-
โรคงูสวัด...ภาวะอันตรายเมื่อร่างกายอ่อนแอ
โรคงูสวัด (Herpes Zoster) เป็นโรคทางผิวหนังชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่เรียกว่า Varicella Zoster Virus หรือ VZV ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส (Chickenpox) หากติดเชื้อตัวนี้ในเด็กจะทำให้เกิดโรคที่เคยได้ยินกันมาอย่าง “อีสุกอีใส” ซึ่งเมื่อหายจากโรคนี้แล้ว เชื้อที่ได้รับจะยังไม่หายไปแต่จะแฝงตัวอยู่ในร่างกาย รอวันที่ร่างกายอ่อนแอลงหรือภูมิค้มกันต่ำลง อาการจะกำเริบขึ้นมาอีกครั้ง
เป็นโรคหัวใจ...สิ่งไหนบ้างไม่ควรกิน?
ในผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ การเอาใจใส่ในเรื่องของอาหารการกินนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากสารอาหารที่ร่างกายได้รับนั้นล้วนมาจากการบริโภคอาหารของเราทั้งสิ้น หากได้รับสารอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ก็อาจส่งผลให้มีสภาพร่างกายแย่ลง และเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้
ปวดเข่าอย่างนี้..เป็นเพราะอะไร
สาเหตุของข้อเข่าที่เสื่อมลง อาจเกิดได้จากอายุที่เพิ่มขึ้นหรือข้อเข่ามีการรับน้ำหนักมากเกินไปหรือมีการบาดเจ็บ ทำให้กระดูกอ่อนตรงผิวข้อต่อสึกกร่อนและมีกระดูกงอกเพราะมีหินปูนมาเกาะขรุขระ เวลาเคลื่อนไหวข้อจึงทำให้เกิดอาการปวดในข้อ นอกจากนี้อาจมีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ น้ำหนักมาก ข้อที่เป็นได้บ่อย มักเป็นข้อที่รับน้ำหนักมาก ได้แก่ ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อกระดูกสันหลัง ข้อกระดูกคอ
กินหมูดิบ เสี่ยงพบโรคไข้หูดับไม่รู้ตัว!
โรคไข้หูดับมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ สเตรฟโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus Suis) จากการรับประทานอาหารที่มีเนื้อหรือเลือดหมูแบบดิบและกึ่งสุกกึ่งดิบ หรือผู้ที่ใช้อุปกรณ์ที่สัมผัสกับเนื้อหมูดิบร่วมการรับประทานอาหารโดยตรง รวมถึงการสัมผัสเนื้อหมูที่มีเชื้อผ่านทางบาดแผลหรือเยื่อบุตา หรือไปสัมผัสสารคัดหลั่งของหมู เช่น น้ำลาย ก็สามารถทำให้ติดเชื้อไวรัสสเตรฟโตคอกคัส ซูอิสที่ก่อให้เกิดโรคหูดับได้
ต่อมทอนซิลอักเสบ...ภัยเรื้อรังที่มากกว่าอาการเจ็บคอ
ต่อมทอนซิลอักเสบ หรือ Tonsillitis คือ ภาวะที่ต่อมทอนซิลเกิดการอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย โดยแต่เดิมหน้าที่ของต่อมทอนซิลจะเป็นการดักจับและกำจัดเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางระบบทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร แต่หากเกิดการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียเข้า ประสิทธิภาพในการคัดกรองเชื้อโรคก็จะลดลง ทำให้เกิดการสะสมของเชื้อไวรัสและแบคทีเรียจนทำให้ต่อมทอนซิลเกิดอาการบวมและอักเสบ
อาการปวดคอ...อาการทั่วไปที่หลายคนละเลยจนเป็นเรื้อรัง
อาการปวดคอ เป็นอาการที่พบได้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะผู้คนที่มีพฤติกรรมนั่งทำงานอนู่ท่าเดิมเป็นระยะเวลานาน โดยไม่ได้มีการลุกเคลื่อนไหวร่างกาย และหากปล่อยไว้จนอาการปวดคอเข้าสู่ระยะที่รุนแรง คือ รู้สึกปวดร้าวไปยังอวัยวะต่างๆ อาจเป็นสัญญาณของหมอนรองกระดูกสันหลังบริเวณต้นคอเสื่อมแล้วเคลื่อนไปกดทับเส้นประสาทหรือไขสันหลัง ทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพในอนาคตได้
ทำความรู้จักภาวะกระดูกพรุน...โรคที่ใครหลายคนมองข้าม
ภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis) เป็นภาวะที่ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดน้อยลงจนทำให้กระดูกมีความเปราะบางส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการแตกหักได้ง่าย โดยปกติกระดูกจะประกอบไปด้วยเซลล์สร้างกระดูก (Osteoblast) ที่ทำหน้าที่สร้างเซลล์กระดูกขึ้นมาใหม่ตามกระบวกการเติบโตของร่างกาย และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอจากแคลเซียมและโปรตีน และเซลล์สลายกระดูก (Osteoclast) ที่ทำหน้าที่สร้างสลายเนื้อกระดูกเก่า หากเกิดการสลายตัวของกระดูกเร็วกว่าการสร้างกระดูกก็จะทำให้เกิด “ภาวะกระดูกพรุน”
โรคอ้วน...ต้นเหตุของปัญหาสุขภาพเรื้อรัง
โรคอ้วน (Obesity) คือ ภาวะที่ร่างกายมีสัดส่วนของไขมันมากเกินกว่าปกติ ทำให้ร่างกายเกิดการสะสมพลังงานที่เหลือเอาไว้ในรูปของไขมันตามอวัยวะต่างๆ ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ตามมาได้หากปล่อยไว้นานเข้า
ดูแลตัวเองอย่างไร...ให้ปลอดภัยในช่วงหน้าฝน
การดูแลและป้องกันตัวเองให้ห่างไกลเชื้อโรคในช่วงหน้าฝน สามารถทำได้โดยการรักษาความสะอาดส่วนตัว ป้องกันการถูกยุงกัด และระมัดระวังการบริโภคอาหารและน้ำที่สะอาด
พัฒนาการให้เด็กเก่งรอบด้าน
อาการไหนที่บ่งบอกว่าใช่ “ภาวะไส้เลื่อน”
ไส้เลื่อน (hernia) เป็นภาวะที่ลำไส้หรืออวัยวะในช่องท้องบางส่วนเลื่อนตัวออกมานอกช่องท้อง ผ่านผนังช่องท้องที่บอบบางหรืออ่อนแอ โดยตำแหน่งที่มักพบไส้เลื่อนได้บ่อย คือ บริเวณขาหนีบ สะดือ กระบังลม ผนังหน้าท้อง หรือแผลผ่าตัด โดยจะสังเกตเห็นเป็นลักษณะก้อนๆ ตุง นูนออกมาจากอวัยวะที่ไส้เลื่อน ซึ่งหากปล่อยไว้อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้
โรคปอดบวม...ภัยร้ายใกล้ตัวเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าระวัง
เชื้อนิวโมคอคคัสเป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคปอดบวมหรือปอดอักเสบได้ โดยเชื้อตัวนี้มักอาศัยอยู่ในโพรงจมูกและลำคอของเด็ก ในประเทศไทยมีสายพันธุ์ที่พบบ่อยอยู่ 13 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่พบบ่อยมากขึ้นเรื่อยๆ คือ สายพันธุ์ 19A ทั้งยังมีการรักษาที่ยากขึ้นเนื่องจากมีอาการดื้อยา
"ไวรัสตับอักเสบ" ตัวร้าย ทำลายตับ
4 โรคยอดฮิตในเด็ก ที่มากับหน้าฝน
ในฤดูฝน เมื่อฝนตกอากาศก็จะเย็นลง แถมยังมีความชื้นสูง ทำให้เชื้อโรคหลายชนิดเจริญเติบโตได้ดี คุณพ่อคุณแม่จึงควรเตรียมพร้อมปกป้องลูกน้อยให้ห่างไกลจากโรคติดเชื้อเหล่านี้
ตรวจคัดกรองโรคร้ายได้ด้วยการ “ตรวจสารบ่งชี้มะเร็ง”
การตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็ง เป็นการตรวจหาสารที่ผลิตจากเซลล์มะเร็ง โดยใช้วิธีการตรวจเลือด และสารคัดหลั่งอื่นๆ ตามชนิดของมะเร็งนั้นๆ เพื่อนำไปตรวจหาค่าความผิดปกติภายในร่างกาย
ผ่าตัดผ่านกล้องโรคทางนรีเวช...ทางเลือกที่เข้าใจผู้หญิง
ในปัจจุบันเรื่องความสวยความงามสำหรับผู้หญิงนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งนวัตกรรมการรักษาโรคทางนรีเวชก็วิธีที่สามารถรักษาโรคและคงความสวยความงามของคุณผู้หญิงได้ หรือที่เราเรียกว่า "การผ่าตัดผ่านกล้องโรคทางนรีเวช"
วินิจฉัยความเสี่ยงของหัวใจให้ปลอดภัย...ด้วยการตรวจ EST
อาการเจ็บหน้าอกที่มักเกิดขึ้นตอนที่ร่างกายกำลังได้ใช้กำลัง อาจบ่งบอกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นจาก “โรคหัวใจ” ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มโรคที่มักไม่แสดงอาการชัดเจน ดังนั้นจึงมีการตรวจคัดกรองโรคหัวใจที่เป็นการตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย หรือที่รู้จักกันในชื่อ EST
การตรวจ Echo หัวใจคืออะไร...ทำไมต้องตรวจ?
