหมือนคนปกติ ซึ่งการจะฟอกไตได้นั้นผู้ป่วยจำเป็นต้องมีเส้นฟอกไตไว้ใช้สำหรับแทงเข็มเพื่อนำเลือดต่ออกมาเข้าเครื่องฟอกไต และใช้เป็นจุดนำเลือดที่ดีกลับเข้าตัวผู้ป่วย ซึ่งเส้นฟอกไตนั้นแบ่งเป็นสองชนิด
การผ่าตัดเส้นฟอกไต ทางเลือกสำคัญเมื่อไตเรื้อรัง

การทำเส้นฟอกไตด้วยหลอดเลือดตนเอง ( AVF )
เป็นการผ่าเชื่อมต่อหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำเข้าด้วยกัน ทำให้หลอดเลือดดำขยายตัวและแข็งแรงพอที่จะรับการเจาะเข็มหลายครั้งเพื่อฟอกไต วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมใช้มากที่สุดเพราะมีโอกาสติดเชื้อน้อยและใช้งานได้นาน ผู้ป่วยควรได้รับการทำเส้นล้างไตเมื่อการทำงานของไตน้อย( eGFR ) 15- 20 mL/min/1.73 m2 หรือไตเสื่อมระยะที่ 4-5

ขั้นตอนการทำเส้นฟอกไตด้วยหลอดเลือดตนเอง (AVF)
  1.  เข้ารับการตรวจหลอดเลือดด้วยการทำอัลตราซาวด์ เพื่อดูความเหมาะสมของหลอดเลือด
  2.  ผ่าเชื่อมต่อหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ (ส่วนใหญ่บริเวณแขน) โดยการฉีดยาชา ระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง
  3.  รอหลอดเลือดดำที่เชื่อมต่อกับหลอดเลือดแดงขยายตัวและแข็งแรงมากขึ้น ซึ่งกระบวนการนี้ใช้เวลาประมาณ 6-12 สัปดาห์ก่อนที่สามารถใช้ฟอกเลือดได้
  4.  เมื่อหลอดเลือดดำขยายและแข็งแรงพอ สามารถใช้ฟอกไตได้

ข้อดีของเส้นฟอกไตด้วยหลอดเลือดตนเอง (AVF)
  1. เป็นการผ่าตัดเล็ก แผลเล็ก ใช้เวลาไม่นาน
  2. มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
  3. ความเสี่ยงติดเชื้อต่ำกว่าเส้นฟอกไตอื่น
  4. ไม่มีสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย สามารถอาบน้ำได้ปกติ
  5. ราคาการผ่าตัดไม่แพง

ข้อเสียหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
  1. ใช้เวลาประมาณ 6-12 สัปดาห์ ถึงสามารถใช้งานได้
  2. ถ้าเส้นเลือดเล็กอาจจะทำไม่ได้หรือทำแล้วเส้นเลือดดำไม่โต ใช้งานไม่ได้
การผ่าตัดเส้นฟอกไต ทางเลือกสำคัญเมื่อไตเรื้อรัง

การทำเส้นฟอกไตโดยใช้เส้นเลือดเทียม (AV graft)
เป็นการผ่าตัดทำเส้นฟอกไตโดยใช้หลอดเลือดเทียม เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีเส้นเลือดดำที่เหมาะสมในการทำเส้นฟอกไตด้วยหลอดเลือดตนเอง

ขั้นตอนการทำเส้นฟอกไตโดยใช้เส้นเลือดเทียม (AV graft)
  1.  เข้ารับการตรวจหลอดเลือดด้วยการทำอัลตราซาวด์ เพื่อดูความเหมาะสมของหลอดเลือด ถ้าหากหลอดเลือดดำไม่เหมาะสมจะพิจารณาทำเส้นเลือดเทียม
  2.  ผ่าเชื่อมต่อหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำที่แขนด้วยเส้นเลือดเทียม โดยการฉีดยาชาหรือดมยาสลบ ใช้ระยะเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง
  3.  รอแผลหาย โดยส่วนใหญ่ใช้ฟอกไตได้หลังผ่าตัด 2 สัปดาห์

ข้อดีของเส้นฟอกไตโดยใช้เส้นเลือดเทียม (AV graft)
  • สามารถทำได้ในผู้ป่วยที่ไม่มีหลอดเลือดดำชั้นตื้นที่เหมาะสม
  • ไม่ต้องรอเส้นเลือดโต สามารถใช้งานได้เมื่อแผลหาย

ข้อเสียหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
  • การผ่าตัดซับซ้อนกว่าเล็กน้อย
  • อายุการใช้งานโดยเฉลี่ยน้อยกว่าเส้นฟอกไตจากหลอดเลือดจริง
  • ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดสูงกว่า

คำแนะนำจากแพทย์
ผู้ป่วยโรคไตวายควรได้รับการตรวจเพื่อพิจารณาทำเส้นฟอกไต ตั้งแต่เริ่มมีไตเสื่อมระยะที่ 4-5 เนื่อง จากถ้าได้รับการผ่าตัดเตรียมเส้นฟอกไตตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มฟอกเลือดทางสายสวนหลอดเลือดจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า และมีโอกาสติดเชื้อที่น้อยกว่า



ปรึกษาปัญหาสุขภาพ
โรงพยาบาลเปาโล รังสิต
โทร 0-2577-8111 ต่อ 2 หรือ 1772
รับข่าวสารและกิจกรรมทางสุขภาพดีๆ ได้ที่

Facebook : โรงพยาบาลเปาโล รังสิต

เพิ่มเพื่อน