โรคไทรอยด์ ที่ดูธรรมดาแต่ความจริง อาจเป็นมะเร็งได้
โรงพยาบาลเปาโลโชคชัย4
19-พ.ค.-2566

หลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินเรื่องราวของ โรคไทรอยด์ มาบ้างเเล้ว แต่ทราบหรือไม่ว่าโรคไทรอยด์บางกลุ่ม อาจเป็น “มะเร็งที่ต่อมไทรอยด์” ดังนั้นเราต้องทำความรู้จักกับต่อมไทรอยด์ และโรคไทรอยด์ผิดปกติให้มากขึ้น เพื่อจะเป็นเเนวทางในการป้องกัน และลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งที่ต่อมไทรอยด์


โรคไทรอยด์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ 

กลุ่มที่ 1 กลุ่มฮอร์โมนไทรอยด์สูงหรือกลุ่มไทรอยด์เป็นพิษ  (Hyperthyroid)

กลุ่มที่ 2 กลุ่มฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ (Hypothyroid)

กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่มีก้อนที่คอ  (เป็นกลุ่มที่มีฮอร์โมนปกติ หรือจะสูงและต่ำก็ได้)


อาการของก้อนที่ต่อมไทรอยด์

1.คลำได้ก้อนที่คอ

2.มีอาการเจ็บก้อนที่คอ

3.มีอาการที่เกิดจากการกดเบียด เช่น การหายใจลำบาก การกลืนติด

4.อาการอื่นๆ จากฮอร์โมนผิดปกติ เช่น ฮอร์โมนสูงจะมีอาการเหนื่อยง่าย ใจสั่น เหงื่อออกมาก หิวบ่อย เครียด นอนไม่หลับ บางรายอาจมีอาการถ่ายอุจจาระวันละ 2-3 ครั้งขึ้นไป

5.อาการที่เกิดจากการทำลายเส้นประสาท เช่น กลืนสำลัก เสียงแห้ง

การวินิจฉัยโรคไทรอยด์

1.ตรวจเลือด TFT ดูค่าฮอร์โมนไทรอยด์

2.U/S หาก้อนไทรอยด์ ต่อมน้ำเหลือง ดูว่าลักษณะก้อนเป็นอย่างไร เเละดูจำนวนก้อน

3.FNA เจาะก้อนเพื่อตรวจเซลล์ ว่ามีความเสี่ยงมะเร็งไทรอยด์หรือไม่

4.Thyroid Scan ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ ซึ่งมักใช้ตรวจในกลุ่มโรคฮอร์โมนไทรอยด์สูง


การรักษาโรคไทรอยด์

โดยทั่วไปจะรักษาโรคไทรอยด์ด้วยการใช้ยา การผ่าตัด หรือการกลืนเเร่ ซึ่งจะเลือกวิธีรักษาตามชนิดและความรุนแรงของอาการที่วินิจฉัยที่ได้ หากมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งไทรอยด์สูงจะพิจารณาเลือกรักษาด้วยการผ่าตัด หรือถ้าผลเลือดผิดปกติและไม่พบมะเร็ง ก็อาจใช้การรักษา ด้วยยา เป็นต้น


“โรคไทรอยด์”
 
รักษาได้ แต่หากปล่อยไว้นานอาจเป็นอันตราย ตรวจก่อน รู้ก่อน เพื่อลดความรุนเเรงของโรค

 


ข้อมูลโดย เเพทย์หญิงใหม่ เลาหสุขเกษม

เเพทย์เฉพาะทาง หู คอ จมูก

คลินิกตา หู คอ จมูก

โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4

โทร.02-514-4141 ต่อ 1100-1101
Line : Paolochokchai4