3 อาการอันตราย...นิ่วในระบบปัสสาวะ
โรงพยาบาลเปาโลรังสิต
07-มิ.ย.-2566
นิ่วในระบบปัสสาวะ หมายถึง ผลึกที่ตกตะกอนในน้ำปัสสาวะจากของเสียในร่างกายที่ถูกขับออกทางเลือดที่ผ่านกรองจากไต ตกมาเป็นน้ำปัสสาวะและละลายเป็นน้ำ แต่เมื่อการตกตะกอนผิดปกติ จะอุดที่ทางเดินปัสสาวะ ได้แก่  ไต กรวยไต ท่อปัสสาวะ   ลักษณะอาการ มีดังนี้ (1) อาการปวด ขึ้นกับตำแหน่งของนิ่ว เช่น อุดที่ท่อไต ปวดท้องร้าวไปหลัง หรือขาหนีบ ปวดเสียดรุนแรง, ถ้านิ่วเคลื่อนลงมาต่ำอุดท่อปัสสาวะจะมีอาการปวดปัสสาวะ ปัสสาวะไม่ออก ปวดเบ่ง เป็นต้น (2) การติดเชื้อ เชื้อโรคจะอยู่ที่นิ่วและมีการกระจายเชื้อเติบโตขึ้น บางรายรุนแรงมากเข้าสู่กระแสเลือด (3) ปัสสาวะเป็นเลือด ลักษณะเหมือนน้ำล้างเนื้อ ถ้าเลือดออกมากอาจเป็นลิ่มปนออกมา มักเป็นร่วมกับการติดเชื้อ หรือเกิดจากนิ่วระคายเคืองเยื่อบุท่อไต   สาเหตุการเกิดโรคยังไม่ทราบแน่ชัดเจน แต่ที่สามารถอธิบายได้ เช่น
  • การดื่มน้ำน้อย - ทำให้ความเข้มข้นของสารตะกอนในน้ำปัสสาวะมากขึ้น จนเกิดการตกตะกอนจับตัวเป็นก้อนนิ่วได้
  • สิ่งแวดล้อมด้านพันธุกรรม - คนไทยที่อาศัยที่ภาคเหนือและภาคอีสาน เกิดนิ่วได้ง่ายกว่าคนภาคอื่น เพราะระบบเผาผลาญ การดูดซึมคัดกรองเกลือแร่ของคนไข้ทำให้มีการตกตะกอนได้ง่ายกว่า
 
รู้หรือไม่ !! นิ่วในระบบปัสสาวะเกิดได้กับหลายอวัยวะ เช่น ไต ท่อไต กรวยไต กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสวาะ โดยส่วนใหญ่อาการจะสัมพันธ์กับตำแหน่งที่เกิดโรค ความสำคัญของการประเมินตำแหน่ง ขนาดและชนิด มีผลต่อการพิจารณาแนวทางการรักษา
 

web-news2

การตรวจปัสสาวะ เจาะเลือดดูการทำงานของไต สำหรับการประเมินวิธีการรักษาต้องตรวจเอกซเรย์ฉีดสี หรืออัลตราซาวด์ที่ไต เพื่อดูตำแหน่ง ขนาด จำนวนและชนิดของนิ่ว

การรักษาทำได้หลายวิธี อาทิ ใช้เครื่องสลายนิ่ว ส่องกล้อง และผ่าตัด การสลายนิ่วด้วยเครื่องสลายนิ่ว (Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy: ESWL) เป็นเครื่องมือชนิดพิเศษที่มีการนำคลื่นเสียงความถี่สูงกระแทกก้อนนิ่วให้แตกเป็นผงหรือเม็ดเล็กๆ และขับออกจากร่างกายโดยระบบทางเดินของปัสสาวะ ด้วยการดื่มน้ำมากๆ จะช่วยให้การขับถ่ายเศษนิ่วเล็กๆ ออกได้ง่ายขึ้น

  การดูแลป้องกันสามารถทำได้ดังนี้
  • ดื่มน้ำให้มาก ทางทฤษฎีถ้าดื่มมากๆ จนทำให้มีน้ำปัสสาวะออกมาอย่างน้อยปริมาณ 2 ลิตร ช่วยป้องกันการเกิดนิ่วซ้ำ หรือการเกิดนิ่วก้อนใหม่ได้บางส่วน แต่ปัจจุบันต้องพิจารณาตามความเหมาะสมกับลักษณะการใช้ชีวิต
  • ดื่มน้ำมะนาว น้ำส้ม น้ำสัปปะรด ช่วยให้การเกิดนิ่วลดลง เพราะน้ำผลไม้เหล่านี้มีซิเตรท ช่วยยับยั้งการเกิดนิ่ว การดื่มน้ำมะนาววันละ 1-2 แก้วต่อวัน ช่วยยับยั้งให้นิ่วโตช้า หรือเกิดซ้ำช้าขึ้น
  • ดูแลด้านอาหาร พิจารณาจากชนิดของนิ่วเป็นหลัก อาทิ เป็นนิ่วกรดยูริก ลักษณะการดูแลตนเองจะคล้ายกับผู้ที่ป่วยด้วยโรคเกาต์ ต้องระมัดระวังอาหารประเภทเครื่องในสัตว์
  ตรวจสุขภาพประจำปี อายุ 30 ปีขึ้นไป ควรตรวจเป็นประจำ เช่น ตรวจปัสสาวะ อัลตราซาวด์ที่ไต โดนเฉพาะผู้ที่มีประวัติเป็นนิ่วในครอบครัว
ปรึกษาปัญหาสุขภาพ โรงพยาบาลเปาโล รังสิต โทร 0-2577-8111 รับข่าวสารและกิจกรรมทางสุขภาพดีๆ ได้ที่ Facebook : โรงพยาบาลเปาโล รังสิต