อาการแพ้ท้องแบบไหน อันตรายต้องหาหมอ
โรงพยาบาลเปาโลเกษตร
13-ก.พ.-2568

เทคนิครับมือ แพ้ท้องง่าย ๆ ฉบับคุณแม่มือใหม่

"คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนต้องเผชิญกับอาการ แพ้ท้อง  ไม่ว่าจะเป็น คลื่นไส้ เวียนหัว หรืออาเจียน โดยเฉพาะช่วง 3 เดือนแรก ของการตั้งครรภ์ แต่รู้ไหม? เรามีวิธีรับมือให้คุณแม่รู้สึกดีขึ้นได้ง่าย ๆ!"

นอกจากนี้คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงสถานที่ที่แออัด คนพลุกพล่าน และอากาศร้อนจัด ซึ่งทำให้เป็นลมหน้ามืดได้ง่าย ในขณะเดียวกันคุณพ่อก็ยังสามารถมีส่วนร่วมในการช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้องของคุณแม่ได้ด้วยการดูแลอย่างใกล้ชิด คอยพูดคุยถามไถ่ถึงอาการ คอยหาของกินอร่อยมาให้  หรือช่วยนวดเท้าให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น

เทคนิคช่วยบรรเทาแพ้ท้องด้วยตัวเอง
1.
เริ่มต้นมื้อแรกด้วยน้ำอุ่น นอนต่อสัก 15 นาที แล้วค่อยลุกขึ้นมารับประทานอาหารเช้าเบา ๆ อย่างเช่น ขนมปัง แครกเกอร์ ไม่หนักท้องเกินไป แถมผ่อนคลายด้วย

2. เปลี่ยนเมนูอาหารบ่อย ๆ ไม่จำเจ ช่วยลดอาการแพ้ท้อง หรือลองรับประทานแบบเย็นดูบ้าง เพราะจะช่วยลดกลิ่นอาหารลงได้

3. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารไขมันสูง เช่น ของมัน ของทอด อาหารที่กลิ่นแรง หรือย่อยยาก

4. ดื่มน้ำสะอาดให้มากขึ้น เพื่อรักษาอุณหภูมิและสมดุลแร่ธาตุต่าง ๆ ของร่างกายรวมทั้งป้องกันอาการท้องผูก

5. แบ่งอาหารเป็นมื้อย่อย ๆ รับประทานแค่พออิ่ม ไม่แน่นท้องเกินไป แนะนำให้รับประทานวันละ 5 – 6 มื้อ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารเพียงพอ

6. ลดการใช้ผลิตภัณฑ์กลิ่นแรงที่กระตุ้นอาการแพ้ เช่น น้ำหอม น้ำยาปรับผ้านุ่ม

7. จิบน้ำขิงอุ่น ๆ (ไม่เผ็ดมาก) น้ำผลไม้ หรือไอศกรีมซอร์เบตรสหวานเล็กน้อยที่ให้ความสดชื่น เพื่อลดอาการพะอืดพะอม

8. พักผ่อนให้มากขึ้น อาจหาเวลางีบระหว่างวัน หรือหลังมื้อเที่ยง

9. ออกกำลังกายเบา ๆ ครั้งละ 15 – 20 นาที เพื่อให้ร่างกายได้ยืดเหยียดและผ่อนคลาย

10. ทำกิจกรรมที่ชอบ เช่น ปลูกต้นไม้ จัดสวน เล่นดนตรี ฟังเพลง อ่านหนังสือ

แพ้ท้อง


นอกจากนี้คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงสถานที่ที่แออัด คนพลุกพล่าน และอากาศร้อนจัด ซึ่งทำให้เป็นลมหน้ามืดได้ง่าย ในขณะเดียวกันคุณพ่อก็ยังสามารถมีส่วนร่วมในการช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้องของคุณแม่ได้ด้วยการดูแลอย่างใกล้ชิด คอยพูดคุยถามไถ่ถึงอาการ คอยหาของกินอร่อยมาให้  หรือช่วยนวดเท้าให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น4

อาการแพ้ท้องแบบไหน อันตรายต้องหาหมอ ?

สำหรับคุณแม่แพ้ท้องที่รับประทานอาหารไม่ได้ หรืออาเจียนหลายครั้งในทุก ๆ วัน ดื่มแค่น้ำเปล่าก็อาเจียน นอนไม่หลับ จนมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิต เมื่อร่างกายอ่อนเพลียย่อมไม่เป็นผลดี เนื่องจากการที่ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารเพียงพอ ทำให้เกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ ตามมา
ร่างกายจะเริ่มดึงไขมันมาใช้เป็นพลังงานจนเกิด
“สารคีโตน” (Ketone Body) ขึ้นในเลือด ซึ่งเป็นอันตรายต่อเด็กในครรภ์ได้ นอกจากนี้บางรายยังอาจปัสสาวะได้น้อยลงและมีสีเข้มกว่าปกติ หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ มีอาการหน้ามืด วิงเวียน คล้ายจะเป็นลม ความดันโลหิตต่ำ มีภาวะขาดน้ำ ผิวแห้ง ตาโหลลึก ปากแห้ง รวมทั้งระดับเกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ

หากคุณแม่เริ่มมีอาการเหล่านี้ อย่าคิดว่า “นี่เป็นอาการแพ้ท้อง สักพักคงหายเอง” แต่ต้องรีบหาคุณหมอให้เร็วที่สุด และไม่ควรซื้อยาชนิดใดมารับประทานเพื่อบรรเทาอาการเองอย่างเด็ดขาด กรณีมีอาการรุนแรงอาจจำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล รวามถึงหาสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการคล้ายอาการแพ้ท้อง เช่น ไทรอยด์ผิดปกติ หรือโรคตับ เป็นต้น

พญ.พชรพร ศรีเดช



สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม
แผนกสูตินรีเวช โรงพยาบาลเปาโล เกษตร
โทร. 02 1500 900 ต่อ 5
420
Facebook : โรงพยาบาลเปาโล เกษตร
Line official account : Paolo Hospital Kaset
Line ID : @paolokaset