โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus)
โรงพยาบาลเปาโลเกษตร
14-ก.ค.-2566

โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus)

       โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus) มีสาเหตุจากการทำงานที่ผิดปกติของฮอร์โมน อินซูลิน (Insulin) ซึ่งผลิตจากตับอ่อน โดยฮอร์โมน อินซูลิน (Insulin) จะทำหน้าที่เผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและไขมัน เปลี่ยนน้ำตาลในร่างกายไปเป็นไขมัน หากร่างกายมีฮอร์โมน อินซูลิน (Insulin) น้อยหรือไม่มี ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น

ชนิดของโรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus)

เบาหวานชนิดที่ 1 :

สาเหตุจากภูมิคุ้มกันร่างกายมีการทำลายเซลล์สร้างอินซูลิน (Insulin) ในตับอ่อน ทำให้เกิดภาวะขาดอินซูลิน (Insulin) หากเป็นเบาหวานชนิดนี้ต้องได้รับการฉีดอินซูลิน (Insulin) เป็นประจำ


เบาหวานชนิดที่ 2 :
สาเหตุจากภาวะการลดลงของการสร้างอินซูลิน (Insulin) ร่วมกับภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin) ซึ่งมีการส่งต่อได้ทางพันธุกรรม หรือพบได้ในผู้ที่กินอาหารประเภทแป้ง ของหวานมากเกินไป ไม่ได้ออกกำลังกาย มีภาวะอ้วนลงพุง โดยหากเป็นเบาหวานชนิดนี้จะได้รับยาเบาหวานชนิดกิน เพื่อควบคุมอาการ

เบาหวานชนิดพิเศษ :
สาเหตุเกิดจากความความผิดปกติของตับอ่อน หรือเป็นโรคที่เกี่ยวกับการทำงานที่ผิดปกติของอินซูลิน (Insulin) เช่น การใช้ยาบางชนิด การติดเชื้อบางอย่าง


เบาหวานขณะตั้งครรภ์ :

สาเหตุเกิดจากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงในช่วงตั้งครรภ์ ซึ่งสามารถหายไปได้หลังคลอดบุตร และเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ในอนาคตการรักษาโรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus)

การรักษาเบาหวาน

การรักษาโรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus)

       
นั้นแพทย์จะพิจารณาวางแผนการรักษาให้สอดคล้องกับชนิดของโรคเบาหวานที่ผู้ป่วยเป็น ทั้งนี้โรคเบาหวานถือเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาการรักษายาวนาน รวมทั้งต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ป่วยที่ต้องมีวินัยในการดูแลสุขภาพอย่างเคร่งครัด ตามข้อควรปฎิบัติสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ภายใต้การกำกับดูแลติดตามอาการอย่างต่อเนื่องโดยแพทย์ เพื่อควบคุมอาการของโรคเบาหวาน และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา โดยวิธีการรักษาโรคเบาหวานได้แก่


1. ควบคุมอาหาร
2. ออกกำลังกาย
3. การควบคุมน้ำหนัก
4. การใช้ยาชนิดกิน และฉีด


ภาวะแทรกซ้อน ของโรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus)

1. ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

2. ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงรุนแรง
3. ภาวะเบาหวานขึ้นตา
4. โรคไต
5. โรคหลอดเลือดหัวใจ
6. โรคหลอดเลือดสมอง
7. โรคหลอดเลือดส่วนปลายอุดตัน แผลติดเชื้อที่เท้า


ขนมหวาน

การป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus)


       โรคเบาหวานบางชนิดไม่สามารถป้องกันได้ เช่น เบาหวานชนิดที่ 1 แต่บางชนิดสามารถลดความเสี่ยงป้องกันการเกิดได้ เช่น เบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งสาเหตุเกิดจากพฤติกรรมการกินการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนั้นแนวทางลดความเสี่ยงและป้องกันสามารถทำได้โดยการควบคุมอาหาร เช่น กินอาหารที่มีกากใยสูง กินอาหารประเภทแป้ง ไขมัน ขนม เครื่องดื่มที่มีความหวานแต่พอดี ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นการเผาผลาญพลังงานให้กับร่างกาย และการตรวจคัดกรองสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อรู้ทันความเสี่ยงของโรคเบาหวานและทราบแนวทางการดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม







Line official account : Paolo Hospital Kaset
Line ID : @paolokaset

สอบถามเพิ่มเติม
โรงพยาบาลเปาโล เกษตร โทร.02 1500 900