อาการท้องผูกในเด็ก
โรงพยาบาลเปาโลเกษตร
27-ก.พ.-2566

อาการท้องผูกในเด็ก

อาการท้องผูก (constipation) หมายถึง อาการถ่ายอุจจาระที่ผิดปกติ ได้แก่ ถ่ายห่างมากหรือถ่ายยากผิดปกติเป็นเวลานานอย่างน้อย 2 สัปดาห์ และมีผลกระทบต่อผู้ป่วย

ซึ่งท้องผูกเป็นปัญหาที่พบบ่อย ดังนี้
1. ท้องผูกเป็นปัญหาที่พบบ่อย ในเด็ก ส่วนใหญ่ไม่มีสาเหตุจากโรคทางกาย โดยอาจเกิดจาก
1.1 รับประทานอาหารที่มีกากใยต่ำ และดื่มน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน
1.2 กลั้นอุจจาระ ซึ่งเด็กบางรายมักกลั้นอุจจาระเมื่อไปอยู่นอกบ้าน เช่น เข้าโรงเรียนใหม่ ห้องน้ำไม่สะอาด หรือติดเกมส์ จนทำให้อุจจาระเป็นก้อนแข็งมากขึ้นและเบ่งยาก
1.3 รับประทานยาบางชนิดที่เป็นสาเหตุของท้องผูก เช่น ธาตุเหล็ก

2. มักพบในเด็กก่อนวัยเรียนเป็นส่วนใหญ่  อาการที่พบ คือ ถ่ายอุจจาระแข็ง เบ่งนาน เจ็บทวารหนัก หรือบางครั้งมีเลือดสีแดงหยดตามมา เนื่องจากมีแผลฉีกขาดที่ทวารหนัก เด็กบางรายแสดงความกลัวถ่ายอุจจาระโดยมักมีท่าทางกลั้นอุจจาระตามมุมห้องหรือที่ลับตา มีอุจจาระเล็ดเปื้อนกางเกง เป็นต้น


การวินิจฉัยอาการท้องผูก

1.ซักประวัติ ตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุว่าเกิดจากโรคทางกายหรือไม่ เพื่อการวางแผนการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

ซึ่งสัญญาณเตือนจากการซักประวัติและตรวจร่างกายที่บ่งบอกถึงท้องผูกจากสาเหตุโรคทางกาย มีดังนี้

- ไม่ถ่ายขี้เทาภายใน 48 ชั่วโมงหลังเกิด

- เริ่มมีอาการถ่ายอุจจาระลำบากในทารกอายุน้อยกว่า 12 เดือน

- ลักษณะอุจจาระเป็นลำเล็ก เหมือนริบบิ้น หรืออุจจาระมีเลือดปนโดยไม่มีแผลฉีกที่ก้น

- คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรค Hirschsprung

- พบอาการร่วมอื่นๆ ได้แก่ ไข้ / อาเจียนปนน้ำดี ท้องอืด / ท้องอืดมาก การเจริญเติบโตล่าช้าผิดปกติ พัฒนาการช้า เป็นต้น

- ประวัติและตรวจร่างกายที่เข้าได้กับภาวะ hypothyroid เช่น ผิวแห้ง พัฒนาการช้า ต่อมไทรอยด์โต

- ผิวหนังหรือบริเวณหลัง ก้น มีความผิดปกติ เช่น กล้ามเนื้อบริเวณก้นแบนหรือไม่เท่ากัน 2 ข้าง  สีผิวหนังผิดปกติ กระจุกขน รอยบุ๋มลึก และกระดูกสันหลังคดงอ

ดังนั้น ถ้าซักประวัติและตรวจร่างกายแล้ววินิจฉัยว่าเป็นโรคท้องผูกไร้โรคทางกายก็ดำเนินการรักษาต่อไป


วิธีการรักษา

หลักการรักษา คือ ให้รับประทานยาระบายอย่างสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง ไม่ควรหยุดยาเอง ซึ่งปัจจุบันยารักษาโรคท้องผูกในเด็กมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง จึงสามารถรับประทานยาต่อเนื่องเป็นเวลานานได้

และนอกจากการรักษาด้วยยาแล้ว ควรฝึกและปรับพฤติกรรมขับถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา บริโภคใยอาหาร ดื่มน้ำให้เพียงพอ และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ


ตาราง ปริมาณผักและผลไม้ที่แนะนำให้บริโภคสำหรับเด็กแต่ละช่วงวัย

ช่วงวัย

ปริมาณ (กรัมต่อวัน)

