-

แพทย์หญิง กมลลักษณ์ อนันต์นิธิวุฒิ

แพทย์ประจำสาขากุมารเวชทั่วไป

วุฒิบัตร

กุมารเวชกรรม
วัน เวลา
จันทร์ 07:00 - 16:00
อังคาร 07:00 - 16:00
พุธ 07:00 - 16:00
พฤหัสบดี 07:00 - 16:00
ศุกร์ 07:00 - 16:00

พญ.กมลลักษณ์ อนันต์นิธิวุฒิ

กุมารแพทย์
รพ.เปาโล สมุทรปราการ

การศึกษา

  • แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต
  • วุฒิบัตรกุมารแพทย์ โรงพยาบาลศูนย์ชลบุรี

"การช่วยชีวิตเด็กแรกเกิด ต้องอาศัยความรวดเร็ว เพราะทุกนาทีนั้นมีความหมาย อย่างถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง หมอก็จะเตรียมรอรับเด็กตั้งแต่แรกคลอดเลย หากเด็กไม่หายใจหรือมีปัญหาอะไรจะได้พร้อมช่วยทันที สำหรับเคสทั่วไป การตรวจสุขภาพเด็กตั้งแต่แรกเกิดจะช่วยให้พบปัญหาได้เร็ว และรักษาได้ทันท่วงที"

ก่อนที่ พญ.กมลลักษณ์ อนันต์นิธิวุฒิ จะเข้าศึกษาในคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต นั้น คุณหมอได้ศึกษาในภาควิชาเทคนิคการแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาก่อน ทั้งยังได้เรียนที่คณะมนุษยศาสตร์ เอกวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่อเสริมทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษกับคนทั่วไปและกับคนไข้อีกด้วย

ชีวิตเริ่มต้นการเป็นแพทย์นั้น คุณหมอกมลลักษณ์ เป็นคุณหมออยู่ที่โรงพยาบาลศูนย์ชลบุรี ซึ่งเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ จึงมีเคสยากๆ ให้ได้ทำการรักษาและสั่งสมประสบการณ์ ซึ่งที่นี่เองคุณหมอได้ศึกษาต่อในสาขากุมารเวชศาสตร์ และได้ดูแลคนไข้เด็ก ตั้งแต่การรับเด็กแรกเกิด การใส่ท่อช่วยหายใจ ใส่สายทางสะดือเพื่อให้ยา การกู้ชีพเด็กทารก และการรักษาโรคทั่วไปทั้งในเด็กเล็กเด็กโต ไม่ว่าจะเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจ โรคปอด โรคภูมิแพ้ และโรคติดเชื้อต่างๆ

"หมอจะดูแลเด็กในโรคทั่วไป โดยเด็กแรกเกิด หมอจะตรวจว่าเขาปกติดีไหม มีอาการหรือมีโรคอะไรหรือไม่ เพราะเด็กเล็กๆ นั้น เขายังบอกอาการของตัวเองไม่ได้ เราต้องเป็นฝ่ายที่ไปดู ดูตั้งแต่หัวจรดเท้าเลย สังเกตตั้งแต่เสียงร้อง สีผิว การเคลื่อนไหว การขยับแขนขา และที่สำคัญคือตรวจหาภาวะหนักๆ ที่ซ่อนอยู่ เช่น หัวใจเต้นปกติไหม ต้องการความช่วยเหลือหรือไม่ ก่อนที่จะย้ายไปดูแลต่อที่ศูนย์ดูแลเด็กแรกเกิด ซึ่งก็ต้องทำอีกหลายขั้นตอน เช่น เช็ดตัว ชั่งน้ำหนัก วัดรอบศีรษะ ตรวจร่างกาย คัดกรองโรคหัวใจ ตรวจปอด ตรวจท้อง แต่ละวันก็จะต้องมีการวัดสัญญาณชีพ ดูปริมาณปัสสาวะ ต่อมาก็ต้องดูเรื่องการกินว่าเหมาะสมไหม จะตรวจค่าสีผิวเหลืองโดยใช้เครื่องมือยิงผิว ซึ่งอาการตัวเหลืองอาจจะเกิดกินไม่พอ จากกรุ๊ปเลือดของแม่กับลูกไม่ตรงกัน หรือเกิดจากโรคพร่องเอนไซม์จีซิกพีดี ก็ได้ ในทุกเคสก็จะดูแลจนกว่าเขาพร้อมที่จะกลับบ้านกับคุณพ่อคุณแม่ หลังจากนั้นจะมีการนัดตรวจร่างกาย คัดกรองพัฒนาการว่าไปเป็นตามเกณฑ์หรือเปล่า มีฉีดวัคซีนตามช่วงอายุ ตรวจดูความเสี่ยงโรคต่างๆ เพื่อจะได้ป้องกันและรักษาในทันทีที่พบ"

