สัญญาณเตือน...โรคหัวใจ
โรงพยาบาลเปาโลเกษตร
25-ก.ค.-2565
สัญญาณเตือน...โรคหัวใจ

         โรคหัวใจ เกิดจากความผิดปกติของระบบการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด มีอยู่มากมายหลายชนิด ทั้งนี้โรคหัวใจที่พบบ่อย ได้แก่ หลอดเลือดหัวใจ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจวายเฉียบพลัน เป็นต้น โดยส่วนมากโรคหัวใจดังกล่าวนี้มักเกิดขึ้นฉุกเฉิน จำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุและรักษาให้ทันท่วงที ก่อนเกิดอันตรายต่อชีวิต

โรคหัวใจ

อาการของโรคหัวใจ ที่พบบ่อย

1.เจ็บแน่นหน้าอก

2.หายใจลำบาก
3.หอบเหนื่อย
4.นอนราบไม่ได้
5.ขาบวม
6.ใจสั่น
7.วูบ

หัวใจ

การป้องกัน และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ

1.ลดการกินอาหารที่มีไขมัน
2.ควบคุมน้ำหนัก
3.งดสูบบุหรี่
4.ออกกำลังกาย
5.พักผ่อนอย่างเพียงพอ

          โรคหัวใจ บางชนิดนั้นอาจไม่สามารถป้องกันการเกิดได้ แต่สามารถที่ระมัดระวังใส่ใจดูแลสุขภาพในทุกวันให้เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้ ด้วยการใส่ใจเรื่องอาหารการกินที่ถูกหลักโภชนาการครบทั้ง 5 หมู่ ควบคุมปริมาณการกินโซเดียม ไม่ควรเกิน 2 กรัม/วัน งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ควบคุมการกินอาหารประเภทไขมันในสัดส่วนที่เหมาะสม นั่นคือ ไขมันอิ่มตัว (Saturated fat acid) ในปริมาณที่น้อย ไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated fatty acid) ให้เพียงพอเลี่ยงไขมันสูงคอเลสเตอรอล (Cholesterol) การพักผ่อนที่เพียงพอ และการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

การออกกำลังกาย สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ
         สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจนั้นการออกกำลังกาย ที่แนะนำคือการออกกำลังกายประเภทคาร์ดิโอ (Cardio Exercise ) ที่มีความหนักระดับปานกลาง ไม่หอบเหนื่อยจนเกินไป ได้แก่ วิ่ง ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน แบดมินตัน ชกมวย โยคะ ไทเก็ก เป็นต้น โดยแนะนำ 150 นาที/สัปดาห์ หรือวันละ 30 นาที เพื่อเสริมประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจให้แข็งแรง ช่วยให้ระบบการไหลเวียนโลหิต และการนำออกซิเจนสู่ร่างกายได้ดีขึ้น

         การตรวจคัดกรองโรคหัวใจ นอกจากการดูแลสุขภาพเป็นปกติในทุกวันแล้วนั้น การตรวจคัดกรองสุขภาพหัวใจก็มีส่วนสำคัญในการช่วยรู้ทันความผิดปกติได้ และหากมีอาการสัญญาณเตือนความผิดปกติของร่างกาย ยิ่งไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุในทันที โดยการตรวจคัดกรองระบบการทำงานของหัวใจ ได้แก่

1.EKG (Electrocardiography) การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
2.ECHO (Echocardiogram) การตรวจสมรรถภาพการทำงานของหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
3.EST (Exercise Stress Test) การตรวจสมรรถภาพการทำงานของหัวใจขณะออกกำลังกาย
4.Holter Monitoring บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง







บทความโดย
แพทย์หญิงฐิศิรักน์ ฉินนะโสต
อายุรแพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลเปาโล เกษตร