การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่
ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์และความเชี่ยวชาญของแพทย์ในการตรวจและรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักได้พัฒนาไปอย่างมาก ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพในรักษา อัตราการหายนั้นมากยิ่งขึ้น
เราสามารถตรวจวินิจฉัยได้ด้วยการซักประวัติ การส่องกล้อง CT Scan และอื่น แตกต่างกันไปตามอาการและความเสี่ยงของผู้ป่วย หากพบความผิดปกติอย่างชัดเจน เช่น การตรวจพบแผล หรือก้อนเนื้องอกภายในลําไส้ใหญ่ ต้องมีการตัดเก็บชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยาเพื่อประกอบการวางแผนการรักษาต่อไป
ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก แบ่งได้ 2 กลุ่มหลักนั่นคือ จากพฤติกรรมความเสี่ยง และก่ีถ่ายทอดจากพันธุกรรม โดยระยะของมะเร็งลำไไส้ใหญ่รนั้นสามารถแบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 มะเร็งที่จำกัดอยู่ภายในของผนังลำไส้ใหญ่
ระยะที่ 2 เกิดการลุกลามออกนอกผนังลำไส้ใหญ่ในบริเวณใกล้เคียง
ระยะที่ 3 มะเร็งลุกลามออกไปที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง
ระยะที่ 4 มีการลามแพร่กระจายไปยังอวัยวะข้างเคียงต่างๆ ของร่างกาย เช่น ปอด ตับ เป็นต้น
วิธีการรักษา
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักนั้น มักใช้การผ่าตัดเป็นวิธีการรักษา เพราะสามารถทำได้ในทุกระยะของโรค สำหรับการรักษาวิธีอื่นเป็นการรักษาเสริม อาทิ รังสีรักษา ยาเคมีบำบัด ซึ่งในบางครั้งหลายคนจะมองว่าถ้าป่วยในระยะที่ 4 ระยะแพร่กระจาย ไม่จำเป็นต้องรักษา เพราะคงไม่มีข้อดี อาจเป็นมุมมองที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะถ้าผู้ป่วยมีสภาพร่างกายที่แข็งแรงยังสามารถการรักษาได้ ในด้านของการให้ยาเคมีบำบัดหรือรังสีรักษา ก็จะช่วยให้บางรายมีอาการทุเลาลงหรือมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นได้
- การผ่าตัด เน้นการตัดเอาลำไส้ใหญ่ที่เป็นมะเร็งออก พร้อมกับตัดเส้นเลือดที่มาเลี้ยงมะเร็งจากต้นขั้ว เลาะเอาต่อมน้ำเหลืองที่คาดว่ามะเร็งจะใช้เป็นเส้นทางในการแพร่กระจายออกให้มากที่สุด รวมถึงส่วนของเนื้อลําไส้ใหญ่โดยรอบของก้อนเนื้อ เพราะเซลล์มะเร็งสามารถแพร่ไปรอบๆ ก้อนเนื้อได้พอสมควร จากนั้นจะเย็บต่อลำไส้ใหญ่เพื่อเชื่อมให้ต่อกันใหม่ ซึ่งการพิจารณาว่าควรผ่าตัดลำไส้ส่วนใดนั้น แพทย์จะพิจารณาจากหลายส่วน อาทิ ตำแหน่งและขนาดของมะเร็ง
ปัจจุบันนอกจากผ่าตัดเปิดหน้าท้องยังมีวิธีผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparoscopic colorectal surgery) เป็นการรักษาที่ให้ผลดี เพราะแผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก, มีกำลังขยายของกล้องสูงทำให้แพทย์มองเห็นรายละเอียดตำแหน่งภายในที่ต้องการผ่าตัดได้ชัดเจน ทั้งลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด เสียเลือดน้อยฟื้นตัวได้เร็วและใช้เวลานอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลสั้น
- ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) การใช้ยาในการรักษาโรคมะเร็ง โดยยาเคมีบำบัดจะออกฤทธิ์เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง หรือหยุดยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง หลังจากกินยา หรือฉีดยาเคมีบำบัดเข้าทางหลอดเลือดดำ, กล้ามเนื้อ ยาจะถูกดูดซึมเข้าทางกระแสเลือด และจับกับเซลล์มะเร็งที่อยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อช่วยรักษาไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ เป็นการควบคุมไม่ให้แพร่กระจาย หรือทำให้ขนาดลดลง โดยยาจะแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่อาจมีผลกับเซลล์ปกติและการทำงานของอวัยวะอื่น เกิดอาการข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ผมร่วง เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันยาเคมีบำบัดสำหรับมะเร็งลำไส้ใหญ่นั้นมีผลข้างเคียงน้อย
- รังสีรักษา (Radiation therapy) หรือที่เรียกกันว่า “การฉายรังสี” คลื่นที่มีพลังงานสูง สามารถทะลุผ่านสิ่งต่างๆ เช่น รังสีเอกซเรย์ หรือแกมมาเรย์ อาจเป็นอนุภาค เช่น รังสีอิเลคตรอน เพื่อประโยชน์ในการทำลาย หรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และต้องคำนึงถึงอวัยวะข้างเคียง เพื่อให้ได้รับรังสีน้อยที่สุด ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดในภายหลัง
หลังการรักษา แพทย์จะมีการติดตามเป็นระยะ เมื่อการตรวจหลังผ่าตัดเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะนัดติดตามอาการทุก 1 เดือน ในช่วง 2 ปีแรก และทุก 2 เดือน ในช่วง 3-5 ปี หลังจากนั้นอาจติดตามทุก 6 เดือน หรือ 12 เดือน ขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละราย
อย่างไรก็ตาม แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาแนวทางการรักษาตามความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย รวมถึงตัวแปรของโรค อาทิ ความรุนแรงในการลุกลามของโรค ขนาด ตำแหน่ง และสุขภาพของผู้ป่วยเป็นสำคัญ
โปรแกรมตรวจสุขภาพ Paolo Life 26 รายการ
ปรึกษาปัญหาสุขภาพ
โรงพยาบาลเปาโล รังสิต
โทร 0-2577-8111 ต่อ 2 หรือ 1772
รับข่าวสารและกิจกรรมทางสุขภาพดีๆ ได้ที่
Facebook : โรงพยาบาลเปาโล รังสิต