โรคข้อเข่าเสื่อม  "โรค" ที่มาพร้อมกับวัยผู้สูงอายุ
โรงพยาบาลเปาโลพระประแดง
14-ธ.ค.-2566
"โรคข้อเข่าเสื่อม" พบได้มากในผู้สูงอายุ  ทำให้เกิดอาการปวดเข่า บวมแดง เข่าฝืด ยึด มีเสียงดังในเข่า ไม่ว่าความรุนแรงของอาการจะมากหรือน้อย ก็เป็นปัญหาในการดำเนินชีวิต สาเหตุที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อม อาจมีหลายกรณี เช่น การมีน้ำหนักตัวมากทำให้เข่าต้องรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวในขณะก้าวเดิน ความเสื่อมสะสมจากการที่ใช้ข่อเข่าไม่ถูกต้อง หรือเคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณข้อ หรือเคยเป็นโรคที่เกี่ยวกับไขข้อมาก่อน เช่น รูมาตอยด์

อาการของโรค
  1. เริ่มมีอาการปวดเมื่อเข่าทำงานหนัก เช่น การเดิน บางรายอาจมีการปวดเป็นๆ หายๆ บางรายมีอาการปวดตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการเสื่อมของข้อเข่า
  2. ข้อเข่ามีการผิดรูป มีอาการเข่าบวม หรือขาโก่งออก
  3. บางรายอาจมีข้อติด หรือ ฝืด
  4. มีปัญหาในการนั่ง เก้าอี้เตี้ย การขึ้นลงบันได

แนวทางการดูแลข้อเข่า
  1. การใช้ความร้อนประคบ เพื่อลดอาการปวด เกร็งกล้ามเนื้อรอบเข่า
  2. การบริหารกล้ามเนื้อเข่าให้แข็งแรง ช่วยลดแรงกระแทกต่อข้อเข่า
  3. ควรใช้สนับเข่าในกรณีที่ปวดเข่า เสียความมั่นคง และบริหารข้อเข่าอย่างสม่ำเสมอ
  4. ควรหลีกเลี่ยงการนั่ง พับเพียบ คุกเข่า ขัดสมาธิ นั่งยองๆ เพราะการทำเช่นนี้จะเป็นตัวเร่งให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้น
  5. ในบางกรณีอาจต้องมีตัวช่วยในการยืน การเดิน เช่นไม้เท้า หรือ ร่มที่สามารถใช้แทนไม้เท้าได้
  6. เพราะน้ำหนักตัวที่มากเกินทำให้เข่าทำงานหนักต้องแบกน้ำหนักตัว การลดน้ำหนักจึงเป็นสิ่งสำคัญจะช่วยลดแรงกระแทกต่อข้อเข่าเวลาเดินหรือทำกิจกรรมต่างๆ ได้



การใช้ข้อเข่าที่ถูกวิธีจะช่วยยืดอายุการใช้งานของข้อเข่าได้ 

อริยาบทที่ไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคข้อเข่า ควรมีการปรับให้เหมาะสมในแต่ละคน ตัวอย่างเช่น
การนั่งซักผ้าบนเก้าอี้เตี้ยๆ ควรเหยียดเข่าสองข้าง และควรซักน้อยชิ้น หากใช้เครื่องซักผ้าได้ก็จะเป็นการดี
• การรีดผ้า ควรหลีกเลี่ยงการนั่งพื้นรีดผ้า อาจต้องใช้เก้าอี้มาเป็นตัวช่วยหรือยืนรีด จะเหมาะสมกว่า
• ควรใช้ไม้ถูพื้น หรือทำความสะอาดพื้น เพื่อหลีกเลี่ยงการก้มถูพื้น
• หลีกเลี่ยงการนั่งพับเพียบไปวัดฟังเทศน์ หันมานั่งเก้าอี้แทน
• การนั่งขัดสมาธิบนเก้าอี้ แทนการนั่งบนพื้น
• เลี่ยงการนั่งพื้นที่ต้องงอเข่ามาก โดยเฉพาะเวลาลุกขึ้นลง
• หลีกเลี่ยงการใช้ส้วมที่นั่งยองๆ เพราะจะเพิ่มอาการปวดเข่า อาจปรับส้วมมาเป็นแบบนั่งชักโครก

ทางเลือกของการออกกำหลังกายในผู้ป่วยที่มีอาการข้อเข่าเสื่อม
การออกกำลังกายในน้ำ เป็นการออกกำลังกายที่ดีที่สุดในภาวะผู้มีข้อเข่าเสื่อม เพราะน้ำมีแรงพยุงตัวทำให้ข้อเข่ารับน้ำหนักน้อยลง จึงเหมาะกับผู้ที่มีอาการปวดเข่า และมีน้ำหนักตัว แรงหนืดของน้ำทำให้ต้องออกแรงมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้ดี ส่วนอุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมประมาณ 25 องศาเซลเซียสจะให้ความสดชื่นแก่ร่างกาย ส่วนอุณหภูมิ ที่ใกล้เคียงกับร่างกาย เช่น 35 องศาเซลเซียสจะช่วยลดปวด กล้ามเนื้อคลายตัว ได้ดีในผู้ที่มีข้อตึง ยึด
เมื่อท่านดูแลข้อเข่าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม จะช่วยชะลอความเสื่อม และยืดอายุการใช้งานของข้อเข่า ซึ่งจะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตในการใช้ข้อเข่าให้แก่ท่าน


