ปรับพฤติกรรม ก็ลดความเสี่ยงโรคริดสีดวงทวารได้
โรงพยาบาลเปาโลรังสิต
30-พ.ย.-2566
ปรับพฤติกรรม ก็ลดความเสี่ยงโรคริดสีดวงทวารได้

          ริดสีดวงทวารนั้นเกิดจาก เส้นเลือดดำบริเวณทวาร หรือส่วนปลายของลำไส้ใหญ่ เกิดอาการบวมพองยื่นนูนออกมา ซึ่งสาเหตุของการเกิดนั้น มีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดริดสีดวง แต่ก็ไม่ต้องกังวลไปเพราะการเกิดริดสีดวงนั้นบริเวณของรอยโรคนั้นจะเกิดอย่างช้าๆ มีระยะเวลาแสดงอาการพอสมควร หากเราเฝ้าสังเกตอาการและรู้ทันก่อนโรคลุกลาม ก็สามารถรักษาหาย ลดความเสี่ยงได้เช่นกัน

แค่ปรับพฤติกรรมก็ลดเสี่ยงได้
  1. ทานไฟเบอร์ พบมากในผัก ผลไม้ประเภทแครอท บล็อคโคลี กล้วยน้ำว้า มะละกอ มะขาม ลูกพรุน ส้มและถั่วเป็นต้น เพราะผักหรือผลไม้ที่มีกากใยนั้นดีต่อระบบขับถ่าย
  2. การขับถ่ายในทุกเช้า ร่างกายของเรานั้นมีเวลาในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นใช้เวลานอนหลับที่เพียงพอในแต่ละวัน การขับถ่ายก็เช่นกัน เราจึงควรพยายามขับถ่ายให้เป็นในช่วงเช้า เพื่อฝึกฝนร่างกายให้มีระเบียบวินัยในการใช้ชีวิต
  3. เปลี่ยนอิริยาบถ การนั่งนานๆ เป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นริดสีดวงทวารโดยไม่รู้ตัว แต่เราสามารถแก้ได้ด้วยการสลับกันลุกเดินบ้าง เพราะการนั่งนานๆ นั้นเพิ่มโอกาสให้เลือดคั่งบริเวณทวารหรือก้น จนเส้นเลือดเกิดการโป่งเกิดเป็นเส้นเลือด
  4. ดื่มน้ำตามปริมาณที่ร่างกายต้องการ หากเราดื่มน้ำน้อยเกินไป ลำไส้จะไม่มีน้ำเพียงพอไปขับของเสียออกจากร่างกาย
สาเหตุการเกิดปัจจัยริดสีดวงทวาร
  1. ท้องผูกบ่อย ท้องเสียเรื้อรัง ไม่ว่าเราจะมีพฤติกรรมอย่างไรที่ทำให้เกิดท้องผูกบ่อยๆ ทำให้เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดริดสีดวงได้
  2. นั่งถ่ายอุจาระนานๆ อย่างที่กล่าวไปในส่วนของพฤติกรรมเสี่ยง ว่าการนั่งนานๆ ทำให้เลือดมีโอกาสไปคั่งบริเวณก้นหรือทวารหนักได้ ฉะนั้นการนั่งนานๆ จึงเป็นพฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง
  3. อายุที่เพิ่มขึ้น เป็นอีกสาเหตุ เมื่อร่างกายนั้นอายุมากขึ้น อวัยวะต่างๆ ก็เสื่อมสภาพตามวัย
  4. การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก ทำให้เส้นเลือดบริเวณทวารหนักนั้นได้รับการเสียดสี จนบางครั้งเกิดอาการบวมพอง เลือดคั่งก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุได้เช่นกัน

ปรับพฤติกรรม ก็ลดความเสี่ยงโรคริดสีดวงได้


อาการแบบไหนที่ควรระวัง
  1. เกิดอาการเจ็บบริเวณทวารหนัก
  2. มีอาการคันบริเวณทวารหนัก
  3. มีก้อนนูนออกมาขณะอุจจาระ บางครั้งก็หายไปเอง แต่บางครั้งก็ยังมีอยู่ มีอาการบวม อักเสบ บางครั้งทำให้นั่งไม่สะดวก
  4. มีเลือดออกขณะอุจจาระ

การรักษาริดสีดวงทวารหนักนั้นสามารถทำได้หลายวิธี อยู่กับอาการและแพทย์วินิจฉัย
  1. การเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต หลีกเลี่ยงการกระทำต่างๆ ที่สร้างความเสี่ยงให้เกิดโรค ไม่ว่าจะเป็นการกิน การนั่งนานๆ การเล่นมือถือขณะขับถ่าย
  2. การนั่งแช่น้ำอุ่น จะช่วยลดการอักเสบ กระตุ้นให้เส้นเลือดหดตัว โดยให้นั่งแช่น้ำอุ่นเอาไว้ประมาณ 10-15 นาที โดยทำก่อนและหลังอุจจาระ หรือมีอาการ
  3. การใช้ยา ไม่ว่าจะเป็นการทาน ฉีดยา หรือใช้ยาเหน็บเพื่อรักษาตามอาการ ลดอาการปวด บวด อักเสบ
  4. การจี้ริดสีดวงออก วิธีนี้ทำได้เมื่อแพทย์วินิจฉัยแล้วเท่านั้น เพราะลักษณะขอริดสีดวงของแต่ละคนที่เกิดขึ้นนั้นแตกต่างกันออกไป
  5. การใช้หนังยางรัด โดยวิธีนี้ต้องผ่านการวินิจฉัยและแนะนำจากแพทย์เท่านั้น เพราะวิธีการใช้ยางรัดนั้นใช้ได้กับริดสีดวงที่มีลักษณะยื่นออกมาจาก ทวารหนัก โดยจะใช้หนังยางรัดเพื่อให้ริดสีดวงนั้นฝ่อตัวและหลุดออกมาเอง
  6. การผ่าตัดริดสีดวงนั้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีริดสีดวงขนาดใหญ่ เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิต ซึ่งก้อนริดสีดวงนั้นจะมีขนาดใหญ่ มีอาการบวม อักเสบอยู่บ่อยครั้ง

          เราจะเห็นได้ว่าริดสีดวงนั้นเกิดพฤติกรรมที่เราสามารถปรับเปลี่ยนได้ และระยะของการเกิดโรคมีระยะเวลาให้เฝ้าสังเกต ดังนั้นหากพบความผิดปกติ ไม่ควรปล่อยทิ้งเอาไว้นาน ควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อรักษาในระยะเริ่มต้นจะมีผลดีกว่า ทั้งเรื่องการรักษา ค่าใช้จ่าย การลุกลามของโรค


ขอบคุณบทความโดย
นพ. ปัญญา วงศ์จินดาพรรณ
ศัลยแพทย์
โรงพยาบาลเปาโล รังสิต


โปรแกรมผ่าตัด Paolo Life


ปรึกษาปัญหาสุขภาพ
โรงพยาบาลเปาโล รังสิต
โทร 0-2577-8111 ต่อ 2 หรือ 1772

รับข่าวสารและกิจกรรมทางสุขภาพดีๆ ได้ที่
Facebook : โรงพยาบาลเปาโล รังสิต

เพิ่มเพื่อน