ลำไส้ใหญ่อักเสบ รู้ทันอาการและรักษา ก่อนเรื้อรัง
โรงพยาบาลเปาโลพระประแดง
24-เม.ย.-2565
ลำไส้ใหญ่อักเสบ  เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว หรือเชื้อรา การอักเสบมักทำให้เกิดอาการปวดท้องส่วนล่าง หรือปวดเกร็ง ท้องร่วง และเกิดการอักเสบของลำไส้ใหญ่  อาการอาจไกล้เคียงกับถ่ายท้อง ทำให้หลายคนเข้าใจว่าไม่รุนแรง

ลักษณะของลำไส้ใหญ่อักเสบ

โดยส่วนมากแล้ว อาการอักเสบของลำไส้ใหญ่มักเกิดแบบเฉียบพลัน อาการของโรครุนแรงแต่ทุเลาลงได้อย่างรวดเร็ว โดยอาจไม่ได้รับการรักษา หรือรับการรักษาเพียงเล็กน้อย การเป็นโรคนี้เสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำ อย่างไรก็ตาม อาการท้องร่วงจากการติดเชื้อต่างๆ อาจมีความรุนแรง และนำไปสู่การถ่ายเป็นมูกเลือด ที่เป็นอันตรายติดเชื้อส่วนอื่นๆ เป็นแผลผนังลำไส้ หรือหากอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้



โรคลำไส้อักเสบ เกิดจากสาเหตุใด?
ทางการแพทย์ยังไม่พบสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบ แต่สาเหตุที่เป็นไปได้นั้นอาจเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานผิดปกติ เพราะโดยปกติแล้วระบบภูมิคุ้มกันจะทำหน้าที่ป้องกันและกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายอย่างเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย แต่เมื่อระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติจึงทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น ดังนั้นจึงทำให้เกิดการติดเชื้อและการอักเสบที่ลำไส้ตามมา ส่วนในกรณีที่ผู้ป่วยมีระบบภูมิคุ้มกันที่ทำงานผิดปกติเป็นระยะเวลานานๆ อาจทำให้เกิดอาการลำไส้อักเสบเรื้อรังได้

ลำไส้อักเสบเฉียบพลันที่เกิดจากการติดเชื้อ
  1. เกิดจากพิษของแบคทีเรีย โดยที่ไม่มีการรุกรานทำลายผิวของลำไส้ (Non-invasive) ส่วนใหญ่เกิดจากแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย อาจทำให้ถ่ายมากกว่า 10 ลิตรต่อวัน และทำให้เกิดภาวะช็อกจากการสูญเสียน้ำได้ภายในระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมง
  2. เกิดจากการรุกรานทำลายผิวของลำไส้โดยแบคทีเรีย (Invasive) อาการของโรคเกิดจากการทำลายผนังของลำไส้ ทำให้มีอาการท้องเสีย ปวดท้อง มีไข้สูง อุจจาระมีมูกเลือดหรือมีกลิ่นเหม็น
  3. เกิดจากการติดเชื้อไวรัส (Viral gastroenteritis) เป็นสาเหตุของการท้องเสียที่พบบ่อยในเด็กเล็ก แต่ปัจจุบันพบโรคนี้ในผู้ป่วยผู้ใหญ่มากขึ้น ได้แก่ Rota visus, Adenovirus หรือ Norovirus ทำให้มีอาการท้องเสีย มีไข้ ปวดท้อง คลื่นไส้ ปวดตามตัว เป็นต้น

ลำไส้อักเสบเฉียบพลันที่ไม่ใช่การติดเชื้อ

เป็นสาเหตุส่วนน้อยของโรคลำไส้อักเสบเฉียบพลัน ซึ่งเกิดจากการกินสารมีพิษหรือกินอาหารที่ย่อยยากจำนวนมาก เช่น สารพิษจากปลาทะเล สารโลหะหนัก เห็ดพิษบางชนิด หรือกินยาผิด เป็นต้น ทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง และมักเกิดภายใน 2-4 ชั่วโมงหลังได้รับพิษ

อาการอักเสบของลำไส้ใหญ่พบบ่อยแค่ไหน
การอักเสบของลำไส้ใหญ่จากการติดเชื้อเป็นอาการที่พบบ่อย มันจะถูกเรียกว่าไวรัสลงกระเพาะ (stomach flu) แต่กระเพาะอาหารไม่เกี่ยวข้องกับโรคนี้ ถึงแม้จะมีชื่อเรียกเช่นนั้นก็ตาม 

บางคนอาจมีอาการปวดท้องกะทันหันหรือบางครั้งปวดท้องเวลาเดิม ซ้ำๆ ปวดอุจจาระบ่อย ถ่ายไม่เป็นเวลา บางครั้งก็ถ่ายไม่ออก อาการที่แสดงก็มักจะค่อยเป็นค่อยไป แต่จะเป็นเรื้อรัง เวลานานจนคนไข้แทบไม่รู้ตัวจึงคิดว่าเป็นเรื่องปกติ เมื่อนานเข้าจะมีเลือดออกมาทางอุจจาระ หรือท้องเสียกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุและทำให้เกิดแผลในลำไส้ โอกาสที่จะหายสนิทก็ยากมากขึ้น

