ยังมีอีก 2 เต้า...ที่ต้อง...เฝ้าระวัง!!
มะเร็งเต้านม ภัยเงียบของผู้หญิง
ในแต่ละปีมีผู้หญิงที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเต้านมเป็นจำนวนมาก เนื่องจากไม่มีอาการแสดงใดๆในระยะ เริ่มแรก ดังนั้น ในหญิงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเพื่อหาความผิดปกติและทำการรักษา หากพบความผิดปกตินั้นๆได้อย่างทันท่วงที เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
มะเร็งเต้านม สามารถพบทั้งในเพศหญิงและเพศชาย แต่พบในเพศชายในอัตราที่น้อยมาก ผู้หญิงที่มีอายุมากขึ้นจะมีความเสี่ยงมะเร็งเต้านมมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป หรือกลุ่มที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม, มะเร็งรังไข่ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในระยะแรกอาจไม่แสดงอาการ และมักมาพบแพทย์ด้วยการคลำพบก้อนเนื้อในเต้านมหรือบริเวณรักแร้ อาการอื่นๆ อาจสังเกตได้จากขนาดหรือรูปร่างของเต้านมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เกิดแผลและอาจมีน้ำเหลืองหรือของเหลวสีคล้ายเลือดไหลออกมา หรือเป็นผื่นบริเวณหัวนม
เต้านม ประกอบขึ้นจาก ต่อมน้ำนมประมาณ 15–20 ต่อม รูปร่างคล้ายติ่งหูรวมตัวเป็นกระจุกอยู่ที่กลางเต้านมแต่ละข้าง โดยมีไขมันล้อมรอบกลายเป็นเต้านมแต่ละข้าง ในต่อมน้ำนมแต่ละต่อม เซลล์มะเร็งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งต่อมน้ำนมและท่อน้ำนม ซึ่งจะลุกลามต่อไปยังต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้
มะเร็งทุกชนิดที่ไม่มีอาการเจ็บปวดใด ๆ จนกว่าอาการจะพัฒนาไปถึงขั้นแพร่กระจายสู่ระบบอื่น ๆ ซึ่งประมาณ 1 ใน 5 ของผู้หญิงที่มีอาการนี้จะตรวจพบเป็นมะเร็งเต้านม ผิวหนังของเต้านมมีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น ไม่เรียบสนิท มีรอยบุ๋ม รั้งตัว หดตัว มีลักษณะเป็นผิวส้มเพราะหากมีก้อนเนื้อเกิดขึ้นภายในเต้านม ผิวหนังของเต้านมจะถูกรั้งหรือดึงให้บุ๋มเข้าไปในเต้านมได้- ระบบขับถ่ายผิดปกติ มีการเปลี่ยนแปลงในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ
- แผลเรื้อรังที่รักษาไม่หาย ที่บริเวณเต้านม
- เลือดไหลผิดปกติตามทวารใด ๆ ของร่างกาย
- คลำพบก้อนที่เต้านมหรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
- กลืนอาหารลำบากหรือระบบการย่อยผิดปกติ
- ไฝหรือหูดที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติหรือมีเลือดออก มีน้ำเหลืองหรือของเหลวอกมาจากหัวนม
- มีอาการเจ็บเต้านมหรือผิวหนังบริเวณเต้านมอักเสบ มีผื่นคันบริเวณเต้านม
- มีการเปลี่ยนแปลงของขนาดเต้านมโดยปกติแล้วเต้านมของผู้หญิงมักจะมีขนาดไม่เท่ากันสองข้าง แต่หากข้างใดข้างหนึ่งมีขนาดผิดปกติ
ทำอย่างไรเมื่อพบอาการผิดปกติ?
หากพบความเปลี่ยนแปลงของเต้านมแล้ว...อย่าเพิ่งตกใจ ยังมีอีกหลายปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงนั้น ทั้งอายุ ระดับฮอร์โมน ประจำเดือน อุบัติเหตุ รวมถึงพฤติกรรมและลักษณะการใช้ชีวิต เพื่อตรวจสอบให้มแน่ใจมั่นใจ จึงควรให้แพทย์ตรวจและประเมินอาการ ตรวจเต้านม พร้อมให้คำแนะนำเพิ่มเติม เพื่อการดูแลรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป