ท้องอืด เฟ้อ ทุกครั้งหลังกินข้าว อีกหนึ่งสัญญาณ“นิ่วในถุงน้ำดี”
โรงพยาบาลเปาโลพระประแดง
12-ก.ค.-2560
อาการปวดท้อง อาจเป็นสัญญาณเตือนของหลายๆ โรค และหนึ่งในนั้นก็คือโรค “นิ่วในถุงน้ำดี” ที่อาจเป็นได้กับทุกคนในครอบครัว ดังนั้นถ้าเริ่มมีอาการปวดท้องที่เข้าข่ายนิ่วในถุงน้ำดีเมื่อไหร่ ต้องรีบไปพบแพทย์ด่วน

“นิ่วในถุงน้ำดี” เกิดจากอะไร

นิ่วในถุงน้ำดี (Gallstones) เกิดจากการตกผลึกของหินปูน (แคลเซียม) หรือคอเลสเตอรอลที่มีอยู่ในน้ำดี ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเชื่อว่าการตกผลึกของสารเหล่านี้ เกี่ยวกับการติดเชื้อของทางเดินน้ำดี และความไม่สมดุลของส่วนประกอบน้ำดี การตกผลึกนี้อาจทำให้เกิดเป็นก้อนนิ่วเพียงก้อนเดียว หรือก้อนเล็กๆ หลายก้อนก็ได้

“ใคร” คือ กลุ่มเสี่ยง

จริงๆ แล้วโรคนี้สามารถเกิดได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย เพียงแต่ว่าจะมีคนบางกลุ่มที่มีความเสี่ยงมากกว่าคนอื่น เช่น คนที่มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ผู้หญิงที่มีลูกแล้ว ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน ทาลัสซีเมีย โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก เป็นต้น

อาการแบบไหน คือ “สัญญาณเตือน”

อาการของโรคนิ่วในถุงน้ำดี แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือประเภทที่ไม่มีอาการเลย กับประเภทที่มีอาการ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการ จะตรวจเจอโดยบังเอิญจากการไปตรวจสุขภาพประจำปีที่มีการตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง ส่วนในกลุ่มที่มีอาการก็จะมีอาการตั้งแต่น้อยไปมาก เช่น
  • ท้องอืด แน่นท้อง โดยเฉพาะเวลาหลังทานอาหารมัน ซึ่งอาการแบบนี้อาจเกิดจากโรคระบบ ทางเดินอาหารอื่น เช่น โรคลำไส้ หรือโรคกระเพาะก็ได้
  • ปวดเสียดท้อง หรือปวดท้องบริเวณใต้ชายโครงขวา หรือลิ้นปี่ มักเป็นหลังทานอาหารมัน แต่จะเป็นนานอยู่หลายชั่วโมง บางทีอาจร้าวไปสะบักขวา หรือหลังได้ด้วย
  • ถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน จะปวดท้องบริเวณชายโครงขวามากขึ้น กดแล้วเจ็บ อาจมีไข้ หรืออาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย
  • มีอาการดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง ที่เกิดจากนิ่วไปขวางทางท่อน้ำดี

จัดการได้ด้วยการผ่าตัดส่องกล้องผ่านหน้าท้อง

เป็นวิธีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ช่วยให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลง ลดอาการเจ็บแผล และใช้ระยะเวลาในการพักฟื้นน้อยกว่าการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบเปิดแผล ทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้