เด็กภูมิคุ้มกันดีด้วยการดื่มนมแม่

นอกจากการตรวจสุขภาพให้กับเด็กแล้ว ในแต่ละวันที่คุณหมอไปเยี่ยมคุณแม่แรกคลอด ก็จะดูแลเรื่องการให้นมบุตรด้วย โดยคุณแม่มือใหม่จะมีพยาบาลช่วยฝึกการเข้าเต้า คุณหมอจะแนะนำเรื่องการดื่มนมแม่ เพราะนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก ทั้งย่อยง่าย สารอาหารครบ มีภูมิคุ้มกันที่ดี และในเวลาที่ลูกได้เข้าเต้าคุณแม่ก็จะมีการหลั่งฮอร์โมนต่างๆ รวมถึงฮอร์โมนของความรัก การที่ลูกดื่มนมแม่เป็นประจำยังช่วยให้คุณแม่ลดน้ำหนักให้กลับมาอยู่ในระดับปกติได้เร็วขึ้นอีกด้วย

อัปเดตความรู้ใหม่เพื่อใช้ปฏิบัติการในการรักษา

ด้วยความรู้ทางการแพทย์นั้นมีการพัฒนาอยู่เสมอ และในปัจจุบันมีช่องทางให้ได้ศึกษาหาความรู้ทางอินเทอร์เน็ตที่สะดวกสบาย คุณหมอบอกว่า

ในกรณีคนไข้เคยเปลี่ยนข้อกระดูกมานานกว่า 10-20 ปี จนเกิดความเสื่อมตามอายุการใช้งาน หากคุณหมอจำเป็นต้องรื้อทิ้งแล้วเปลี่ยนข้อเข่าใหม่ คุณหมอบอกว่า "หมอจะอ่านข่าวสาร ศึกษางานวิชาการ และอัปเดตงานวิจัยใหม่ๆ อยู่เสมอ ทั้งเรื่องนวัตกรรม การรายงานผลดีผลเสียของยาที่ผ่านมาในอดีต และคุณสมบัติของยาใหม่ๆ หมอคิดว่าความรู้ที่เพิ่มขึ้นจะทำให้เราดูแลรักษาคนไข้ได้ดียิ่งขึ้น" ทั้งนี้ คุณหมอยังได้เข้าร่วมการอบรมปฏิบัติการวิชาการ ในเรื่องวิธีการช่วยชีวิตขั้นสูงสำหรับเด็กโต (Pediatric advance life support) เพื่อทบทวนและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ในทุกๆ 2 ปี และสำหรับเด็กทารกแรกเกิด (Neonatal Resuscitation) ในทุกๆ 5 ปี อีกด้วย

"จริงๆ แล้วในการรักษา เราต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ ซึ่งจะว่าตามทฤษฎีจากหนังสืออย่างเดียวบางทีไม่ได้ เราต้องปรับให้เหมาะกับคนไข้ ดูปัญหาพื้นฐานและข้อจำกัดต่างๆ ประกอบด้วย หมอจะหาวิธีที่ดีที่สุด และปรับการรักษาให้เหมาะกับคนไข้มากที่สุด" คุณหมอกล่าวทิ้งท้าย