PCOS หรือ Polycystic Ovary Syndrome คือ ภาวะที่รังไข่ของผู้หญิงมีถุงน้ำเล็ก ๆ จำนวนมาก ส่งผลให้ระบบฮอร์โมนทำงานผิดปกติ และมีฮอร์โมนเพศชาย (แอนโดรเจน) ที่สูงเกินไป ทำให้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ไม่มีการตกไข่ มีโอกาสเกิดภาวะมีบุตรยาก และเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติและมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก จากข้อมูลทางการแพทย์ พบว่าผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ประมาณ 1 ใน 10 คน หรือราวร้อยละ 10–15 อาจเป็น PCOS โดยไม่รู้ตัว
สาเหตุของ PCOS
ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน ได้แก่ ความไม่สมดุลของฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมนเพศชายที่สูงผิดปกติ ซึ่งส่งผลต่อการตกไข่ ภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน นอกจากจะพัฒนาไปสู่ภาวะนี้ได้ง่ายแล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวานในอนาคต นอกจากนี้ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็น PCOS ก็มีแนวโน้มเสี่ยงสูงถึงร้อยละ 50
อาการของ PCOS
ผู้หญิงที่เป็น PCOS มักแสดงอาการหลักๆ ดังนี้
PCOS กับภาวะมีบุตรยาก
PCOS เป็นสาเหตุสำคัญของภาวะมีบุตรยากในผู้หญิง เพราะไม่มีการตกไข่อย่างสม่ำเสมอ จึงทำให้โอกาสในการตั้งครรภ์ลดลง อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงที่เป็น PCOS หากได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ก็ยังสามารถตั้งครรภ์ได้สำเร็จมากร้อยละ 70–80
แนวทางการรักษา PCOS
แม้ว่า PCOS จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมอาการและป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแนวทางการรักษาจะมุ่งเน้นไปที่การปรับพฤติกรรมและการใช้ยา
1.การปรับพฤติกรรม
- ลดน้ำหนัก การลดน้ำหนักลงเพียงร้อยละ 5-10 ของน้ำหนักตัวเริ่มต้น สามารถช่วยให้การตกไข่กลับมาเป็นปกติได้2.การใช้ยา หากการปรับพฤติกรรมยังไม่เพียงพอ แพทย์อาจพิจารณาให้ยาร่วมด้วย เช่น
- ยาคุมกำเนิด เพื่อช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนและควบคุมประจำเดือนให้มาปกติ
การตั้งครรภ์เมื่อเป็น PCOS
ผู้หญิงที่เป็น PCOS สามารถตั้งครรภ์ได้ หากได้รับการดูแลและวางแผนที่เหมาะสม จากการศึกษาพบว่าหากผู้หญิงที่เป็น PCOS สามารถลดน้ำหนักลงได้อย่างน้อยร้อยละ 10 โอกาสในการตั้งครรภ์จะเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ควบคุมน้ำหนักเลย
ภาวะ PCOS (Polycystic Ovary Syndrome) แม้จะฟังดูซับซ้อน แต่เป็นภาวะที่ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์จำนวนไม่น้อยต้องเผชิญ อย่างไรก็ตาม ด้วยความเข้าใจในสาเหตุ อาการ และแนวทางการรักษาที่เหมาะสมโดยสูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ป่วย PCOS ก็สามารถควบคุมอาการต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากมีประจำเดือนผิดปกติ สิวขึ้นเรื้อรัง ขนดก หรือผมร่วงผิดปกติ ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรเข้าพบสูตินรีแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและการดูแลอย่างถูกต้องและทันท่วงที เพื่อให้คุณมีสุขภาพที่ดีและสามารถมีบุตรได้ตามที่ปรารถนา