รู้(หัว)ใจตัวเอง...ยืดอายุนับสิบปี
โรงพยาบาลเปาโลรังสิต
รู้(หัว)ใจตัวเอง...ยืดอายุนับสิบปี

          หากเปรียบหัวใจเหมือนเครื่องสูบน้ำ 1 เครื่อง ในหนึ่งวัน หัวใจของเราสามารถสูบเลือดให้เต็มถังน้ำขนาดสิบตันได้เต็มในเวลาเพียงแค่ 1 วัน และตลอดชีวิตของเรา หัวใจไม่เคยที่จะหยุดทำงาน หรือหยุดพักเลย หากเราลองเอามือทาบที่อกข้างซ้าย เราจะสามารถจับจังหวะการเต้นของหัวใจได้ตลอดไม่ว่าเวลาไหน เคยลองคิดเล่นๆ ไหม? ถ้าขณะที่จับจังหวะการเต้นของหัวใจนั้น อยู่ๆ จังหวะการเต้นของหัวใจนั้นก็หายไป คงน่าตกใจอยู่ไม่น้อย เพราะหัวใจมีหน้าที่สูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงทุกส่วนต่างๆ ของร่างกาย วันใดที่หัวใจหยุดทำงาน หรือทำงานผิดปกติ อาจอันตรายถึงชีวิตในที่สุด

วิธีการดูแล(หัว)ใจ
          การดูแลรักษาหัวใจให้แข็งแรงนั้นทำได้หลายวิธี ซึ่งในหลายๆ วิธีนั้น พวกเราก็ละเลยลืมมันไป เพียงเพราะการทำงานของหัวใจเป็นเรื่องปกติที่ควรจะเป็น โดยที่เราไม่ได้ตระหนักเลยว่า วันหนึ่งมันอาจเสื่อมประสิทธิภาพลงจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ดูแลรักษามัน วันนี้เรามาแนะนำ 3 วิธีดูแลหัวใจแบบง่ายที่สุด ดังนี้
  1. การออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง 20-30 นาที เช่น การวิ่ง, ว่ายน้ำ, ฟุตบอล, บาสเกตบอล โยคะ หรือ คาดิโอ ก็ช่วยให้หัวใจได้รับออกซิเจนมากขึ้นและทำงานได้อย่างประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย
  2. การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อหัวใจ เช่น การทานอาหารที่มีไขมันต่ำ โปรตีนสูง ไม่ทานอาหารรสจัดมากเกินไป หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันจากสัตว์ เพราะจะมีค่าคอเลสเตอรอลสูง และอาหารจำพวกไขมันทรานส์ ที่พบมากในพวกคุกกี้และแครกเกอร์ต่างๆ ก็ควรหลีกเลี่ยง
  3. การพักผ่อนให้เพียงพอและลดความเครียด เพราะอวัยวะต่างๆ ของเราจะทำตามความสั่งของสมอง หากเรามีภาวะเครียดหรือพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ จะทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น






นอกจากนี้เรายังสามารถดูแลหัวใจของเราได้อีกทางหนึ่งด้วยการตรวจสมรรถภาพและตรวจคัดกรองความผิดปกติของหัวใจด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้

  1. การตรวจ EKG คือ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นไฟฟ้า โดยจะใช้คลื่นไฟฟ้าในการวัดระบบการนำไฟฟ้าของหัวใจเพื่อรับแรงกระตุกไฟฟ้าที่เกิดจากการโพลาไรเซชันและดีโพลาไรเซชัน(การสลับขั้ว)ของเนื้อเยื่อหัวใจและแปลให้เป็นรูปคลื่น นอกจากนี้รูปคลื่นหัวใจจะถูกใช้ในการวัดอัตราและความสม่ำเสมอของการเต้นของหัวใจ วัดขนาดและตำแหน่งของห้องหัวใจและการปรากฏตัวของความเสียหายใดๆ ที่เกิดกับหัวใจได้อีกด้วย
  2. การตรวจ EST คือ การตรวจคลื่นหัวใจขณะออกกำลังกาย โดยส่วนใหญ่จะผู้ได้รับการตรวจสอบจะออกกำลังกายด้วยการเดินหรือวิ่งบนสายพาน เพื่อตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจที่ได้รับการกระตุ้นมากกว่าปกติ
  3. การตรวจ Echo คือ การตรวจแบบอัลตร้าซาวด์ การตรวจประเภทนี้ เหมาะสำหรับ ผู้ที่ไม่สามารถออกกำลังกายเพื่อตรวจคลื่นหัวใจไม่ได้ ผู้ที่มีอาการ หอบ เหนื่อย ที่เกิดจากความผิดปกติของหัวใจ ซึ่งการตรวจแบบ Echo นี้ จะประมวลผลออกมาในรูปแบบภาพ โดยสามารถแสดงถึง การทำงานของลิ้นหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ รูปร่างของขนาดของหัวใจ

          ด้วยวิธีที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นยาชั้นดีที่ทำให้หัวใจของเรามีอายุยืนยาวได้อีกหลายสิบปีเลยทีเดียว


ปรึกษาปัญหาสุขภาพ
โรงพยาบาลเปาโล รังสิต
โทร 0-2577-8111 ต่อ 2 หรือ 1772

รับข่าวสารและกิจกรรมทางสุขภาพดีๆ ได้ที่
Facebook : โรงพยาบาลเปาโล รังสิต

เพิ่มเพื่อน