จุดเริ่มต้นของการค้นหามะเร็งลำไส้ใหญ่ ด้วยวิธีการส่องกล้อง
มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นอีกหนึ่งโรคร้ายที่คนไทยเสียชีวิตมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโรคมะเร็งทั้งหมด ซึ่งการลดอัตราการสูญเสียคือการตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและปลอดภัยกับผู้เข้ารับบริการ
ปัจจุบันการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอีกต่อไป
การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ?
การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) มีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็ก ยืดหยุ่นได้ มีกล้องและไฟบริเวณปลาย เพื่อให้ได้ภาพคมชัดในการตรวจ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นพยาธิสภาพภายในได้อย่างชัดเจน และทำการตรวจรักษาในจุดต่าง ๆ ได้อย่างตรงจุด
ใครบ้างที่ควรตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ด้วยวิธีการส่องกล้อง
➮ ผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
➮ มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
➮ ปวดท้องเรื้อรัง ท้องอืดเรื้อรัง ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด หรือถ่ายดำ
➮ น้ำหนักลดลงผิดปกติ อ่อนเพลีย ท้องผูก หรือท้องผูกสลับท้องเสีย
➮ ได้รับการวินิจฉัย เป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง IBD
➮ เคยตรวจพบติ่งเนื้อผิดปกติในลำไส้ใหญ่
➮ ชอบบริโภคเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อแดงที่มีไขมันสูง มีกากใยน้อย
➮ ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่
ข้อดีจากการส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
➮ ตรวจหาติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ (polyps) ซึ่งเป็นจุดตั้งต้น ก่อนกลายเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
➮ ตรวจวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะเริ่มต้นที่ยังไม่มีอาการ
➮ เพื่อหาสาเหตุและรักษาอาการเลือดออกในลำไส้ใหญ่
➮ เพื่อหาสาเหตุความผิดปกติเกี่ยวกับอุจจาระ เช่น ท้องผูก หรือท้องเสียเรื้อรัง อุจจาระมีเลือดปน มีติ่งเนื้อยื่นออกมา มีอาการอ่อนเพลีย ท้องอืด แน่นท้อง ซีด
การเตรียมตัวก่อนตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่
➮ ทานอาหารอ่อน งดอาหารที่มีกากใย หรือผักผลไม้ก่อนตรวจประมาณ 2 วัน
➮ ทานยาตามที่แพทย์ระบุเพื่อช่วยขับถ่ายอุจจาระออกจากลำไส้ใหญ่
➮ แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับโรคประจำตัว ประวัติการแพ้ยา สารเคมี ยาที่กินประจำ รวมถึงประวัติการรักษาและการผ่าตัดที่ผ่านมา
การส่องกล้องไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด
การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) แพทย์จะทำการฉีดยาเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและหลับ จากนั้นจะใส่กล้องตรวจเข้าไปทางทวารหนัก และค่อย ๆ เคลื่อนเข้าไปเพื่อตรวจวินิจฉัยลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ส่วนการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้น (Upper GI endoscopy) ซึ่งประกอบด้วยหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น โดยแพทย์จะพ่นยาชาที่บริเวณลำคอ และให้นอนตะแคงแพทย์จะทำการฉีดยาเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและหลับ เมื่อผู้ป่วยพร้อม แพทย์จะทำการสอดกล้องเข้าทางปาก การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้นจะช่วยในการประเมินวินิจฉัยอาการกลืนลำบาก ปวดท้อง เลือดออกในช่องท้อง แผลในกระเพาะอาหาร และเนื้องอก เป็นต้น หลังจากออกจากห้องตรวจ ต้องได้รับการดูแลอย่างน้อย 2 ชั่วโมง แนะนำในวันที่แพทย์นัดตรวจควรพาญาติมาด้วยโดยหลังจากส่องกล้องจะมีอาการแน่นท้อง เจ็บทวารหนัก และหากมีอาการผิดปกติ เช่น ถ่ายเป็นเลือด หรือปวดท้องมาก แนะนำให้ควรรีบมาพบแพทย์
📚บทความสุขภาพ📚
📖 การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น (GASTROSCOPY)
📖สัญญาณเตือน...มะเร็งกระเพาะอาหาร (GASTRIC CANCER)
📖แผลในกระเพาะอาหาร กับอาการปวดท้องจากการติดเชื้อ H. PYLORI
📖โรคกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กอักเสบ (GASTROENTERITIS)
สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม
แผนก อายุรกรรม โรงพยาบาลเปาโล เกษตร
โทร. 02 1500 900 ต่อ 5113
Facebook : โรงพยาบาลเปาโล เกษตร
Line official account : Paolo Hospital Kaset
Line ID : @paolokaset