30-มิ.ย.-2563

อย่าปล่อยให้เรื่องราวร้ายๆ เกิดขึ้นกับคุณหรือคนครอบครัว ในเมื่อคุณเองป้องกันได้ ….

“โรคหัวใจ” เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในอันดับต้นๆของคนทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทยจากข้อมูลสถิติของ American Heart Association (AHA) พบว่ามีผู้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ถึง 17.3 ล้านคน และคาดว่าในอีก 14 ปีข้างหน้า หรือ ในปีพ.ศ.2573 จะเพิ่มเป็น 23.6 ล้านคน นับว่าเป็นสาเหตุการเจ็บป่วยและมีอัตราการตายเป็นอันดับหนึ่งของสหรัฐอเมริกาและอันดับ 3 ของประเทศไทยเลยทีเดียว

วูบบ่อยๆ เหนื่อยง่าย

เจ็บและแน่นหน้าอก

คุณนิภา อุดมวัฒนพงศ์  หนึ่งในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

“รู้สึกว่าตนเองมีอาการ เหนื่อยง่าย เจ็บและแน่นหน้าอก ใจสั่น เวียนหัว เหงื่อออกมาก และชอบวูบอยู่บ่อยครั้ง ทรมานมาก ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ จึงเข้าพบแพทย์ ทำการตรวจเลือด ,EKG , เดินสายพาน EST โดยคุณหมอสงสัยว่ามีเส้นเลือดหัวใจตีบ จึงได้ทำการสวนหัวใจ ฉีดสี ซึ่งปรากฏว่าเป็น โรคเส้นเลือดหัวใจตีบจริงๆ และเข้ารับการรักษา  ซึ่งปัจจุบันนี้ดิฉันมีอาการดีขึ้นตามลำดับ และไม่ทรมานเหมือนเมื่อก่อนแล้ว”  อ่านเพิ่มเติม

(แพทย์จะพิจารณารักษาด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หากแพทย์ยังสงสัยว่าอาจเป็นโรคหัวใจ แพทย์จะทำการตรวจเพิ่มโดยให้ผู้ป่วยเดินสายพาน หรือใช้วิธีอื่นๆ เช่น การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การตรวจสวนหัวใจ (การฉีดสี) และรักษาด้วยวิธีการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนหรือหากรุนแรงอาจต้องทำการผ่าตัดบายพาส (การผ่าตัดต่อหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ) ซึ่งถ้าผู้ป่วยมาด้วยอาการหัวใจวาย การรักษาจะต้องรีบเปิดหลอดเลือดหัวใจทันที การตัดสินใจเข้ารับการรักษา ยิ่งตัดสินใจเร็วเท่าไร ยิ่งช่วยหัวใจได้มากขึ้นเท่านั้น) อ่านเพิ่มเติม http://www.paolohospital.com/home/heart/cardiac-catheterization/

เครียด พักผ่อนน้อย นอนดึก

แน่นหน้าอก ปวดศีรษะรุนแรง

คุณณรงค์ศักดิ์ บุญชาติ   หนึ่งในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

ขณะกำลังใช้เวลาเดินเล่นช่วงวันหยุด มีอาการคล้ายจะเป็นลม แน่นหน้าอกมาก จึงพักเพื่อให้อาการดีขึ้นและกลับบ้าน วันต่อมามีอาการปวดศีรษะรุนแรง จึงตัดสินใจพบแพทย์ พบว่าความดันโลหิตสูงมาก แพทย์แนะนำให้ตรวจหัวใจเพิ่มเติม พบว่ามีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ต้องนอน ไอ.ซี.ยู 1 คืน แบบไม่คาดคิด พร้อมรับยาละลายลิ่มเลือดต่อประมาณ 5 วัน  ก่อนที่จะฉีดสีสวนหัวใจ ขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด  ตลอดเวลาการรักษารู้สึกได้ว่าการหายใจสะดวก โล่งขึ้นแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เพราะที่ผ่านมาเวลาหายใจเหมือนคนที่คัดแน่นจมูกอยู่ตลอดเวลา” อ่านเพิ่มเติม 

อย่างไรก็ตาม คนที่มีความเสี่ยงมากๆ อย่ากลัว อย่ารอเวลา โดยเฉพาะเรื่องของหัวใจ หากปล่อยทิ้งไว้นาน อาจเกิดเรื่องที่ไม่คาดฝันขึ้นได้

วิดีโอที่เกี่ยวข้อง

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน ศูนย์หัวใจ อาคาร 1 ชั้น 3
โทร.0
-2271-7000 ต่อ 10318-19