ไขมัน VS หินปูนในหลอดเลือด หลอดเลือดนั้นมีหน้าที่ลำเลียงเลือดจากหัวใจไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เป็นหน้าที่สำคัญไม่แพ้ส่วนอื่นๆ ของร่างกายเลย เปรียบเหมือนท่อส่งน้ำ ท่อระบายน้ำที่วางเอาไว้ใต้ผังเมืองใหญ่ ลองนึกภาพดูว่า หากวันใดที่หลอดเลือดหรือท้อระบายน้ำหลักของเราไม่ทำงาน เพราะมีสิ่งอุดตันอยู่ข้างในจะเกิดปัญหาอะไรตามมาบ้าง ถ้าเป็นท้อระบายน้ำ เราก็คงเปิดฝาท่อแล้วลอกท่อก็สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้แล้ว แต่หลอดเลืดของเราไม่สามารถทำแบบนั้นได้ ทำให้ปัญหาเรื่องสุขภาพเกี่ยวกับหลอดเลือดไม่ใช่เรื่องที่ควรละเลย
ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือด- กรรมพันธุ์ : หากคนในครอบครัวสายตรง เช่น พ่อ แม่ ปู่ ย่า มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือด เราเองก็มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเช่นกัน
- อายุ : ความเสี่ยงเรื่องสุขภาพมักมากตามอายุ เพราะร่างกายของเราเสื่อมสภาพตามอายุที่เพิ่มขึ้น
- เพศ : เพศชาย เป็นเพศที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือกมากกว่าเพศหญิง เนื่องด้วยปัจจัยเสี่ยงที่มากับการใช้ชีวิตประจำวัน
- การสูบบุหรี่ : สารในบุหรี่นั้นเป็นตัวเร่งให้เซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือดเสื่อมเร็วขึ้น
- บริโภคอาหารที่มีไขมัน : อาหารที่มีไขมันสูงนั้นจะมี LDL สูงซึ่งเป็นตัวชี้วัดปริมาณไขมันในหลอดเลือดว่าสูงมากแค่ไหน
อาการของโรคหลอดเลือดที่พบนั้นในระยะแรกเริ่มมักไม่พบอาการที่สังเกตได้ง่าย หากไม่ตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอแล้ว เรามักจะพบอาการในระยะที่โรคลุกลามแล้ว โดยอาการที่พบว่าส่วนใหญ่ มีดังนี้
- เจ็บหน้าอก บางรายลุกลามไปถึงแขนซ้ายและคาง
- เหนื่อยง่าย
- ใจสั่น หายใจหอบ
- เหงื่อออกเยอะผิดปกติ หรือมากกว่าปกติ
- บางรายร้ายแรงถึงขั้น หมดสติและหัวใจหยุดเต้น
ตัวการสำคัญของโรคหลอดเลือดหัวใจนั้นคือเกิดไขมันและหินปูนอุดตันในเส้นเลือด ขัดขวางการลำเลียงเลือดไปสู่อวัยวะอื่นๆ และยังเป็นสาเหตุของโรคอื่นๆ อีกมากมาย อาทิ ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคไต เป็นต้น
- ไขมันตัวร้ายในหลอดเลือด เกิดจากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งการพฤติกรรมการใช้ชีวิต การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง และอายุที่มากขึ้น ทำให้เกิดไขมันอุดตันในหลอดเลือด ทำให้ขนาดของหลอดเลือดแคบลงและตีบตันในที่สุด
- หินปูนจอมทำลายหลอดเลือด เกิดจากความเสื่อมของแคลเซียมในหลอดเลือดที่เกาะผนังทำให้จนหนาตัวมากขึ้น ขัดขวางการไหลเวียนของเลือดไปสู่อวัยวะต่างๆ ได้เช่นเดียวกับไขมัน
หากโรคหลอดเลือดไม่สามารถสังเกตได้ในระยะเริ่มแรก แต่เราสามารถรู้ทันโรคได้ ด้วยการตรวจสุขภาพ
การตรวจเช็กสุขภาพของหลอดเลือด ตรวจเลือดหาค่าไขมัน โดยมี 4 ตัวที่ต้องเพิ่มเข้าลิสต์รายการตรวจสุขภาพประจำทุกครั้งเพื่อตรวจเช็กค่าของไขมันในเลือด ได้แก่ คอลเลสตอรอล , ไตกรีเซอร์ไร , HDL , LDL ตรวจปริมาณไขมันที่อยู่ในเลือดมีความเสี่ยงต่อโรคมากน้อยเพียงใด
CT Calcium Score เป็นการตรวจหาปริมาณหินปูนในหลอดเลือดด้วยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โดยวัดค่าหินปูนออกมาเป็นค่าตัวเลขที่ใช้เพื่อประเมินความเสี่ยงของโรค ดังนี้
- ระดับ 0 ความเสี่ยงอยู่ในระดับต่ำ
- ระดับ 1-10 มีหินปูนเล็กน้อย ความเสี่ยงต่อโรคอยู่ระดับประมาณ 10%
- ระดับ 11- 100 มีปริมาณหินปูนไม่มาก มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดในระดับปานกลาง สามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยการปรับลดพฤติกรรมบางอย่าง เช่น ออกกำลังกายมากขึ้น ควบคุอาหาร
- ระดับ 101 – 400 มีปริมาณหินปูนในระดับปานกลาง ไปจนถึงสูง ควรเข้ารับการรักษาและรับคำแนะนำการดูแลตัวเองจากแพทย์เพื่อลดความเสี่ยง
- ระดับ 400 ขึ้นไป อยู่ในภาวะวิกฤตที่จำเป็นเข้ารับการรักษาโดยเร็ว เพราะอาจมีภาวะหลอดเลือดตีบและโรคหัวใจ
ไม่ว่าจะเป็นไขมันหรือหินปูนนั้นก็ล้วนเป็นตัวร้ายสำหรับหลอดเลือดทั้งนั้น เพราะเป็นตัวการของโรคหลอดเลือด และโรคอื่นๆ อีกมากมาย การดูแลตัวเองตั้งพฤติกรรมการบริโภค และการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้เรารู้ทันโรคร้ายภัยเงียบนี้ได้อย่างทันท่วงที
ขอบคุณบทความดีๆ จาก
พญ. มนธวัล เวชอนันนุรักษ์
แพทย์เฉพาะทาง อายุรศาสตร์โรคหัวใจ (Cadiology Medicine)
ประจำโรงพยาบาลเปาโล รังสิต
ปรึกษาปัญหาสุขภาพ
โรงพยาบาลเปาโล รังสิต โทร 0-2577-8111 ต่อ 2 หรือ 1772
รับข่าวสารและกิจกรรมทางสุขภาพดีๆ ได้ที่
Facebook : โรงพยาบาลเปาโล รังสิต