ตรวจพบถุงน้ำรังไข่ ผ่าตัดวิธีไหนดี
โรงพยาบาลเปาโล
11-ก.พ.-2563
เมื่อตรวจพบถุงน้ำที่รังไข่ จะเลือกผ่าตัดวิธีไหนดี เอ๊ะ! แล้วถ้าไม่อยากผ่าตัด มีวิธีรักษาแบบอื่นให้เลือกอีกไหม เรามาหาคำตอบไปพร้อมกันปวดประจำเดือนรุนแรง ปวดมากขึ้นเรื่อยๆ จนการกินยาบรรเทาปวดก็ไม่ได้ผล! และเมื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดก็พบว่ามี “ถุงน้ำที่รังไข่” ซ่อนอยู่ แบบนี้เราจะต้องรักษาด้วยวิธีไหนถึงจะหาย ถ้าต้องเข้ารับการผ่าตัดล่ะจะน่ากลัวไหม แล้วมีทางเลือกในการผ่าตัดอะไรบ้าง หากคุณกำลังหาคำตอบให้กับคำถามเหล่านี้...นี่คือสิ่งที่คุณควรรู้

เช็คก่อน! ถุงน้ำรังไข่ของคุณ...เป็นถุงน้ำชนิดไหน

ก่อนจะมองหาทางเลือกในการรักษา เราอยากจะบอกว่า... หากถุงน้ำที่รังไข่ของคุณเป็นเพียงถุงน้ำธรรมดาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หรือที่คุณหมอเรียกว่า functional cyst นั้น ไม่จำเป็นต้องรักษาเพราะสามารถยุบหรือฝ่อเองได้ แต่หากในกรณีที่เป็นถุงน้ำผิดปกติ เช่น ช็อกโกแลตซีสต์ กรณีนี้ต้องรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะไม่สามารถหายเองได้

การรักษา “ถุงน้ำรังไข่” มีวิธีอะไรบ้าง

  • การใช้ยา โดยยาที่ใช้จะเป็นยาปรับประจำเดือนหรือยาปรับฮอร์โมน ซึ่งการใช้ยารักษานั้น จำเป็นต้องมีการตรวจติดตามควบคู่ไปด้วย เพื่อแพทย์จะสามารถประเมินอาการเป็นระยะได้ว่ารอยโรคมีการตอบสนองต่อยาดีหรือไม่
  • การผ่าตัด ในกรณีที่การใช้ยาไม่ได้ผล หรือแพทย์ประเมินแล้วว่า ลักษณะของถุงน้ำรังไข่ควรรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดจะถูกพิจารณาเพื่อใช้รักษาและเป็นการนำชิ้นเนื้อออกมาตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม โดยแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ ผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องหรือการผ่าตัดแบบวิธีดั้งเดิม กับการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช ซึ่งเป็นวิธีที่แผลเล็ก เจ็บน้อย และฟื้นตัวไวกว่า ไม่ต้องนอน รพ.หลายวัน

อาการเตือนของ “ถุงน้ำที่รังไข่” มีอะไรบ้าง

  • เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก
  • มะเร็งปากมดลูกระยะต้น
  • มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกระยะต้น
  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก

ข้อดีของการผ่าตัดส่องกล้องนรีเวช

  • รอยแผลขนาดเล็กกว่า โดยขนาดแผลที่เกิดขึ้นจะประมาณ 0.5-1 ซม. 3-4 แผล (ส่วนการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องจะทำให้เกิดรอยแผลที่หน้าท้องยาวประมาณ 10 ซม.)
  • เพราะแผลขนาดเล็กกว่า ทำให้อาการเจ็บปวดแผลหลังผ่าตัดมีน้อยกว่า
  • หลังผ่าตัด 1 วัน คนไข้ก็สามารถลุกเดินได้ และใช้เวลาพักฟื้นในโรงพยาบาลเพียง 1-3 วัน
  • หลังผ่าตัดเพียง 1-2 สัปดาห์ ก็สามารถกลับไปทำงาน หรือใช้ชีวิตได้ตามปกติ
  • โอกาสเกิดพังผืดและภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดมีน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง

หลังรักษาถุงน้ำรังไข่...ยังมีโอกาสเกิดซ้ำได้นะ!

ถุงน้ำรังไข่เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนตามรอบเดือน หลังการรักษา... ถุงน้ำรังไข่จึงยังมีโอกาสเกิดซ้ำได้อีก เพราะรังไข่ยังคงทำงานอยู่ ต้องรอจนกว่ารังไข่จะฝ่อและไม่ผลิตฮอร์โมน การได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องตั้งแต่แรก และได้รับการรักษาด้วยยาหรือผ่าตัดอย่างเหมาะสม ร่วมกับการติดตามอาการจนกว่าจะถึงวัยหมดประจำเดือน จึงเป็นวิธีที่จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดซ้ำของโรคนี้ได้