LGBTQIAN+ความแตกต่างที่เหมือนกัน ในปัจจุบันที่โลกของเรานั้นมีความกว้างขวางและหลากหลายในการใช้ชีวิต สืบเนื่องจากการพัฒนาในด้านปรัชญา ทัศนคติ วัฒนธรรมที่แตกแขนงออกมา ทำให้ผู้คนมีอิสระในการเลือกใช้ชีวิตมากขึ้น สามารถเป็นตัวของตัวเองได้มากขึ้น ในเรื่องของเพศก็เช่นกัน เราต่างก็รู้กันอยู่แล้วว่า ตอนนี้ไม่ได้มีเพียงแค่เพศชายและเพศหญิง แต่เรายังมีความหลากหลายทางเพศอีกมากมาย ที่เราต้องทำความเข้าใจ และเคารพสิทธิของผู้อื่นให้มากขึ้น
คำว่า LGBTQIAN+ เป็นตัวย่อที่ใช้เรียกชุมชนที่รวมถึงผู้คนที่มีอัตลักษณ์ทางเพศและการแสดงออกทางเพศที่หลากหลาย แต่ละตัวอักษรในตัวย่อนี้มีความหมายดังนี้
- L ย่อมาจาก Lesbian (เลสเบี้ยน) หมายถึงผู้หญิงที่รู้สึกดึงดูดทางเพศกับผู้หญิงคนอื่น
- G ย่อมาจาก Gay (เกย์) มักใช้เรียกผู้ชายที่รู้สึกดึงดูดทางเพศกับผู้ชายคนอื่น แต่บางครั้งก็ใช้เรียกผู้หญิงที่ดึงดูดผู้หญิงด้วย
- B ย่อมาจาก Bisexual (ไบเซ็กชวล) หมายถึงผู้ที่รู้สึกดึงดูดทางเพศกับทั้งผู้ชายและผู้หญิง
- T ย่อมาจาก Transgender (ทรานส์เจนเดอร์) หมายถึงผู้ที่มีอัตลักษณ์ทางเพศแตกต่างจากเพศที่ถูกกำหนดให้ตอนเกิด
- Q ย่อมาจาก Queer (เควียร์) หรือ Questioning (กำลังสำรวจ) "Queer" ใช้เป็นคำทั่วไปสำหรับผู้ที่ไม่จำกัดว่าตนเองเป็นเพศใด หรือจะรักชอบเพศใด ขณะที่ "Questioning" หมายถึงผู้ที่กำลังสำรวจหรือยังไม่แน่ใจเกี่ยวกับอัตลักษณ์ทางเพศหรือความชอบทางเพศของตัวเอง
- I ย่อมาจาก Intersex หมายถึง บุคคลที่เกิดมาโดยมีลักษณะทางกายภาพของทั้งสองเพศหรือไม่สามารถระบุเพศได้แน่นอน ไม่ว่าจะเป็นผลมาจากโครโมโซม หรือระดับฮอร์โมน
- A ย่อมาจาก Asexual หมายถึง คนที่ไม่มีความรู้สึกถูกดึงดูดทางเพศ หรือความปรารถนาที่จะมีเพศสัมพันธ์
- N ย่อมาจาก Non-binary หมายถึง อัตลักษณ์ทางเพศที่ไม่ได้จำกัดกรอบว่าเพศต้องแบ่งเป็นสองขั้วชายและหญิง
- สัญลักษณ์ + ใช้เพื่อแทนกลุ่มอื่นๆ ที่ไม่ได้รวมอยู่ในตัวย่อ LGBTQIAN อาทิเช่น ผู้ที่มีอัตลักษณ์ทางเพศและการแสดงออกทางเพศอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนในตัวย่อนี้ เช่น Pansexual (แพนเซ็กชวล: รู้สึกดึงดูดทางเพศโดยไม่จำกัดเพศ)
ภายนอกที่แตกต่าง แต่ภายในกลับเหมือนกัน จะเห็นได้ว่าความหลากหลายทางเพศมีมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นเรื่องน่ายินดี ที่สังคมในปัจจุบันเปิดกว้าง และยอมรับในความหลากหลายนี้ ทุกคนมีอิสระที่จะแสดงออกถึงอัตลักษณ์ทางเพศ และเพศวิถีของตนเอง ไม่ว่าอัตลักษณ์ทางเพศ หรือเพศวิถีจะมีความแตกต่างกันอย่างไร
แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันนั้นคือความต้องการได้รับการยอมรับ ที่ไม่ได้พิเศษมากไปกว่าเพศวิถีอื่น เพียงความเข้าใจว่าความหลากหลายทางเพศมีอยู่จริง เคารพสิทธิของแต่ละบุคคล ไม่ตัดสินใครตามความคิดของตน
บทความโดย
นพ.พิชญ จงสกุล
แพทย์เวชศาสตร์ทางเพศนัดหมายเข้ารับบริการ
02-577-8111 ติดต่อคลินิกสุขภาพสตรี
เปิดบริการทุกวันอาทิตย์ และจันทร์ เวลา 9:00-12:00 น.
นัดหมายแพทย์
"คลินิกสุขภาพเพศ" ผ่าน Line Official