PANIC  โรคแพนิค ใคร ๆ ก็เสี่ยงเป็นได้
โรงพยาบาลเปาโลเกษตร
02-เม.ย.-2567

PANIC DISORDER


โรคแพนิค (Panic Disorder) หรือโรคตื่นตระหนก เป็นโรควิตกกังวลอีกประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นจากระบบประสาทอัตโนมัติ (Automatic Nervous System) ทำงานผิดปกติ ซึ่งระบบประสาทนี้เป็นระบบที่ควบคุมการทำงานของร่างกายหลายส่วน จึงทำให้เกิดอาการหลายอย่างร่วมกัน เช่น

 หัวใจเต้นเร็ว
 เหงื่อออกมาก
 ท้องไส้ปั่นป่วน
 วิงเวียน
ซึ่งอาการจะเกิดขึ้นแบบฉับพลันถึงแม้ว่าจะไม่มีสาเหตุหรือมีเรื่องให้ต้องตกใจ ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกกลัว ตื่นตระหนกเป็นอย่างมาก ไม่กล้าออกไปไหน หมกมุ่นเรื่องสุขภาพ จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

อาการของโรคแพนิค
 หัวใจเต้นแรง ตัวสั่น
 ใจสั่น แน่นหน้าอก
 หายใจหอบ หายใจถี่
 เหงื่อออกมาก เหงื่อแตก
 ท้องไส้ปั่นป่วน
 วิงเวียนศีรษะ คล้ายจะเป็นลม
 รู้สึกหวาดกลัวไปหมดทุกอย่าง
 มือสั่น เท้าสั่น
 ตัวชา ควบคุมตัวเองไม่ได้

Panic แพนิก


สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคแพนิค
  อาจเกิดจากสมองส่วนควบคุมความกลัวที่เรียกว่า “อะมิกดาลา” (Amygdala) ทำงานผิดปกติ
 กรรมพันธุ์ กรณีที่มีญาติหรือประวัติครอบครัวเป็นโรคแพนิค มีแนวโน้มเป็นได้มากกว่า
 การใช้สารเสพติด
 ความผิดปกติของฮอร์โมน ที่อาจทำให้สารเคมีในสมองเสียสมดุลได้
 เคยผ่านเหตุการณ์เลวร้ายในชีวิต
 พฤติกรรมต่าง ๆ ที่เป็นตัวกระตุ้น  เช่น ทำงานกับคอมพิวเตอร์และมือถือนาน ๆ ต้องเผชิญกับความกดดัน อยู่ในสถานการณ์ที่เร่งรีบ เครียดวิตกกังวล ไม่ออกกำลังกาย พักผ่อนน้อย
 เครียดสะสม เกิดจากการใช้ชีวิตที่เคร่งเครียด อยู่ในสภวะที่กดดันเป็นประจำ

รักษาอาการโรคแพนิค
         โรคแพนิคสามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยา เพื่อปรับสมดุลของสารเคมีในสมองที่ผิดปกติ หรือการตรวจเลือดหาสาเหตุที่เกิดทางด้านร่างกาย เพื่อการรักษาที่ได้ผลดีจึงจำเป็นจะต้องมีการรักษาทางจิตใจควบคู่ไปด้วย ปรับพฤติกรรมและแนวคิดของผู้ป่วย รวมไปถึงคนรอบข้าง คนใกล้ชิด ก็ควรที่จะทำความเข้าใจกับโรคนี้และให้กำลังใจผู้ป่วย

        การฝึกการหายใจเพื่อควบคุมสติ เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่สามารถช่วยลดความเครียด ความกังวลใจ ความวิตกกังวล ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยสามารถทำได้ด้วยตนเอง และผู้ป่วยควรอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ผ่อนคลายจากความเครียด รับประทานอาหาร พักผ่อนให้เพียงพอ และอาจหลีกเลี่ยงการใช้ชีวิตประจำวันด้วยความเร่งรีบ รวมไปถึงการใช้เวลาอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือมากเกินไป

        ถึงแม้ว่าโรคนี้จะไม่รุนแรง หรือเป็นอันตรายต่อชีวิต แต่อาการของโรคอาจจะไปเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพร้ายแรงอื่น ๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคระบบหลอดเลือดหัวใจ และหัวใจวายเฉียบพลัน ดังนั้น หากสงสัยว่ามีอาการของโรคแพนิค แนะนำให้ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด


📚บทความสุขภาพ📚
📖ภาวะแทรกซ้อนที่มากับโรคเบาหวาน
📖ผู้สูงอายุ ไม่ควรละเลยการตรวจสุขภาพ
📖รู้ทัน ป้องกันโรคข้อเสื่อม และโรคกระดูกพรุน
📖 โรคกระดูกพรุน 
📖เช็ก ! อาการปวดหัวโรคไมเกรน 


พญ.สุพรทิพย์ ขจิตวัฒนกุล



สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม
แผนก อายุรกรรม โรงพยาบาลเปาโล เกษตร
โทร. 02 1500 900 ต่อ 5113
Facebook : โรงพยาบาลเปาโล เกษตร
Line official account : Paolo Hospital Kaset
Line ID : @paolokaset