กายบริหารลดอาการออฟฟิศโดรมทำได้ที่โต๊ะทำงาน
โรงพยาบาลเปาโลรังสิต
30-มี.ค.-2566
กายบริหารลดอาการออฟฟิศโดรมง่ายๆ ทำได้ที่โต๊ะทำงาน

          เมื่อการนั่งทำงานที่โต๊ะเป็นเวลามากกว่า 8 ชั่วโมง หรือนานกว่านั้น ส่งผลเสียต่อกล้ามเนื้อและกระดูกของเรา แม้จะเป็นเรื่องเท่าเลี่ยงไม่ได้ เพราะการชีวิตประจำวันส่งผลกระทบให้ร่างกายและสุขภาพของเราเสื่อมลงไปเรื่อยๆ แต่เราสามารถที่ตจะชะลอหรือบรรเทาอาการเหล่านั้นได้ด้วยการกายบริหาร วันนี้เรามีท่าเช็กและท่ายืดกล้ามเนื้อที่สามารถทำได้เองง่ายๆ ที่โต๊ะทำงาน ไม่ต้องเสียเวลาเข้าฟิตเนส หรือใช้อุปกรณืให้สิ้นเปลืองกันเลย

3 ท่าเช็กออฟฟิศซินโดรมแบบง่ายๆ
  1. ท่าเช็กที่ 1 เช็กกล้ามเนื้อหลัง ต้นแขน โดยการยกแขนข้างขวาขึ้นมา พร้อมยกแขนข้างซ้ายไปไขว้ด้านหลัง มือสองข้าง พยายามเอื้อมแตะกันด้านหลัง หากมือเอื้อมติดกันได้แปลว่ากล้ามเนื้อไม่มีความตึงตัว จากนั้นก็ทำสลับข้าง
  2. ท่าเช็กที่ 2 เช็กกล้ามเนื้อคอ โดยหมุนศีรษะไปด้านขวาไปให้สุด เพื่อดูว่าระดับคางของเราตรงกับระดับไหล่หรือไม่ ถ้าตรงแปลว่าความตึงตัวของเราอยู่ในระดับดี
  3. ท่าเช็กที่ 3 เช็กกล้ามเนื้อขา เราสามารถเช็กความตึงตัวของกล้ามเนื้อขาได้โดยการยืดขาข้างขวาไปด้านข้าง จากนั้นก็ก้มลงไปแตะที่ปลายเท้า ทำอย่างช้าๆ แล้วกลับยืดตัวกลับขึ้นมานั่ง หากทำได้แปลว่าความตึงตัวอยู่ในระดับดี



กายบริหารลดอาการออฟฟิศโดรมทำได้ที่โต๊ะทำงาน
  1. ท่ายืดกล้ามเนื้อ 1 ยืดกล้ามเนื้อคอ โดยการยกมือสองข้างประสานเอาไว้ที่ท้ายทอยของเรา แล้วค่อยก้มลงช้าๆ นำมือทั้งสองข้างกดที่ศีษระลงเบาๆ นับค้างเอาไว้ 15 วินาที ทำทั้งหมด 3 เซ็
  2. ท่ายืดกล้ามเนื้อ 2 ยืดกล้ามเนื้อต้นแขน โดยการยกแขนขวาขึ้นมาตรงๆ ให้ชิดหู จากนั้นยกแขนข้างซ้ายกดลงที่ศอกข้างขวาเบาๆ แล้วนับค้างเอาไว้ 15 วินาที จากนั้นก็ผ่อนแรง ทำสลับกันอีกข้าง ทำทั้งหมด 3 เซ็ท
  3. ท่ายืดกล้ามเนื้อ 3 ยืดกล้ามเนื้อต้นขาและน่อง โดยการพาดขาข้างขวาจากนั้นก้มลงไปแตะที่ปลายเท้า นับค้างเอาไว้ 15 วินาทีจากนั้นทำสลับข้าง ทำซ้ำทั้งหมด 3 เซ็ท
  4. ท่ายืดกล้ามเนื้อ 4 ยืดกล้ามเนื้อก้น โดยการยกขาขวาขึ้นพาดบนเข่าซ้าย จากนั้นก็ก้มลงไปแตะปลายเท้าขาซ้าย นับค้างเอาไว้ 15 วินาที จากนั้นก็สลับทำอีกข้าง ทำทั้งหมด 3 เซ็ท

          อาการปวดกล้ามเนื้อหรือกระดูกจากออฟฟิศซินโดรมนั้นเป็นอาการเรื้อรัง อาจจะไม่สามารถหายหรือดีขึ้นได้ในทันที ต้องทำกาบบริหารอย่างต่อเนื่องเป็นประจำจึงจะเห็นผล หากมีอาการที่รุนแรงขึ้น หรือไม่ทุเลาแนะนำให้มาพบแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัดเพื่อประเมินอาการ รักษาต่อไป


ขอบคุณบทความดีๆ จาก
ทีมกายภาพบำบัด
ประจำโรงพยาบาลเปาโล รังสิต



ปรึกษาปัญหาสุขภาพ
โรงพยาบาลเปาโล รังสิต โทร 0-2577-8111 ต่อ 2 หรือ 1772
รับข่าวสารและกิจกรรมทางสุขภาพดีๆ ได้ที่
Facebook : โรงพยาบาลเปาโล รังสิต

เพิ่มเพื่อน