โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus: DM) เป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) หรือการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน
ทำให้กระบวนการดูดซึมน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานของเซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติหรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนเกิดน้ำตาลสะสมในเลือดปริมาณมาก หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้เป็นเวลานานจะทำให้หลอดเลือดและอวัยวะต่างๆ เสื่อม จนเกิดโรคและอาการแทรกซ้อนขึ้น
โรคเบาหวาน เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติในการทำงานของอวัยวะต่างๆ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และเกิดโรคแทรกซ้อนทางหลอดเลือดตามมา จนเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะทุพพลภาพหรือเสียชีวิตในที่สุด ซึ่ง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นชนิดที่พบได้บ่อยในประชากรไทย โดยพบมากขึ้นในผู้สูงอายุ
ในปัจจุบัน ประเทศไทยยึดหลักเกณฑ์ตามสมาคมเบาหวานแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาในการจำแนกผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยการตรวจปริมาณน้ำตาลในเลือด หากผลการตรวจหลังงดอาหารและเครื่องดื่มที่ให้พลังงานอย่างน้อย 8 ชม. หากพบว่ามีน้ำตาลอยู่ในกระแสเลือดไม่เกิน 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แสดงว่าระดับน้ำตาลในเลือดปกติ ทั้งนี้ระดับน้ำตาลในเลือดยังบ่งบอกถึงภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานได้ด้วย (Prediabetes) ซึ่งผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะเป็นเบาหวานสามารถพัฒนาการเกิด โรคเบาหวานประเภทที่ 2 คือเบาหวานที่เกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อการใช้ อันนำไปสู่โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมองในอนาคตได้ง่ายขึ้น
กลไกการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดนั้นซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับอวัยวะหลายอย่าง
‘อินซูลิน’ เกี่ยวข้องกับ ‘โรคเบาหวาน’ อย่างไร?
อินซูลิน เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญ โดยสร้างและหลั่งออกมาจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อน มีหน้าที่พาน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เนื้อเยื่อส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อเผาผลาญและใช้เป็นพลังงานในการดำเนินชีวิต หากร่างกายขาดอินซูลินหรืออินซูลินออกฤทธิ์ได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ร่างกายก็จะนำน้ำตาลไปใช้ไม่ได้ เป็นเหตุให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นจนเกิดเป็น “โรคเบาหวาน” นอกจากนี้การขาดอินซูลินยังทำให้เกิดความผิดปกติในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต รวมถึงมีความผิดปกติในด้านอื่นๆ ด้วย เช่น มีการสลายตัวของสารไขมันและโปรตีนในร่างกาย
สาเหตุใดที่ทำให้ตับอ่อนสร้างอินซูลินได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และเพราะอะไรที่ทำให้ร่างกายเกิดภาวะดื้อต่อการออกฤทธิ์ของอินซูลินนั้น ในทางการแพทย์ก็ยังไม่มีคำตอบที่แน่ชัด ทราบแต่เพียงว่า ปัจจัยทั้งทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมนั้นมีส่วนเกี่ยวข้อง โดยคนที่เป็นโรคเบาหวานมักมีประวัติพ่อ แม่ พี่ น้อง หรือญาติเป็นโรคเบาหวานด้วย
โรคเบาหวาน มีอาการอย่างไร ?
อาการหลักๆ ที่เป็นสัญญาณว่าคนๆ นั้นมีความเสี่ยงจะเป็นโรคเบาหวาน ได้แก่ รู้สึกหิวบ่อย กระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะมีปริมาณมากและบ่อย รวมถึงอาการต่างๆ เหล่านี้ อาทิ
10 สัญญาณอันตราย โรคเบาหวาน
ความอ้วนกับโรคเบาหวานเกี่ยวข้องกันหรือไม่?
