เก็บยา แบ่งยาอย่างไรให้ถูกวิธี ไม่เสียคุณภาพ
ทุกครั้งก่อนรับประทานยาที่เก็บไว้นานแล้ว หากไม่มีวันหมดอายุแสดงไว้ เราต้องสังเกตลักษณะ สี กลิ่น และรูปลักษณ์ รวมถึงบรรจุภัณฑ์ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่ให้ดีก่อน หากมีการเปลี่ยนแปลงไปก็ไม่ควรรับประทานสำหรับผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังหรือโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง ที่มีความจำเป็นต้องใช้ยาเป็นประจำ แม้ส่วนใหญ่ยาจะยังไม่หมดอายุ แต่ก็ต้องสังเกต และควรจัดเก็บยาให้ถูกวิธี โดยพิจารณาถึงความชื้น อุณหภูมิ สารเคมีที่อยู่ใกล้ แสงแดด และอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของยา นอกจากนี้ การเสื่อมสลายของยาบางอย่างย่อมเกิดได้ทั้งจากตัวยาสำคัญหรือสารช่วยอื่นๆ ในตำรับยา ซึ่งอาจทำให้เกิดสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น
1.ยาแอสไพริน (Aspirin)
ที่ช่วยต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด ต้องระมัดระวังเรื่องความชื้น เนื่องจากความชื้นจะทำให้ยาเกิดการสลายตัวเป็นกรดซาลิไซลิก (Salicylic acid) และกรดอะซิติก (Acetic acid) ที่ส่งผลให้ยาลดประสิทธิภาพลงจนรักษาอาการต่างๆ ไม่ได้ผล และหากผู้รับประทานยาได้รับสารเสื่อมสลายในปริมาณที่สูง อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ ซึ่งเราสามารถสามารถสังเกตความผิดปกตินี้ได้จากกลิ่นเปรี้ยวเหม็นฉุนที่มาจากกรดอะซิติก ซึ่งคล้ายกับกลิ่นน้ำส้มสายชู หากพบว่ามีลักษณะดังกล่าวแสดงว่ายานั้นไม่ปลอดภัยที่จะรับประทาน
2.วิตามินซี หากเกิดการเสื่อมสลายจากความชื้นหรืออุณหภูมิ จะสังเกตเห็นจุดด่างสีน้ำตาลบนเม็ดยา แต่หากเป็นยาอื่นที่ไม่สามารถสังเกตการเสื่อมสลายของเม็ดยา และมีความจำเป็นต้องการพกยาออกไปข้างนอก เพื่อความสะดวกในการใช้และไม่ให้เสื่อมสภาพควรจัดเก็บหรือแบ่งบรรจุยา ดังนี้ไม่ควรแกะยาที่บรรจุแผง หรือแบ่งออกจากกระปุกยา หรือขวดยาที่ผู้ผลิตได้บรรจุมาตั้งแต่แรก แต่หากจำเป็นต้องแกะยาออกจากแผงหรือแบ่งออกจากกระปุกใหญ่ ควรปฏิบัติได้ดังนี้
3.แผงยา
ควรทำการตัดแบ่งแผงยาออกเป็นขนาดย่อยๆ ก่อนบรรจุลงในกล่อง ซองหรือตลับยาที่จัดเตรียมไว้ โดยที่ขอบแผงยาที่ตัดออกแล้วต้องไม่มีส่วนใดฉีกขาดหรือมีรูรั่วถึงส่วนด้านในที่บรรจุเม็ดยาในแผง
4.ยาบรรจุกระปุกใหญ่ หรือแกะยาออกจากแผงลงในภาชนะบรรจุใหม่ ให้พิจารณาใช้ภาชนะที่ปิดแน่น และมีลักษณะทึบแสง เพื่อป้องกันไม่ให้ยาโดนแสงแดด หากไม่มีและจำเป็นต้องแบ่งยา ให้ใช้ภาชนะที่ปิดสนิท เช่น ซองยาหรือตลับยา ซึ่งต้องปิดภาชนะให้สนิทอยู่เสมอ และไม่ควรแบ่งยาเพื่อรับประทานเกิน 1 สัปดาห์ หากพบว่าเม็ดยามีลักษณะที่ผิดปกติหรือเปลี่ยนไปจากเดิม ควรงดรับประทานยาดังกล่าว และปรึกษาเภสัชกร
.png)
Line official account : Paolo Hospital Kaset
Line ID : @paolokasetโรงพยาบาลเปาโล เกษตร
โทร.02-1500-900