หน้าแรก
เลือกโรงพยาบาล
เปาโลสมุทรปราการ
เปาโลโชคชัย4
เปาโลรังสิต
เปาโลเกษตร
เปาโลพระประแดง
ชำระค่ารักษาพยาบาล
บริการ
แพ็กเกจและโปรโมชั่น
ปรึกษาแพทย์ออนไลน์
นัดหมายตรวจสุขภาพ
ห้องพัก
บทความ
บทความทางการแพทย์
จากใจผู้ใช้บริการ
ข่าวสารและกิจกรรม
ติดต่อเปาโล
เกี่ยวกับเปาโล
ติดต่อเรา
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
สาส์นจากผู้บริหารสูงสุด
สมาชิก
Login
ลงทะเบียน
ลืมรหัสผ่าน
360° View
เลือกโรงพยาบาล
Paolo Chokchai4
Paolo Samutprakarn
Paolo Rangsit
Paolo Kaset
Paolo Phrapradeang
ค้นหาแพทย์
ศูนย์และคลินิก
แพ็กเกจและโปรโมชั่น
หน้าแรก
คลินิกนมแม่
หลังคลอดปลอดภัย ดูแลกายใจให้สดใส แข็งแรงทั้งแม่และลูก
หลังคลอดปลอดภัย ดูแลกายใจให้สดใส แข็งแรงทั้งแม่และลูก
โรงพยาบาลเปาโลพระประแดง
Share
การดูแลตัวเองหลังคลอดที่คุณแม่ต้องรู้
หลังการคลอดบุตรใหม่ๆ คุณแม่คงรู้สึกโล่งใจที่การคลอดผ่านไปได้ด้วยดี แต่อาจมีความกังวลใจต่อการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายจากการตั้งครรภ์และการคลอด ซึ่งโดยปกติแล้วสภาพร่างกายของคุณแม่หลังคลอดจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 6-8 สัปดาห์ รวมทั้งแผลที่เกิดจากการคลอดก็จะหายดีในช่วงระยะเวลานี้ด้วย ทั้งนี้ หากคุณแม่มีความเข้าใจและดูแลตนเองหลังคลอดได้เป็นอย่างดี ก็จะช่วยให้ทุกอย่างราบรื่นขึ้น ซึ่งการดูแลตนเองหลังคลอดนั้นมีอยู่หลายด้าน ดังนี้
ด้านจิตใจ
หลังคลอดใหม่ๆ ปริมาณฮอร์โมนในร่างกายของคุณแม่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งคุณแม่ยังต้องปรับตัวกับบทบาทใหม่ อ่อนเพลียจากการคลอด กังวลใจกับสรีระของตนเองและการเลี้ยงลูก จึงอาจทำให้รู้สึกเครียด หงุดหงิด หรือความซึมเศร้าแบบไม่มีเหตุผล ซึ่งเรียกว่า “ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด” ดังนั้น คุณพ่อจึงหรือคนใกล้ชิดจึงเป็นบุคคลสำคัญ หากได้ช่วยแบ่งเบาภาระในการเลี้ยงดูบุตร และดูแลงานบ้านแทนคุณแม่ ก็จะช่วยให้คุณแม่มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น รู้สึกมั่นใจและได้รับความรักอย่างเต็มที่
ด้านร่างกาย
1.การดูแลแผล
แผลฝีเย็บ ปกติแล้วคุณหมอจะเย็บด้วยไหมละลาย ซึ่งหลังคลอดประมาณ 7 วันแผลก็จะหาย แต่อาจจะรู้สึกเจ็บนานประมาณ 2 สัปดาห์ การทำความสะอาดสามารถใช้น้ำและสบู่ล้างจากด้านหน้าไปด้านหลัง และซับให้แห้งทันที ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ ไม่ควรสวนล้างช่องคลอดหรืออาบน้ำในอ่าง กรณีคุณแม่เป็นริดสีดวงทวาร หากมีอาการปวดอาจจะประคบด้วยถุงน้ำแข็ง ใช้ครีมหรือยาเหน็บตามแพทย์สั่ง ดื่มน้ำและรับประทานผัก ผลไม้ที่มีกากใยสูง เพื่อลดอาการท้องผูก