ปัจจุบันพบว่า น้ำหนักตัวที่มากหรือการมีภาวะอ้วนจะทำให้ร่างกายมีภาวะดื้อต่อการออกฤทธิ์ของอินซูลินมากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน โดยเฉพาะในผู้ที่มีความเสี่ยงทางพันธุกรรมอยู่แล้วก็ยิ่งมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานสูงขึ้นหากมีภาวะอ้วน
การรักษาโรคเบาหวาน
ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับ ฮอร์โมนอินซูลิน โดยการฉีด เพื่อเข้าไปทดแทน ควบคู่ไปกับการคุมอาหาร และการออกกำลังกายที่เหมาะสม
หากเป็นในระยะแรกๆ สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลังกายและการควบคุมน้ำหนัก หากอาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจให้ยาควบคู่ไปด้วย หรือฉีดอินซูลินเข้าไปทดแทน เช่นเดียวกับการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 1
สำหรับผู้เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรเข้าฝากครรภ์กับแพทย์ตั้งแต่ในระยะแรก พร้อมทั้งควบคุมการรับประทานอาหารและออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์
การวินิจฉัยโรคเบาหวาน
แพทย์จะสอบถามอาการผู้ป่วย ประวัติการเจ็บป่วยของผู้ป่วยและของบุคคลในครอบครัว ทำการตรวจร่างกาย เจาะเลือดเพื่อตรวจดูระดับน้ำตาลในเลือด โดยมีวิธีการวิเคราะห์ระดับน้ำตาลในเลือดหลายวิธี ได้แก่
หากผู้ป่วยไม่มีอาการของโรคเบาหวานชัดเจน คือ หิวน้ำมาก ปัสสาวะบ่อยและมาก น้ำหนักตัวลดลงโดยที่ไม่มีสาเหตุ การตรวจด้วยวิธีทั้งหมดข้างต้นจำเป็นต้องมีการตรวจซ้ำอย่างน้อย 1 ครั้งด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งอีกครั้งหนึ่ง เพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย
การรักษาโรคเบาหวาน
ในปัจจุบัน มีเกณฑ์ที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคเบาหวานอยู่หลายข้อด้วยกัน แต่ที่นิยมใช้กันมากคือ การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดตอนเช้าหลังอดอาหารและน้ำที่ให้พลังงานข้ามคืน หรืออย่างน้อย 8 ชม. หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ก็จะเข้าเกณฑ์การวินิจฉัยโรคเบาหวาน (ค่าปกติ คือน้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร)
หากมีการเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลโดยไม่อดอาหาร และพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ร่วมกับคนไข้มีอาการปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย และน้ำหนักลด ก็จัดว่าเข้าเกณฑ์การวินิจฉัยโรคเบาหวาน เช่นกัน
ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานที่ต้องระวัง
โรคเบาหวานเป็นโรคที่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าปกติ หากไม่มีการควบคุมในเรื่องของการรับประทานอาหารและดูแลรักษาสุขภาพอย่างถูกวิธี ปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเป็นเวลานาน จะส่งผลต่อเส้นเลือดที่นำสารอาหารไปเลี้ยงอวัยวะในร่างกายจนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ทั้งโรคแทรกซ้อนชนิดที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดเล็ก เช่น เบาหวานขึ้นตา โรคไต เป็นต้น หรือโรคแทรกซ้อนชนิดที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดใหญ่ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน เป็นต้น รวมไปถึงโรคแทรกซ้อนที่ระบบประสาท และโรคที่สามารถทำให้ผู้ป่วยต้องสูญเสียอวัยะบางส่วน นอกจากนี้สตรีมีครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานจะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ และการแท้งบุตรได้
การป้องกันโรคเบาหวาน
สิ่งสำคัญของการป้องกันโรคเบาหวานทุกชนิด คือ ต้องคอยหมั่นระวังระดับน้ำตาลในเลือดและคอเลสเตอรอลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เน้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสารอาหารครบถ้วน มีกากใยสูง หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ รวมถึงควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หากเป็นสตรีมีครรภ์ควรเข้ารับการฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่นๆ และเข้าพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
ศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลเปาโล พระประแดง