ออฟฟิศซินโดรมเกิดจากอะไร? วิธีป้องกันง่ายๆ ที่ทำได้ทุกวัน

หยุดปวดเมื่อย เริ่มต้นชีวิตใหม่ไร้ Office Syndrome วันนี้
          Office Syndrome คือกลุ่มอาการปวดเมื่อยจากการทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นานๆ โดยเฉพาะการนั่งในท่าทางซ้ำๆ ไม่เคลื่อนไหว ส่งผลให้ปวดหลัง คอ ไหล่ และกระทบต่อประสิทธิภาพชีวิต

ยุคดิจิทัลทำให้พฤติกรรม Work From Home แพร่หลายมากขึ้น สถิติพบว่าผู้ที่ทำงานหน้าจอเกิน 6 ชม./วัน มีความเสี่ยงเป็น Office Syndrome สูงถึง 80%


สาเหตุหลักของ Office Syndrome

          การนั่งท่าผิด การใช้โต๊ะ-เก้าอี้ไม่เหมาะสม ขาดการลุกเดิน ความเครียด การใช้มือถือก้มหน้า นอนน้อย และไม่ออกกำลังกาย ล้วนส่งผลต่ออาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเรื้อรัง

อาการที่ควรระวัง

          เริ่มจากปวดหลัง คอ ไหล่ ปวดศีรษะ ปวดข้อมือ อาการชาหรือเสียวซ่าตามแขนขา หากปล่อยไว้อาจลุกลามจนเคลื่อนไหวลำบาก มีปัญหาไมเกรน นอนไม่หลับ หรือปวดจนทำงานไม่ได้

วิธีป้องกัน Office Syndrome ง่ายๆ

1. ปรับท่านั่ง: ตัวตรง หลังชิดเก้าอี้ เท้าวางราบ จออยู่ระดับสายตา ห่างประมาณ 50–70 ซม.
2. ลุกเคลื่อนไหวทุก 30–45 นาที: เดิน ยืดตัว หมุนไหล่ มองของไกลพักสายตา
3. ยืดกล้ามเนื้อ: ท่าหมุนคอ หมุนไหล่ ยกแขน ก้มเงยหน้า ช่วยคลายความตึง
4. จัดโต๊ะทำงานให้เหมาะสม: เก้าอี้รองหลัง โต๊ะพอดีกับสรีระ แสงเพียงพอ
5. จัดการความเครียด: หายใจลึก ฟังเพลง วางแผนงานให้ชัดเจน
6. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ: 30 นาที/วัน 3–4 วัน/สัปดาห์ เช่น เดิน ว่ายน้ำ โยคะ
7. นอนหลับให้เพียงพอ: 7–8 ชม./วัน ใช้หมอนพอดีคอ ไม่เล่นมือถือก่อนนอน
8. ดื่มน้ำมาก ๆ: อย่างน้อย 8 แก้ว/วัน หลีกเลี่ยงคาเฟอีน และทานอาหารครบ 5 หมู่

 
วิธีรักษาอาการ Office Syndrome เรื้อรัง

หากอาการรุนแรงควรปรึกษาแพทย์ โดยอาจใช้เทคโนโลยีช่วยรักษา เช่น

1. การฝังเข็มแบบ Dry Needling: เป็นการรักษาแบบตะวันตกโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้วยวิธีการใช้เข็มขนาดเล็กและบางปักลงบนกล้ามเนื้อบริเวณที่เกิดการตึงตัว เน้นการคลายจุดปวด (Trigger Points) ในกล้ามเนื้อ เพื่อลดอาการปวด และเพิ่มการไหลเวียนโลหิต โดยไม่ใช้ยา
2. Shockwave Therapy: ใช้คลื่นกระแทกกระตุ้นเซลล์ ลดการอักเสบ บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ
3. High Power Laser Therapy: ใช้เลเซอร์เข้มสูงกระตุ้นการฟื้นฟูเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ปลอดภัย

สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่: รักษาอาการปวดเรื้อรัง Office Syndrome ด้วย Shockwave และ High Power Laser


เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์
  • ปวดคอ/หลังรุนแรง ไม่ดีขึ้นแม้พัก
  • ปวดแขนขา ชา หรือเสียวซ่านาน
  • ปวดศีรษะบ่อย นอนไม่หลับจากความปวด       
       
          Office Syndrome ป้องกันได้ง่ายด้วยการปรับพฤติกรรม เช่น ท่านั่ง การลุกเดิน ออกกำลังกาย และดูแลสภาพแวดล้อมการทำงาน หากเริ่มปวดบ่อย ควรปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อรับการดูแลที่เหมาะสม การป้องกันดีกว่าการรักษา เริ่มต้นดูแลตัวเองให้ห่างไกล Office Syndrome ตั้งแต่วันนี้

นพ.จิตรภานุ ญาณกิตติพัฒน์ 
แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู Physical Medicine and Rehabilitation
โรงพยาบาลเปาโล เกษตร 


แผนกกายภาพ
โรงพยาบาลเปาโล เกษตร 
โทร. 02-1500 -900 ต่อ 5305 
Facebook : โรงพยาบาลเปาโล เกษตร
Line official account : Paolo Hospital Kaset
Line ID : @paolokaset