แผลผ่าตัด คุณหมอจะเย็บด้วยไหมละลาย ไม่ต้องตัดไหม ปิดไว้ด้วยพลาสเตอร์กันน้ำ คุณแม่สามารถอาบน้ำได้ แต่ถ้าสังเกตว่ามีน้ำซึมเข้าแผล ให้เปลี่ยนพลาสเตอร์ปิดแผลใหม่ทันที แผลจะหายในเวลาประมาณ 7 วัน หากเจ็บแผลขณะเคลื่อนไหว คุณแม่อาจจะใช้ผ้ารัดหน้าท้องช่วยพยุงไว้ จะช่วยให้รู้สึกสบายขึ้น
2. น้ำคาวปลา
คือน้ำคร่ำปนกับเลือดที่ออกจากแผลในมดลูกไหลออกมาทางช่องคลอด ในช่วง 3 วันแรกจะมีสีแดงเข้ม จากนั้นสีจะจางลงเรื่อยๆ คล้ายกับสีน้ำล้างเนื้อ แล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นมูกสีเหลืองๆ ตามปกติจะมีอยู่ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ควรทำความสะอาดด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งหลังการปัสสาวะหรืออุจจาระ และเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ
3. การฟื้นตัวของมดลูก
ระหว่างตั้งครรภ์มดลูกจะขยายตัวใหญ่ขึ้นกว่าปกติ แต่หลังคลอดมดลูกก็จะหดตัวลงจนมีขนาดปกติและกลับเข้าสู่ตำแหน่งในอุ้งเชิงกราน ที่คนทั่วไปเรียกว่ามดลูกเข้าอู่ ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ หากมีอาการปวดมดลูก สามารถรับประทานยาแก้ปวดได้
4. การดูแลเต้านม
โดยทั่วไปคุณแม่จะมีขนาดของเต้านมที่ใหญ่ขึ้น และมีอาการคัดตึงในวันที่ 2-3 หลังคลอด ซึ่งเกิดจากภาวะที่ต่อมน้ำนมเริ่มผลิตน้ำนม เวลาอาบน้ำควรงดฟอกสบู่บริเวณลานนม เพื่อให้น้ำมันธรรมชาติที่ผิวหนังสร้างขึ้นยังคงอยู่ จะช่วยลดความเจ็บขณะลูกดูดนม หากมีอาการนมคัดแต่ยังไม่มีน้ำนม ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบเต้านม และทานยาแก้ปวดได้
พยายามให้ลูกดูดนมบ่อยๆ เพื่อกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำนมเร็วขึ้น หากมีน้ำนมไหลแล้ว ให้ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบเต้านมก่อนให้นมลูก ก็จะช่วยให้การไหลเวียนเลือดบริเวณเต้านมดีขึ้น ใช้สำลีชุบน้ำต้มสุกเช็ดทำความสะอาดหัวนมและลานนมทุกครั้ง ทั้งก่อนและหลังให้นมลูก
5. การรับประทานอาหาร
คุณแม่หลังคลอดยังคงต้องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เหมือนในระยะตั้งครรภ์ เพราะต้องใช้พลังงานในการฟื้นฟูร่างกายของคุณแม่เองและผลิตน้ำนมสำหรับเลี้ยงลูก
