ก้อนเนื้อเต้านม
โรงพยาบาลเปาโลรังสิต
15-ก.ค.-2565
ก้อนเนื้อเต้านม จำเป็นต้องผ่าตัดไหม?

          มะเร็งเต้านม ภัยเงียบที่ผู้หญิงหลายคนกลัว เพราะเป็นโรคที่ไม่แสดงให้เห็นได้อยางชัดเจน กว่าจะรู้ตัวก็ลุกลามในระยะที่รักษายากแล้ว การหมั่นสำรวจตัวเองถือเป็นการคัดกรองเบื้องต้นที่ทำได้เอง ซึ่งสิ่งแปลกปลอมในเต้านมที่เราพบนั้นอาจจะไม่ใช่มะเร็งเต้านมเสมอไปก็ได้

ก้อนที่เต้านมแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ถุงน้ำ ก้อนเนื้อปกติ และก้อนเนื้อที่เป็นมะเร็ง โดยมีรายละเอียดดังนี้
  1. ถุงน้ำ เมื่อเราอัลตราซาวด์ดูแล้วจะพบว่าถุงนี้จะมีเซลล์ต่อมน้ำนมล้อมรอบเอาไว้ สามารถขยายขนาดได้เองตามฮอร์โมนของเราในรอบประจำเดือน และพบได้หลายตำแหน่งในเต้านม ไม่เป็นอันตราย
  2. ก้อนเนื้อเต้านม เกิดจากเซลล์ต่อมน้ำนมและเนื้อเยื่อจับตัวรวมกัน พบได้หลายตำแหน่ง ถ้าไม่โตขึ้น ไม่มีอาการ สามารถติดตามได้
  3. ก้อนเนื้อที่ไม่ปกติหรือก้อนเนื้อที่มีความเสี่ยงจะเป็นมะเร็งนั้นสังเกตง่าย ๆ ว่าจะมีความแข็ง จับแล้วอาจจะไม่รู้สึกเจ็บ และมีการขยายตัวใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ


ก้อนเนื้อเต้านม จำเป็นต้องผ่าตัดไหม?


การตรวจคัดกรองด้วยตนเอง
          การคัดกรองด้วยตนเองโดยการคลำเต้านมนั้น แนะนำให้ตรวจในช่วงหมดรอบประจำเดือนไปแล้ว ไม่เกิน 3 วัน โดยใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง 3 นิ้วสำรวจความผิดปกติด้วยการหมุนวนจากกระดูกไหปลาร้าลงมาจนถึงใต้ราวนม และจากใต้รักแร้มาจนถึงกลางอก

อาการที่ต้องสังเกต
  1. พบก้อนที่เต้านม เมื่อกดแล้วไม่รู้สึกเจ็บ
  2. เต้านมทั้งสองโตไม่เท่ากันอย่างเห็นได้ชัดเจน
  3. มีเลือดออกที่หัวนม
  4. ปวดตึงที่หัวนมจนผิดปกติ
  5. มีแผลที่บริเวณหัวนม
  6. มีรอยบุ๋ม รอยย่นที่หัวนม
  7. ผิวเต้านมย่นยันคล้ายเปลือกส้ม
  8. คลำพบก้อนที่ใต้รักแร้

ความเสี่ยงอื่น ๆ
  1. ผู้ที่อายุ 35 ปีขึ้นไป
  2. คนในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน
  3. ผู้ที่มีบุตรหลังอายุ 30 ปี หรือไม่มีบุตร
  4. ผู้มีประจำเดือนก่อนอายุ 12 ปี หรือ หมดประจำเดือนหลังอายุ 55 ปี

การตรวจคัดกรองคือการป้องกันที่ดีที่สุด
  • การตรวจอัลตราซาวด์ Ultrasound คือการใช้คลื่นความถี่สูงคัดกรองหาก้อนเนื้อต่าง ๆ การอัลตราซาวด์สามารถแยกเซล์เนื้เยื่อ ก้อนเนื้อ ถุงน้ำ แต่ไม่สามารถตรวจหาหินปูนที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ได้ การตรวจแบบนี้เหมาะสำหรับผู้ที่อายุต่ำกว่า 35 ปี
  • การตรวจด้วยดิจิทัลแมมโมแกรม Mammogram คือการใช้รังสีในปริมาณที่ต่ำกว่าการอัลตราซาวด์ สามารถตรวจคัดกรองได้รายละเอียดไปถึงจุดหินปูนที่เล็กกว่า 1 เซนติเมตร ที่มือของเราคลำไม่พบได้ สำหรับผู้ที่อายุต่ำกว่า 35 ปี หากต้องการตรวจจะอาจจรู้สึกเจ็บ เพราะในช่วงวัยนั้นผิวเนื้อยังมีความแน่นตึง เมื่อถูกเครื่องแมมโมแกรมบีบอัดเพื่อตรวจคัดกรองจะทำให้รู้สึกเจ็บได้

ก้อนเนื้อเต้านม จำเป็นต้องผ่าตัดไหม?



ก้อนเนื้อที่เต้านมควรผ่าตัดไหม? การผ่าตัดสำหรับหลายคนเป็นเรื่องใหญ่และรู้สึกกังวล แต่อาจจะไม่ใช่ทุกคนที่การผ่าตัดเป็นการรักษาที่เหมาะสมถูกต้อง โดยแพทย์จะพิจารณาอาการ ความรุนแรงของก้อนเนื้อของแต่ละคนเพื่อการรักษาที่ถูกต้องและได้ผลดีที่สุดต่อไป


ขอบคุณบทความดี ๆ จาก 
พญ.วิไลรัตน์ ประเสริฐ
ศัลยแพทย์เต้านม , ไทรอยด์ และต่อมพาราไทรอยด์
ประจำโรงพยาบาลเปาโล รังสิต



Paolo Check and Shine



ปรึกษาปัญหาสุขภาพ
โรงพยาบาลเปาโล รังสิต โทร 0-2577-8111
รับข่าวสารและกิจกรรมทางสุขภาพดีๆ ได้ที่
Facebook : โรงพยาบาลเปาโล รังสิต
Line ID : @paolorangsit

เพิ่มเพื่อน