การตรวจ Echo หัวใจสามารถตรวจประเมินประสิทธิภาพของหัวใจ เช่น รูปร่างหรือขนาดของห้องหัวใจ การบีบและคลายตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจและลิ้นหัวใจ การไหลเวียนเลือดในหัวใจ รวมถึงตำแหน่งของหลอดเลือดที่เข้าและออกจากหัวใจว่ามีความผิดปกติหรือไม่
ตรวจภายใน...ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่หลายคนคิด
การตรวจภายใน (Pelvic Exam) เป็นการตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะเพศภายในของผู้หญิง ซึ่งการตรวจภายในจะตรวจทั้งช่องคลอด ปากมดลูก มดลูก รังไข่ กระเพาะปัสสาวะ และลำไส้ใหญ่ด้านล่าง เพื่อตรวจหาความผิดปกติหรือรอยโรคที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
MIS นวัตกรรมการผ่าตัดผ่านกล้อง
สัญญาณเตือน มะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านม (Breast Cancer) เป็นโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นจากการเติบโตผิดปกติของเซลล์ในเนื้อเยื่อเต้านม ซึ่งสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายได้ ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญอันดับ 1 ของผู้หญิงไทย และจะมีความเสี่ยงต่อโรคเมื่ออายุมากขึ้น
โรคท้องผูก...ไม่ใช่แค่เพียงปัญหาด้านการถ่าย
โรคท้องผูก (Constipation) คือ โรคที่เกี่ยวกับการขับถ่าย เนื่องมาจากการที่ลำไส้มีการบีบตัวหรือเคลื่อนตัวช้าในระหว่างการย่อยอาหาร ทำให้ร่างกายไม่สามารถขับถ่ายอุจจาระออกจากระบบทางเดินอาหารได้ตามปกติ
ฝุ่น PM2.5 มลพิษร้ายทำลายปอด
ฝุ่น PM2.5 สามารถผ่านการกรองของขนจมูกและเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจไปจนถึงชั้นในสุดของปอดได้ ซึ่งหากมีการสะสมในร่างกายมากๆ อาจทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ โรคหลอดเลือดและหัวใจเรื้อรัง โรคปอดเรื้อรัง ไปจนถึงมะเร็งปอดได้
โรคปอดอักเสบ อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม
โรคปอดอักเสบคืออาการอักเสบของเนื้อปอดที่มักเกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งสามารถเกิดจากแบคทีเรีย, ไวรัส, หรือเชื้อราได้ อาการหลักๆ ของโรคปอดอักเสบ ได้แก่ ไข้สูง, ไอ, เจ็บหน้าอกเมื่อหายใจหรือไอ, และหายใจลำบาก
รู้ไว้...วัคซีนที่ผู้สูงอายุควรได้รับ
สิ่งที่มาพร้อมกับอายุที่เพิ่มขึ้นไม่ได้มีเพียงตัวเลข แต่รวมไปถึงสุขภาพที่มีความเสื่อมถอยลง โดยเฉพาะกับระบบภูมิคุ้มกันต่อโรคต่างๆ ที่เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถวัดได้ด้วยสายตาเปล่าๆ เนื่องจากภูมิคุ้มกันมีหน้าที่ในการปกป้องร่างกายจากอันตรายจากเชื้อโรคต่างๆ
เอกซเรย์ คืออะไร? ทำไมต้องตรวจ
เอกซเรย์ (X-ray) เป็นการตรวจร่างกายโดยการฉายรังสีเอกซ์ไปยังอวัยวะที่ต้องการตรวจ เพื่อดูความผิดปกติของโครงสร้างต่างๆ เช่น กระดูก หรืออวัยวะภายในร่างกาย
ท้องผูกมีเลือดปน หนีไม่พ้นริดสีดวง
ก่อนออกเดินทาง...ควรตรวจอะไรให้ไร้กังวล
การตรวจสุขภาพก่อนออกเดินทางก็จะคล้ายกับการตรวจร่างกายทั่วไป เช่น วัดความดัน วัดสายตา ตรวจเลือดตรวจปัสสาวะ ตรวจอุจจาระ เอกซเรย์ปอด และทำการตรวจคัดกรองโรคต่างๆ ตามที่ประเทศปลายทางระบุ เช่น โรคปอด วัณโรคปอด ไวรัสตับอักเสบบี โรคเรื้อน โรคซิฟิลิส หรือ HIV เป็นต้น และนอกจากการตรวจสุขภาพแล้ว การได้รับวัคซีนก็สำคัญเช่นกัน ในการเดินทางไปอย่างมั่นใจ และราบรื่น
“Heatstroke” โรคอันตรายในหน้าร้อน
Heatstroke หรือ “โรคลมแดด” เป็นภาวะที่ร่างกายมีความร้อนสูงโดยไม่สามารถระบายออกได้ พบบ่อยในช่วงหน้าร้อน มักเป็นในขณะที่มีการใช้แรงหรือออกกำลังกายอย่างหนักในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง
รู้หรือไม่? ซื้อยามารับประทานเองบ่อยๆ อาจเสี่ยงเป็นโรคไตได้
การรับประทานยาที่มีผลต่อการทำงานของระบบไตที่ทำให้ไตทำงานหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือการได้รับยาเกินขนาด อาจส่งผลให้การทำงานของไตมีความผิดปกติ ซึ่งอันตรายที่จะตามมาอาจทำให้หัวใจเต้นผิดปกติหรือหยุดเต้นได้