จำนวนมื้อต่อวัน

ปริมาณ (หน่วยต่อวัน)

6-7 เดือน

ผัก

10

1

½ - 1 ช้อนกินข้าว 

ผลไม้

20

1

1-2 ชิ้น

8-9 เดือน

ผัก
202

1 ช้อนกินข้าว

ผลไม้
40

2-3 ชิ้น

10-12 เดือน

ผัก 

30

2-3 

1-2 ช้อนกินข้าว

ผลไม้

60

3-4 ชิ้น

1-3 ปี

ผัก

40 

2

2-4 ช้อนกินข้าว 

ผลไม้

80-100


1 ส่วน

วัยอนุบาล

ผัก 

50 

2-3

1-1.5 ทัพพี 

ผลไม้

100


1-2 ส่วน

วัยประถม

ผัก 

100 


2-3 ทัพพี

ผลไม้

150


2 ส่วน

วัยมัธยม

ผัก 

150 


3-5 ทัพพี 

ผลไม้

200


3 ส่วน

ผลไม้ 1 ส่วน : เงาะ 4 ผล ฝรั่ง 1/2 ผลกลาง มะม่วงดิบ/สุก 1/2 ผล กล้วยน้ำว้า / ไข่ 1 ผล กล้วยหอม 1/2 ผล สับปะรด /มะละกอลุก 6 ชิ้น แตงโม 3 ชิ้น ชมพู่ 2 ผลใหญ่ ส้มเขียวหวาน 2 ผลกลาง

 


ตาราง  ตัวอย่างปริมาณใยอาหารในผักสด ผลไม้สดและธัญพืชที่นิยมบริโภค

ผัก

ใยอาหาร(กรัมต่อ 100 กรัม)

ผลไม้

ใยอาหาร (กรัมต่อ 100 กรัม)

ธัญพืช

ใยอาหาร

(กรัมต่อ 100 กรัม)

กะหล่ำปลี

1.6

กล้วยน้ำว้า

2.4

ข้าวกล้องสุก

2.0

กะหล่ำดอก

1.9

กล้วยหอม

1.5

ข้าวเจ้าสุก

2.0

แครอท

3.4

เงาะโรงเรียน

1.6

ข้าวโพดหวานต้ม

3.3

ถั่วฝักยาว

3.8

ชมพู่

1.1

ข้าวเหนียวนึ่ง

0.3

ถั่วลันเตา

4.2

แตงโมเนื้อแดง

0.3

ลูกเดือยต้ม

0.8

ปวยเล้ง

2.4

ฝรั่ง

3.7

แมงลักแช่น้ำ

3.1

ผักกวางตุ้ง

2.3

มะขามหวาน

6.7

งาดำคั่ว

15.7

ผักกาดขาว

2.1

มะม่วงเขียวเสวย

3.5

ถั่วเขียวนึ่ง

4.3

ผักคะน้า

2.8

มะม่วงน้ำดอกไม้

1.1

ถั่วเหลืองต้ม

8.3

ผักบุ้งจีน

2.9

ส้มเขียวหวาน

1.6

ถั่วลิสงคั่ว

6.2

แตงกวา

1.0

แอปเปิ้ล

2.2

ข้าวโอ๊ตดิบ

9.9

บร็อคโคลี่

2.3

แก้วมังกรเนื้อสีขาว

1.9

เผือกนึ่ง

3.3

ผักตำลึง

2.4

แก้วมังกรเนื้อชมพู

3.0

มันต่อเผือกนึ่ง

4.1

ผักบ็อกซอย

1.6

มะละกอสุก

1.9

มันเทศสีเหลืองนึ่ง

4.1





Reference

1. Institute of Nutrition, Mahidol University. Thai Food Composition Tables, 2nd ed. 2015. Bangkok: Judthong Co., Ltd;2015. https://inmu2.mahidol.ac.th/thaifcd/home.php

2. แนวทางเวชปฏิบัติ การดูแลรักษาเด็กท้องผูกไร้โรคทางกาย(Clinical Practice Guideline for Functional Constipation) พ.ศ. 2565

3. Jounal of Nutrition Association of Thailand. Vol.55, No. 1, January-June ,2020

4. Walker 6th edition

5. Journal of Nutrition Association of Thailand. Vol.55, No.1, January-June, 2020  ISSN 2630-0060 (Online)



สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม
ศูนย์ตรวจสุขภาพเด็ก โรงพยาบาลเปาโล เกษตร
โทร. 02 1500 900 ต่อ 5121

Line official account : Paolo Hospital Kaset
Line ID :@paolokaset