แนวทางการรักษา
การรักษาโดยไม่ใช้ยา
โดยการประคับประคองด้วยการลดแรงกดที่ ข้อเข่า ร่วมกับการทำให้กล้ามเนื้อต้นขาแข็งแรงขึ้น ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่ ร่างกายจะค่อยๆ ซ่อมแซมส่วนของข้อที่เสื่อมได้ การได้รับคำแนะนำการใช้ข้ออย่างถูกวิธี จะช่วยให้อาการปวดทุเลา ทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ได้ดีขึ้น ถึงแม้จะเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ข้อ การควบคุมน้้าหนักตัว การบริหารกล้ามเนื้อและออกกำลังเพื่อสุขภาพ

การรักษาการใช้ยา
  1. ยาแก้ปวดพาราเซตามอล เป็นยาที่ควรเลือกใช้เป็นอันดับแรกในกรณีที่ ปวดไม่มาก เพราะให้ประสิทธิผลดี และปลอดภัย รับประทาน 2 เม็ด วันละ 4 ครั้ง (4 กรัม/วัน) เพื่อให้ได้ระดับยาในการรักษา ซึ่ง โอกาสเป็นพิษต่อตับน้อยมาก ถ้าไม่เป็นโรคตับหรือดื่มสุราจัด
  2. ยาเฉพาะที่ ประเภทยาแก้ปวดและต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์และเจลพริก (Capsaicin) ใช้ทานวดซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดความร้อนเฉพาะที่  
  3. ยาต้านการอักเสบไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ในรูปของยารับประทาน และยาฉีด ซึ่งช่วยลดอาการปวดและอักเสบได้ดี ควรใช้ยาอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะ ในผู้สูงอายุ ผู้ที่ได้รับยาสเตียรอยด์ ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด หรือผู้ที่เป็นโรค กระเพาะอาหาร หรือมีปัญหา หอบหืด ตับ ไต หัวใจ และสังเกตผลข้างเคียงของยาที่ พบได้ เช่น ไม่สบายท้อง ท้องอืด ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายอุจจาระสีดำ ผื่นคัน พิษต่อตับ ไต ยากลุ่มนี้อาจทำให้บวมและความดันโลหิตสูงขึ้น ข้อแนะน้าไม่ควรใช้ยา ติดต่อเป็นเวลานาน
  4. ยาคลายกล้ามเนื้อ การอักเสบทำให้กล้ามเนื้อโดยรอบเกร็งตึงได้ การใช้ ยาคลายกล้ามเนื้อจะช่วยลดอาการเหล่านี้ได้
  5. ยาแก้ปวดที่เข้าด้วยอนุพันธ์ฝิ่น ใช้ในกรณีปวดรุนแรง หรือผู้ที่มี โรคประจ้าตัวซึ่งใช้ยากลุ่มอื่นไม่ได้ แต่ห้ามใช้ในผู้มีปัญหาตับอักเสบ ยากลุ่ม นี้มีผลข้างเคียงได้แก่ ท้องผูก ง่วงซึม เวียนศีรษะ ความดันโลหิตต่้า ต้อง ระวังการหกล้ม
  6. ยาช่วยประคองหรือยาลดความเสื่อมของข้อ เช่นGlucosamine sulfate, Diacerein, น้ำไขข้อเทียม (Hyaluronic acid) สามารถลดอาการปวด และอาจเปลี่ยน โครงสร้างกระดูกอ่อน ข้อต่อ ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์ช้า ราคาแพงต้องฉีดหลายครั้ง ไม่ควรใช้ในผู้ที่ ข้อเสื่อมรุนแรง
  7. ยาฉีดสเตียรอยด์เข้าข้อ สามารถลดอาการปวดในช่วงสั้นๆ 2-3 สัปดาห์ ไม่ควรฉีดประจำ เนื่องจากจะทำลายกระดูกอ่อนข้อต่อได้ใช้ในกรณีที่ ปวดเฉียบพลันเท่านั้น

การรักษาโดยการผ่าตัด
การส่องกล้องข้อเข่า เพื่อตรวจสภาพและล้างภายในข้อ เป็นการรักษาที่น่าจะได้ผลดีในกลุ่มที่มีแผลในผิวข้อเล็กน้อยที่เป็น สาเหตุของอาการปวดขัดในข้อ ใช้รักษาภาวะเข่าเสื่อมใน ระยะแรกเท่านั้น ในกรณีที่ข้อเสื่อมมากหรือรุนแรง แนะนำ ให้ผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อแทน เพื่อผลการรักษาที่ดีกว่า
การผ่าตัดปรับแนวข้อ ในกรณีที่มีการผิดรูปของข้อ (High Tibial Osteotomy) ทำให้ผู้ป่วยอายุน้อยและมีข้อเสื่อมเฉพาะที่
การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม (Total Knee Replacement)





รับข่าวสารและกิจกรรมทางสุขภาพดีๆ ได้ที่
Facebook : โรงพยาบาลเปาโล พระประแดง
เพิ่มเพื่อน