เท้าแบน เป็นปัญหาที่ไม่ร้ายแรง แต่ส่งผลกวนใจในชีวิตประจำวัน ทำให้ชีวิตไม่มีความสุข โดยเฉพาะคนที่ชอบออกกำลังกายเล่นกีฬาหรือต้องเดินเยอะๆ เพราะเมื่อมีการใช้งานฝ่าเท้ามาก ก็จะเกิดความรู้สึกเจ็บ และหลายคนอาจละเลยหรือไม่ได้สนใจปัญหาเหล่านั้น หรืออาการเจ็บเหล่าจะยิ่งแย่ลง จนต้องหยุดทำกิจกรรมนั้นๆ
เท้าแบน (Flat Feet) คือ ลักษณะของเท้าที่ไม่มีส่วนโค้งเว้าตรงกลางเท้า เมื่อลุกขึ้นยืน ฝ่าเท้าจะราบแนบไปกับพื้นทั้งหมด ตรงกลางฝ่าเท้าที่โค้งขึ้นมานั้นคืออุ้งเท้า (Arch) ซึ่งทอดไปตามแนวยาวและแนวขวางของฝ่าเท้า วิธีสังเกตคือหากลองลงน้ำหนักแล้วพบว่าฝ่าเท้าทั้งหมดแนบติดพื้น หรือในบางคนอาจจะมีอุ้งเท้าเตี้ยมากกว่าปกติจนแทบมองไม่เห็นส่วนที่โค้งเว้า นั่นหมายความว่าคุณอาจมีภาวะเท้าแบน ซึ่งอาจเป็นภาวะปกติหรือผิดปกติ และอาจแสดงหรือไม่แสดงอาการใด ๆ ลักษณะของภาวะเท้าแบน พบในผู้ที่มีอุ้งเท้าเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย
เท้าแบนสาเหตุหลักเกิดจากอะไร
เนื้อเยื่อส่วนต่างๆของร่างกายไม่ยึดเชื่อมกันเช่นโรคหนังยึดผิดปกติ (Ehlers-Danlos Syndrome) หรือกลุ่มอาการข้อต่อหย่อน (Joint Hypermobility Syndrome)
เอ็นข้อเท้าที่ยึดขาส่วนล่างของข้อเท้าและตรงกลางฝ่าเท้าเกิดการอ่อนแรง (Posterior Tibial Tendon Dysfunction)
เกิดจากการเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมหนัก ๆ จึงส่งผลให้เท้าและข้อเท้าเสี่ยงได้รับบาดเจ็บซึ่งในกรณีนี้ได้มีผลวิจัยชี้แจงออกมาด้วยนั่นก็คือพบว่าผู้ที่เล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมหนัก ๆ มีความสัมพันธ์กับอาการเบื้องต้นของโรคเท้าแบนนั่นก็คือเจ็บหน้าแข้งด้านใน (Shin Splints) เจ็บที่อุ้งเท้าส้นเท้าและมีอาการปวดเข่าด้านหน้า (Patellotermoral Pain Syndrome)
อาการภาวะเท้าแบน
ภาวะเท้าแบนที่เกิดขึ้นในคนส่วนใหญ่ มักไม่ปรากฏสัญญาณหรืออาการใด ๆ ในระยะเริ่มต้นมักไม่มีอาการหรือมีอาการเฉพาะหลังเดินหรือยืนเป็นเวลานาน แต่เมื่อโรคมีความรุนแรงมากขึ้น อาการเจ็บมักเป็นมากขึ้นรอบ ๆ ข้อเท้าและอุ้งเท้า หรือมีภาวะเท้าแบนที่เห็นชัดมากขึ้น รองเท้าที่เคยสวมได้ ไม่สามารถสวมได้ และชำรุดเร็วเกินไป
อย่างไรก็ตามผู้ที่เกิดภาวะเท้าแบนควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาเพิ่มเติม หากมีอาการต่อไปนี้- เจ็บอุ้งเท้าและส้นเท้า แม้สวมใส่รองเท้าที่รองรับเท้าได้ดีและนุ่มสบายแล้ว
- ฝ่าเท้าด้านในบวมขึ้น มีการอักเสบบวมแดงตามเส้นเอ็นรอบ ๆ ข้อเท้า
- ทรงตัวลำบาก ยืนเขย่งขาไม่ได้ หรือเดินขึ้นลงบันไดลำบาก
- ไม่สามารถสวมใส่รองเท้าที่เคยใส่ได้ หรือรู้สึกอุ้งเท้าแบนมากยิ่งขึ้น
- รู้สึกชาฝ่าเท้า หรือเส้นเอ็นนิ้วเท้าอ่อนแรงหรือผิดรูปมากขึ้น
ชนิดของภาวะเท้าแบน
ภาวะเท้าแบนแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
- ภาวะเท้าแบนแต่กำเนิด ภาวะเท้าแบนแต่กำเนิด ภาวะนี้จะปรากฏลักษณะเท้าแบน 2 แบบ ได้แก่ เท้าแบนแบบนิ่ม และเท้าแบนแบบแข็ง ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
- เท้าแบนแบบนิ่ม (Flexible Flat Foot) ภาวะเท้าแบนลักษณะนี้จัดเป็นภาวะเท้าแบนที่พบได้มากที่สุด พบตอนเป็นเด็ก เมื่อยืน ฝ่าเท้าจะราบไปกับพื้นทั้งหมด แต่เมื่อยกเท้าขึ้นมาจะเห็นช่องโค้งของฝ่าเท้า เท้าแบนแบบนิ่มไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด
