Line official account : Paolo Hospital Kaset
Line ID : @paolokaset
ปัจจัยและสาเหตุของการเกิดโรค
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค “ไขมันพอกตับ” ส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ทั้งการกินอาหารในกลุ่มแป้ง น้ำตาล และไขมันในปริมาณมากเกินไป จนร่างกายนำไปใช้ไม่หมดจึงสะสมเป็นไขมันในหลอดเลือดและเกาะอยู่ตามอวัยวะต่างๆ รวมถึงมาเกาะที่ตับด้วย ซึ่งหากมีไขมันสะสมอยู่ที่ตับเกินกว่า 5-10% ของน้ำหนักตับ จะถือว่าเข้าสู่การเป็นโรคไขมันพอกตับแล้ว
ไขมันพอกตับ ยังเกิดได้จากสาเหตุอื่นๆ อีก เช่น การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ การเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ (NCDs) ไม่ว่าจะโรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และยังสามารถเกิดจากผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาต้านไวรัส ยากลุ่มสเตียรอยด์ ยาฮอร์โมน ได้ด้วยเช่นกัน
อาการ 4 ระยะ...ของโรคไขมันพอกตับ
ไขมันพอกตับ มีการดำเนินโรคเป็น 4 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 พบการสะสมของไขมันอยู่ภายในเนื้อตับ แต่ยังไม่มีการอักเสบหรืออาการใดๆ
ระยะที่ 2 มีการอักเสบของตับ และเซลล์ตับถูกทำลายบางส่วน หากปล่อยทิ้งไว้อาจกลายเป็นโรค “ตับอักเสบเรื้อรัง” ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ภายใน 6 เดือน
ระยะที่ 3 มีภาวะตับอักเสบเรื้อรังและเกิดพังผืดสะสม เซลล์ตับจึงถูกทำลายไปเรื่อยๆ
ระยะที่ 4 มีภาวะตับแข็ง ตับเสื่อมสมรรถภาพจนไม่สามารถทำหน้าที่ได้ดี มีโอกาสพัฒนากลายเป็นมะเร็งตับได้ในอนาคต
การดูแลสุขภาพ...ให้ห่างไกลไขมันพอกตับ (Fatty Liver Disease)
เราสามารถดูแลสุขภาพตับให้ดีได้ ด้วยการ “ทำบางสิ่ง” และ “ไม่ทำบางอย่าง” ดังนี้
ทำสิ่งนี้...ช่วยให้สุขภาพตับดีไปอีกนาน
ยกตัวอย่างเช่น น้ำหนัก 70 กิโลกรัม ส่วนสูง 175 เซนติเมตร
ดัชนีมวลกาย (BMI) = 70 ÷ (1.75 X 1.75)
= 70 ÷ 3.06
= 22.87
BMI kg/m2 | อยู่ในเกณท์ | ภาวะเสี่ยงต่อโรค |
น้อยกว่า 18.50 | น้ำหนักน้อย / ผอม | มากกว่าคนปกติ |
ระหว่าง 18.50 - 22.90 | ปกติ (สุขภาพดี) | เท่าคนปกติ |
ระหว่าง 23 - 24.90 | ท้วม / โรคอ้วนระดับ 1 | อันตรายระดับ 1 |
ระหว่าง 25 - 29.90 | อ้วน / โรคอ้วนระดับ 2 | อันตรายระดับ 2 |
มากกว่า 30 | อ้วนมาก / โรคอ้วนระดับ 3 | อันตรายระดับ 3 |
ข้อมูลการคำนวณ BMI : กองออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
ลด ละ เลิกทำสิ่งเหล่านี้...ที่ทำร้ายตับ
ปกติแล้ว การตรวจสุขภาพประจำปีจะมีการตรวจค่าการทำงานของตับในเบื้องต้น แต่ใครก็ตามที่มีปัจจัยหรือพฤติกรรมเสี่ยงเป็นโรคไขมันพอกตับ ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพตับแบบเจาะลึก (Fibroscan) เพื่อค้นหารอยโรคไขมันพอกตับ ที่สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะต้นๆ เพื่อการป้องกันการลุกลามและรักษาได้ทันท่วงที เพราะหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ตรวจคัดกรองและทำการรักษาจนผู้ป่วยมีภาวะตับแข็งแล้ว การรักษาจะเป็นแค่การควบคุมอาการ และการลดไขมันในตับให้น้อยลงเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่โรคจะไม่หายขาด