จุดเริ่มต้นของการค้นหามะเร็งลำไส้ใหญ่ ด้วยวิธีการส่องกล้อง
โรงพยาบาลเปาโลเกษตร
20-ก.พ.-2567

จุดเริ่มต้นของการค้นหามะเร็งลำไส้ใหญ่ ด้วยวิธีการส่องกล้อง

มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นอีกหนึ่งโรคร้ายที่คนไทยเสียชีวิตมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโรคมะเร็งทั้งหมด ซึ่งการลดอัตราการสูญเสียคือการตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและปลอดภัยกับผู้เข้ารับบริการ

ปัจจุบันการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอีกต่อไป

การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ?
การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) มีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็ก ยืดหยุ่นได้ มีกล้องและไฟบริเวณปลาย เพื่อให้ได้ภาพคมชัดในการตรวจ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นพยาธิสภาพภายในได้อย่างชัดเจน และทำการตรวจรักษาในจุดต่าง ๆ ได้อย่างตรงจุด

ใครบ้างที่ควรตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ด้วยวิธีการส่องกล้อง
 ผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
 มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
 ปวดท้องเรื้อรัง ท้องอืดเรื้อรัง ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด หรือถ่ายดำ
 น้ำหนักลดลงผิดปกติ อ่อนเพลีย ท้องผูก หรือท้องผูกสลับท้องเสีย
 ได้รับการวินิจฉัย เป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง IBD
 เคยตรวจพบติ่งเนื้อผิดปกติในลำไส้ใหญ่
 ชอบบริโภคเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อแดงที่มีไขมันสูง มีกากใยน้อย
 ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่

ลำไส้

ข้อดีจากการส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
 ตรวจหาติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ (polyps) ซึ่งเป็นจุดตั้งต้น ก่อนกลายเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
 ตรวจวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะเริ่มต้นที่ยังไม่มีอาการ
 เพื่อหาสาเหตุและรักษาอาการเลือดออกในลำไส้ใหญ่
 เพื่อหาสาเหตุความผิดปกติเกี่ยวกับอุจจาระ เช่น ท้องผูก หรือท้องเสียเรื้อรัง อุจจาระมีเลือดปน มีติ่งเนื้อยื่นออกมา มีอาการอ่อนเพลีย ท้องอืด แน่นท้อง ซีด

การเตรียมตัวก่อนตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่
 ทานอาหารอ่อน งดอาหารที่มีกากใย หรือผักผลไม้ก่อนตรวจประมาณ 2 วัน
 ทานยาตามที่แพทย์ระบุเพื่อช่วยขับถ่ายอุจจาระออกจากลำไส้ใหญ่
 แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับโรคประจำตัว ประวัติการแพ้ยา สารเคมี ยาที่กินประจำ รวมถึงประวัติการรักษาและการผ่าตัดที่ผ่านมา

การส่องกล้องไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด
การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) แพทย์จะทำการฉีดยาเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและหลับ จากนั้นจะใส่กล้องตรวจเข้าไปทางทวารหนัก และค่อย ๆ เคลื่อนเข้าไปเพื่อตรวจวินิจฉัยลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ส่วนการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้น (Upper GI endoscopy) ซึ่งประกอบด้วยหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น โดยแพทย์จะพ่นยาชาที่บริเวณลำคอ และให้นอนตะแคงแพทย์จะทำการฉีดยาเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและหลับ เมื่อผู้ป่วยพร้อม แพทย์จะทำการสอดกล้องเข้าทางปาก การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้นจะช่วยในการประเมินวินิจฉัยอาการกลืนลำบาก ปวดท้อง เลือดออกในช่องท้อง แผลในกระเพาะอาหาร และเนื้องอก เป็นต้น หลังจากออกจากห้องตรวจ ต้องได้รับการดูแลอย่างน้อย 2 ชั่วโมง แนะนำในวันที่แพทย์นัดตรวจควรพาญาติมาด้วยโดยหลังจากส่องกล้องจะมีอาการแน่นท้อง เจ็บทวารหนัก และหากมีอาการผิดปกติ เช่น ถ่ายเป็นเลือด หรือปวดท้องมาก แนะนำให้ควรรีบมาพบแพทย์

📚บทความสุขภาพ📚
📖 การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น (GASTROSCOPY)
📖สัญญาณเตือน...มะเร็งกระเพาะอาหาร (GASTRIC CANCER)
📖แผลในกระเพาะอาหาร กับอาการปวดท้องจากการติดเชื้อ H. PYLORI
📖โรคกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กอักเสบ (GASTROENTERITIS) 



นพ.ธีรนันท์ สรรพจิต




สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม
แผนก อายุรกรรม โรงพยาบาลเปาโล เกษตร
โทร. 02 1500 900 ต่อ 5113
Facebook : โรงพยาบาลเปาโล เกษตร
Line official account : Paolo Hospital Kaset
Line ID : @paolokaset