- เท้าแบนแบบแข็ง (Rigid Flat Foot) เท้าแบนลักษณะนี้พบได้น้อย โดยตรงอุ้งเท้าจะโค้งนูนออก เท้าผิดรูป แข็ง และเท้ามีลักษณะหมุนจากข้างนอกเข้าด้านในเสมอ (Pronation) ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บปวดหากต้องยืนหรือเดินมากเกินไป รวมทั้งมีปัญหาเกี่ยวกับการสวมรองเท้า
- ภาวะเท้าแบนที่เกิดขึ้นภายหลัง ภาวะเท้าแบนลักษณะนี้มีสาเหตุมาจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น เอ็นข้อเท้าหย่อนยาน ป่วยเป็นโรคข้อรูมาตอยด์ ข้อเท้าเสื่อม หรือกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทขาซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนกำลัง ภาวะเท้าแบนลักษณะนี้มักเกิดขึ้นกับผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวเยอะและอายุมาก ทั้งนี้ สาเหตุบางอย่างที่ทำให้เกิดภาวะเท้าแบนภายหลังมีรายละเอียดพอสังเขป ดังนี้
- เอ็นร้อยหวายสั้น (Short Archilles Tendon) ผู้ที่ส้นเท้ายกขึ้นจากพื้นก่อนส่วนอื่นของฝ่าเท้าเมื่อเดินหรือวิ่ง เกิดจากเอ็นร้อยหวายที่ยึดกระดูกส้นเท้ากับกล้ามเนื้อน่องสั้นเกินไป ผู้ที่เกิดภาวะเท้าแบนลักษณะนี้จะรู้สึกเจ็บเมื่อเดินหรือวิ่ง
- เอ็นเท้าอักเสบ (Posterior Tibial Tendon Dysfunction) ภาวะเท้าแบนลักษณะนี้เกิดจากเอ็นที่ยึดกล้ามเนื้อน่องกับด้านในข้อเท้าได้รับบาดเจ็บ บวม หรือฉีกขาด หากอุ้งเท้าได้รับการกระแทก จะทำให้รู้สึกเจ็บด้านในฝ่าเท้าและข้อเท้า
วิธีป้องกันและดูแลตนเอง สำหรับคนเท้าแบน- เลือกรองเท้าที่เหมาะสม ผู้มีภาวะเท้าแบนควรเลือกรองเท้าที่ มีส่วนเสริมช่วยพยุงอุ้งเท้า รวมถึงรองเท้าควรมีวัสดุแข็งหุ้มทั้งด้านข้างและหลังเท้า เพื่อป้องกันไม่ให้ส้นเท้าบิดหรือทำให้เท้าล้มเข้าด้านใน
- เสริมพื้นรองภายในเท้า โดยการใช้แผ่นรองเท้าที่เหมาะสมกับสภาพของเท้า เพื่อช่วยพยุงและลดแรงการแทกไม่ให้เท้าบิดขณะวิ่งหรือเดิน ปัจจุบันมีทั้งแบบเป็นซิลิโคน แผ่นรองเท้า และวัสดุอื่นๆ มากมาย ทั้งนี้นักวิ่งควรลองสวมพร้อมรองเท้าที่ใช้ประจำเพื่อความกระชับและเหมาะสมกับเท้าของแต่ละคน รวมถึงผู้มีปัญหาเท้าแบนมากๆ ความพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและเลือกอุปกรณ์เสริมที่ปลอดภัย
- เสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อน่อง กล้ามเนื้อหน้าแข้งด้านใน กล้ามเนื้อรอบๆข้อเท้า และกล้ามเนื้อในฝ่าเท้า จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการบาดเจ็บของนักวิ่งที่มีภาวะเท้าแบนได้
- การกินยา ฉีดยาเพื่อลดอาการอักเสบ หรือการทำกายภาพด้วยเครื่องมือต่างๆ เช่น อัลตราซาวน์ เลเซอร์ สามารถช่วยลดอาการปวดจากภาวะนี้เพิ่มเติมได้
โรคเท้าแบนแม้ไม่ใช่โรคร้ายแรงอันตราย แต่หากปล่อยไว้ก็จะทำลายความสุขและคุณภาพในการใช้ชีวิตได้ ซึ่งการป้องกันนั้นก็สามารถทำได้ตั้งแต่เด็กๆ โดยคุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตรูปเท้าของลูก ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ โดยหากสังเกตพบว่ารูปเท้าผิดรูป แบนผิดปกติ ก็ควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อปรับรองเท้าให้มีการหนุนอุ้งเสริมตั้งแต่เล็กๆ จะช่วยลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นในระยะยาวเมื่อลูกโตขึ้นได้