ควรรับประทานอาหารประเภท ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ไข่ นม ลดอาหารประเภทแป้ง ไขมัน และของหมักดอง งดเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ การรับประทานยาควรได้รับคำแนะนำจากคุณหมอ เพราะยาบางชนิดหลั่งออกทางน้ำนมได้ โดยเฉพาะในช่วง 1 สัปดาห์แรก ควรปรึกษาแพทย์ว่าต้องงดยาใดบ้าง
6. การพักผ่อน
ช่วงที่พักฟื้นในโรงพยาบาล คุณแม่จะได้พักผ่อนเต็มที่ แต่เมื่อกลับบ้านแล้ว ช่วงที่คุณพ่อคุณแม่ต้องปรับตัวกับวิถีชีวิตใหม่ ต้องดูแลตัวเอง ดูแลลูก และครอบครัว จึงควรจัดสรรเวลาในการทำกิจกรรมต่างๆ ให้เหมาะสม เช่น ทำความสะอาดเสื้อผ้าและของใช้ลูกวันละ 1 ครั้ง ควรมีเวลางีบหลับพักผ่อนขณะลูกหลับ เพื่อไม่ให้คุณแม่เหนื่อยล้าหรืออ่อนเพลียเกินไป
7. กิจกรรมที่คุณแม่ “ไม่ควรทำ” ในช่วง 6 สัปดาห์แรกหลังคลอด
ไม่ควรยกของที่มีน้ำหนักมากกว่าน้ำหนักของทารก
ไม่ควรออกแรงเบ่งมากๆ หรือนานๆ
ไม่ควรเดินขึ้น-ลงบันไดบ่อยๆ
ไม่ควรขับรถโดยไม่จำเป็น
ไม่ควรออกกำลังกายหักโหม ทำได้เฉพาะท่ากายบริหารเบาๆ
8. การมีเพศสัมพันธ์
คุณแม่อาจมีความรู้สึกทางเพศลดลงเนื่องจากความอ่อนเพลีย กังวล และความไม่สบายกาย หรือเจ็บแผล จึงควรงดการมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 4-6 สัปดาห์แรกหลังคลอด หรือจนกว่าจะได้รับการตรวจสุขภาพหลังคลอด และวางแผนคุมกำเนิดแล้ว
9. การตรวจหลังคลอด
แพทย์จะนัดคุณแม่ให้มาตรวจสุขภาพ 4-6 สัปดาห์หลังคลอด เช่น
ตรวจความสมบูรณ์ของร่างกาย
ตรวจดูสภาพของปากมดลูกและอวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน หรือแผลผ่าตัดหน้าท้องกรณีผ่าตัดคลอด
ตรวจความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก
ให้คำแนะนำเรื่องการวางแผนครอบครัว และคุมกำเนิดที่เหมาะสมในช่วงหลังคลอด
อาการผิดปกติหลังคลอด ที่ควรรีบมาพบแพทย์
มีไข้สูงโดยไม่ทราบสาเหตุ
น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น หรือมีสีแดงสดตลอด 15 วันหลังคลอด
ปวดท้องน้อย เจ็บปวด หรือแสบขัดเวลาปัสสาวะ
ปวดศีรษะรุนแรง
เต้านมบวมแดง อักเสบ หัวนมแตกเป็นแผล
แผลฝีเย็บ หรือแผลผ่าตัดอักเสบ บวม แดง หรือมีหนอง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
แผนกสูตินรีเวช
โรงพยาบาลเปาโล
พระประแดง
โทร
.02-818-9000
tags
หลังคลอดปลอดภัย
คุณแม่ตั้งครรภ์
ุคุณแม่มือใหม่
ปรึกษาแพทย์ออนไลน์
ชื่อ
นามสกุล
เบอร์ติดต่อ
อีเมล
เลือกสาขา
โรงพยาบาลเปาโลสมุทรปราการ
โรงพยาบาลเปาโลโชคชัย4
โรงพยาบาลเปาโลรังสิต
โรงพยาบาลเปาโลเกษตร
โรงพยาบาลเปาโลพระประแดง
รายละเอียด
Loading…
Regenerate captcha
ส่งข้อความ
กรุณารอซักครู่.....
x