การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น
Gastroscopy
1. หากคุณสังเกตมีอาการดังต่อไปนี้ปวดท้องช่วงบนของท้อง ปวดลิ้นปี่ ปวดเป็นๆ หายๆ เฉพาะในกรณีที่ปวดมานานกว่า 1-2 สัปดาห์
➮ อาเจียนโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ
➮ กลืนอาหารลำบาก , จุกแน่นคอ
➮ ท้องอืด มีลมในท้องมาก เรอบ่อย รับประทานอาหารได้น้อย หรืออาจจะมีอาการคลื่นไส้ หรืออาเจียนร่วมด้วย
➮ เลือดออกทางเดินอาหาร : อาเจียนเป็นเลือด , ถ่ายอุจจาระมีสีดำหรือมีเลือดปน หรือโลหิตจาง เป็นต้น
➮ อื่น ๆ
2. วิธีการส่องกล้องตรวจ : ใช้ท่อขนาดเล็ก ยาว และโค้งงอได้ ซึ่งแพทย์จะใส่สายยางเล็กที่มีเลนส์และแสงไฟสว่างที่ปลายส่องกล้องเข้าทางปาก โดยภาพจะปรากฏจอโทรทัศน์ ซึ่งจะมองได้ชัดเจนในการหาเซลล์มะเร็ง , เพาะเชื้อหาเชื้อแบคทีเรีย รวมไปการส่องกล้องเพื่อรักษาห้ามเลือดในทางเดินอาหารส่วนต้นได้
3. ข้อดีของการส่องกล้องกระเพาะอาหาร : ตรวจหาสาเหตุความผิดปกติของกระเพาะอาหาร เช่น แผลในกระเพาะอาหาร ภาวะเลือดออก และเป็นการตรวจหามะเร็งระยะต้น และสามารถรักษาความผิดปกติได้ในคราวเดียวกัน
4. การปฏิบัติตัวก่อนรับการตรวจส่องกล้อง
➮ ห้ามรับประทานอาหาร และดื่มน้ำทุกชนิดก่อนมารับการตรวจ อย่างน้อย 6-8 ชม. ก่อนตรวจทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่ากระเพาะอาหารว่างเปล่า ซึ่งทำให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจน และป้องกันอันตรายที่เกิดจากการสำลักอาหารและน้ำเข้าไปในหลอดลมขณะที่กลืนกล้องลงสู่ลำคอและระหว่างส่องกล้อง➮ ในรายที่มีฟันปลอมถอดได้ ต้องถอดออกหรือมีฟันโยกจะต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ เพื่อป้องกันการหลุดและอุดกลั้นทางเดินหายใจ➮ แนะนำให้คนไข้ไม่สวมเครื่องประดับติดตัวมา➮ ควรมีญาติมาด้วย หากรายที่แพทย์พิจารณาให้ฉีดยาคลายกังวล หลังการตรวจไม่ควรขับรถด้วยตนเอง➮ ถ้ามีโรคประจำตัว ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ ✱ บางรายอาจจะต้องพิจารณาให้งดยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือด 5-7 วัน ก่อนส่องกล้อง ✱ ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงให้กินได้ตามปกติ ✱ ส่วนยาชนิดอื่น ๆ ต้องงดกิน รวมถึง ยาฉีดรักษาเบาหวานต้องงดฉีด
5. การปฏิบัติตัวหลังรับการตรวจส่องกล้อง
➮ ห้ามดื่มน้ำหรือรับประทานอาหาร จนกว่าคอจะหายจากอาการชาโดยประมาณ 1 ชั่วโมงหลังส่องกล้อง เมื่อคอหายจากอาการชาแล้วให้ทดลองจิบน้ำ ถ้าไม่สำลักดื่มน้ำได้
➮ ให้สังเกตน้ำลายที่บ้วนออกมา อาจมีเลือดปนบ้างเล็กน้อยแต่ถ้ามีเลือดออกมามากผิดปกติให้รีบรายงานแพทย์ / มาพบแพทย์
➮ ภายหลังการตรวจอาจมีอาการเจ็บคอ
✱ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำหรืออาหารร้อน ๆ
✱ ควรรับประทานอาหารเหลว หรืออาหารอ่อน รสไม่จัด 2-3 วัน เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก เป็นต้น
✱ ออกกำลังกายหรือทำงานได้ตามปกติ
➮ ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น มีอาการปวดมากบริเวณลำคอ หน้าอก ท้อง หายใจลำบาก มีไข้ ควรรีบมาพบแพทย์