การรักษาเท้าแบน
หากไม่มีอาการปวดหรืออาการขัดขวางการใช้ชีวิตประจำวันก็ไม่ต้องให้การรักษา การรักษาอย่างจริงจังควรทำเมื่อมีอาการปวดหรือรบกวนการใช้เท้าในชีวิตประจำวันโดยให้พบศัลยแพทย์กระดูกและข้อ หรือมีวิธีการรักษาดังนี้ - การฝึกเพิ่มความยืดหยุ่นเอ็นรอบข้อเท้าเพื่อป้องการการเกิดอาการปวด หรือล้า
- การยืดเอ็นร้อยหวายที่ขาซ้าย โดยมือค้ำผนังไว้ขาซ้ายเหยียดตึงไม่ยกส้นเท้าจากพื้นตามรูปที่แสดง จากนั้นย่อตัวลงค้างไว้ 10-20วินาที วันละ 10-20 รอบ หรือค่อยๆ ปรับจำนวนรอบขึ้นทุกวัน
- อีกหนึ่งวิธีคือยืนบนขอบบันไดให้ส้นเท้าข้างที่ต้องการ ยืดเอ็นพ้นบันไดออกมาค่อยๆ ทิ้งน้ำหนักตัวลงไปค้างใน ท่านี้ 10 – 20 วินาที วันละ 10 – 20 รอบต่อวัน อีกหนึ่งท่า ที่แนะนำคือคือการนั่งยองๆ ค้างไว้ 10 – 20 วินาที วันละ 10 – 20 รอบต่อวัน ในท่าเท้าชิดกันส้นเท้าไม่ยกจากพื้น
- การกินยาแก้ปวด การกินยา ฉีดยาเพื่อลดอาการอักเสบ
- การพบแพทย์ตรวจเพื่อหาสาเหตุที่ทำให้มีอาการปวด หรือผิดปกติในการใช้งาน
- การใส่อุปกรณ์พยุงข้อเท้า หรือเท้าเพื่อปรับรูปเท้าขณะที่สวมอุปกรณ์จะทำให้อาการเบาลง
- การผ่าตัดแก้ไขสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวด หรือปัญหา
ปัญหาเท้าแบนที่พบในเด็ก
ส่วนใหญ่เป็นภาวะเท้าแบนชนิดไม่ติดแข็งที่คงอยู่ต่อเนื่องมาตั้งแต่วัยเด็กเล็ก อุ้งเท้าไม่สูงขึ้นแม้กระดูกจะมีการเจริญเติบโตเต็มที่แล้วก็ตาม มักจะพบทั้งสองข้าง าเหตุส่วนใหญ่เกิดจากพันธุกรรม ผู้ป่วยมักรู้สึกว่าเท้าหรือขาอ่อนล้าง่าย ร่วมกับปวดบริเวณอุ้งเท้า ส้นเท้าและเท้าด้านนอก โดยอาการเป็นมากขึ้นเมื่อมีการลงน้ำหนัก ขณะยืนลงน้ำหนักจะพบส้นเท้าบิดออกมากกว่าปกติ ส่วนใหญ่มักจะมีกล้ามเนื้อน่องและเอ็นร้อยหวายตึงร่วมด้วย หากมีส้นเท้าบิดมากๆ เป็นเวลานาน อาจทำให้ข้อเสื่อม และเคลื่อนไหวได้น้อยลง เท้าแบนชนิดนี้ไม่ถือว่าเป็นโรค ดังนั้นหากไม่มีอาการ ไม่จำเป็นต้องทำการรักษาใดๆ เพียงติดตามความเปลี่ยนแปลงเป็นระยะๆ
เท้าแบนในเด็ก จำเป็นต้องรักษาหรือไม่
หากเป็นกรณีเท้าแบนที่เกิดจาก Rigid Flat Feet คือเป็นโครงสร้างที่ผิดปกติ เป็นต้องรักษาเป็นจริงเป็นจัง และส่วนมากจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข แต่ถ้าเป็นเท้าแบนแบบยืดหยุ่น (Flexible Flat Feet) คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลมาก เพราะปัจจุบันยังไม่มีรายงานหรือการวิจัยทางการแพทย์ใด ๆ ที่ระบุเจาะจงว่า เท้าแบนแบบยืดหยุนในเด็ก จะส่งผลและมีปัญหาต่อพัฒนาการของเด็กในอนาคต
โรคเท้าแบนแม้ไม่ใช่โรคร้ายแรงอันตราย แต่หากปล่อยไว้ก็จะทำลายความสุขและคุณภาพในการใช้ชีวิตได้ ซึ่งการป้องกันนั้นก็สามารถทำได้ตั้งแต่เด็กๆ โดยคุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตรูปเท้าของลูก ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ โดยหากสังเกตพบว่ารูปเท้าผิดรูป แบนผิดปกติ ก็ควรรีบมาพบแพทย์
ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลเปาโล พระประแดง
02 818 9000