อาหารสำหรับเด็กทารก
โรงพยาบาลเปาโลเกษตร
15-มี.ค.-2565

าหารทารก อายุแรกเกิด – 12 เดือน ปริมาณอาหารทารกใน 1 วัน

แรกเกิดจนถึง 6 เดือน
- ทารกแรกเกิด ถึง 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว โดยไม่ต้องให้อาหารอื่น
แม้แต่น้ำ เพราะนมแม่ มีสารอาหารครบถ้วนและเพียงพอ

 6 เดือน
- กินอาหาร 1 มื้อ
-
เริ่มให้ข้าวแต่น้อยจนครบ 3 ช้อน
- ไข่แดง 1/2 ฟอง ปลา 2 ช้อน หรือตับบด 1 ช้อน
- ผักสุก 1/2  ช้อน หรือฟักทอง 1/2 ช้อน
- มะละกอสุก 2 ชิ้น หรือ ส้ม 2 กลีบ

  7 เดือน

- กินอาหาร 1 มื้อ
- ข้าว 4 ช้อน
- ไข่ 1 ฟอง ปลา 2 ช้อน หรือหมูบด 2 ช้อน
- ผักสุก 1 1/2 ช้อน หรือฟักทอง 1 1/2  ช้อน
- มะละกอสุก 2 ชิ้น หรือมะม่วง 2 ชิ้น

  8-9 เดือน

- กินอาหาร 1 มื้อ
- ข้าว 5 ช้อน
- ไข่ 1 ฟอง ปลา 2 ช้อน หมู 2 ช้อน หรือตับบด 1 ช้อน
- ผักสุก 2 ช้อน หรือฟักทอง 2 ช้อน
- มะม่วง 4 ชิ้น หรือ ส้ม 1 ผล

 หลัง 6 เดือนยังคงกินนมแม่ จนเด็กอายุ 1-2 ปีหรือนานกว่านั้น

 สำหรับเด็กอายุ 1-5 ปี

กลุ่มอาหาร

ปริมาณ

หมายเหตุ

เด็ก 1-3 ปี

เด็ก 4-5 ปี

ข้าว-แป้ง

3 ทัพพี

5 ทัพพี

ข้าวสุก(หุงไม่เช็ดน้ำหรือนึ่ง)ข้าวเหนียวนึ่ง ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง เผือก มัน สลับผลัดเปลี่ยนหมุนเวียน

ผัก

2 ทัพพี

3 ทัพพี

ผักใบเขียวเข้ม ผักสีเหลือง+ส้ม และผักอื่นๆ สลับผลัดเปลี่ยนหมุนเวียน

ผลไม้

3 ส่วน

3 ส่วน

ผลไม้สดตามฤดูกาล ล้างให้สะอาดก่อนให้เด็กกิน (1 ส่วนของผลไม้แต่ละชนิดไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับขนาด เช่น กล้วยน้ำหว้า 1 ผล ส้มเขียวหวาน 2 ผลกลาง)

เนื้อสัตว์

3 ช้อนกินข้าว

3 ช้อนกินข้าว

ควรทำให้สุก หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อให้เคี้ยวง่ายและสลับกับการให้ปลา ไข่ เลือดหมู ไก่ เป็ด ตับ อาหารทะเล ปลา กุ้ง เต้าหู้

นม

2 แก้ว

3 แก้ว

นมสด นมผง หรือโยเกิร์ต

น้ำมัน กะทิ

น้อยกว่า 3 ช้อนชา

น้อยกว่า 4 ช้อนชา

ไม่ควรได้รับมากเกินไป จะทำให้อ้วนได้

น้ำตาล

น้อยกว่า 2 ช้อนชา

น้อยกว่า 3 ช้อนชา

ไม่ควรได้รับมากเกินไป อาจทำให้ผอมหรืออ้วน ฟันผุ ไม่ควรกินขนมหรือเครื่องดื่มที่หวานจัด เช่น ลูกอม เยลลี่ น้ำหวาน น้ำอัดลม

หลีกเลี่ยงการกินขนมกรุบกรอบ ควรจัดอาหารว่างที่มีคุณค่าทางโภชนาการให้เด็ก เช่น นม ผลไม้ ขนมไทยรสไม่หวานจัด และให้กินก่อนเวลาอาหารมื้อหลักประมาณ ชั่วโมงครึ่ง ถึง 2 ชั่วโมง


ด้วยความปรารถนาดีจากศูนย์สุขภาพเด็ก