อาการ
อาการทั่วไปของอาการอักเสบของลำไส้ใหญ่ มีดังนี้
  • ถ่ายท้องมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน
  • ถ่ายมีเลือดหรือมูกปน
  • ปวดหัวและปวดเมื่อยตามตัว
  • มีไข้ต่ำ (ต่ำกว่า 38 องศาเซลเซียส)
  • ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือปวดเกร็ง
  • อาจมีอาการอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอาการของโรค ควรปรึกษาแพทย์

การตรวจวินิจฉัยโรคลำไส้อักเสบ
เมื่อมาโรงพยาบาลแพทย์จะสอบถามผู้ป่วยเกี่ยวกับอาการและประวัติการรักษา รวมทั้งอาจตรวจร่างกายผู้ป่วยว่ามีอาการอย่างอื่นหรือเกิดอาการตึงที่ท้องร่วมด้วยหรือไม่ ทั้งนี้แพทย์ต้องส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อแยกวินิจฉัยโรคลำไส้อักเสบออกจากโรคอื่นๆ ซึ่งบางโรคมีลักษณะอาการของโรคคล้ายกัน โดยการวินิจฉัยโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังประกอบด้วย
  • การตรวจร่างกาย ตรวจอุจจาระ ตรวจเลือด (CBC) เพื่อดูว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไม่
  • การตรวจค่าเกลือแร่ในร่างกาย เพื่อตรวจดูภาวะขาดน้ำ
  • การตรวจเพาะเชื้อจากอุจจาระหรือจากเลือด และแพทย์อาจสั่งตรวจรายการอื่นๆ เพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยที่แพทย์ตรวจพบและดุลพินิจของแพทย์ เช่น การเอกซเรย์ภาพช่องท้องกรณีที่คนไข้ปวดท้องมาก เป็นต้น





การตรวจวินิจฉัยโรคลำไส้อักเสบด้วยเทคโนโลยีการส่องกล้อง

 

การส่องกล้องทางเดินอาหาร คือการใช้เทคโนโลยีด้วยกล้องขนาดเล็กเพื่อตรวจหาความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร และทำการรักษาอาการผิดปกติดังกล่าว โดยโรคที่อันตรายต่อระบบทางเดินอาหาร คือ โรคมะเร็งในทางเดินอาหารและเป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตสูง ดังนั้นการส่องกล้องทางเดินอาหารจะทำให้พบเจอมะเร็งในทางเดินอาหาร หากรักษาได้ทันจะทำให้ปลอดภัยจากโรคนี้ได้ โดยทางโรงพยาบาลเพชรเวชมีการบริการส่องกล้องทางเดินอาหารพร้อมแพ็กเกจ เพื่อประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการ ทั้งนี้การส่องกล้องทางเดินอาหารยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  • ระบบทางเดินอาหารส่วนบน โดยจะทำการส่องตั้งแต่หลอดอาหารถึงลำไส้เล็กส่วนต้น

  • ระบบทางเดินอาหารส่วนล่าง โดยจะทำการส่องตั้งแต่ลำไส้เล็กส่วนปลายถึงปากทวารหนัก


รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน
  1. รักษาความสะอาดของอาหาร น้ำดื่มโดยเฉพาะน้ำแข็ง ห้องครัว เครื่องใช้ในการปรุงอาหาร
  2. อาหารควรปรุงให้สุกอย่างทั่วถึง
  3. ล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ
  4. ใช้ส้วมเสมอในการขับถ่าย เพื่อลดโอกาสเกิดโรคระบาดติดต่อทางอุจจาระ
  5. กรณีที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศ ควรศึกษาสุขอนามัยของประเทศที่จะไปก่อนเสมอ โดยเฉพาะเรื่องน้ำดื่มและอาหารการกิน
  6. สำหรับการป้องกันโรคลำไส้อักเสบที่ไม่ทราบสาเหตุจากการติดเชื้อ เป็นโรคที่ไม่สามารถป้องกันได้ ดังนั้นเราจึงควรใส่ใจความสะอาดของอาหารที่รับประทานและการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งนี้เพื่อช่วยลดความเสี่ยงไม่ให้เกิดโรคลำไส้อักเสบ

การรักษาอาการอักเสบของลำไส้ใหญ่

การรักษาอาการอักเสบของลำไส้ใหญ่ทำได้โดยการใช้ยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อปรสิต ที่สั่งโดยแพทย์จากผลการตรวจอุจจาระ การติดเชื้อไวรัสมักไม่จำเป็นต้องมีการรักษาเฉพาะ แต่อาการจะหายไปเองเมื่อเวลาผ่านไป ควรต้องใช้สารทดแทนน้ำในร่างกาย เพื่อชดเชยการขาดน้ำและเกลือแร่ การใช้ยาแก้ปวดเพื่อลดไข้ อาจจำเป็นในกรณีการติดเชื้อรุนแรง อาจต้องมีการให้ธาตุเหล็ก ในกรณีเสียเลือดมากและยาวนาน


ศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลเปาโล พระประแดง
02 818 9000 ต่อ 113