ภูมิแพ้ในเด็ก โรคไม่ร้ายแต่ทำลายคุณภาพชีวิตแย่ลง
โรงพยาบาลเปาโลพระประแดง
21-มิ.ย.-2566
ภูมิเเพ้ เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัย ทั้งในวัยเด็ก วัยผู้ใหญ่ หรือวัยผู้สูงอายุ โดยมีอัตราการป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสภาพแวดล้อมในปัจจุบันเต็มไปด้วยมลภาวะทางอากาศที่ทำให้สารก่อเกิดอาการภูมิแพ้เพิ่มสูงขึ้น เช่น ฝุ่นควันต่างๆ ฝุ่น PM.2.5 เป็นต้น ซึ่งโรคภูมิแพ้อาจรักษาให้หายขาดไม่ได้ แต่สามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ ดังนั้น อย่าละเลยในการดูสุขภาพ เพราะอาจทำให้อาการภูมิแพ้รุนแรง หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมาได้

ภูมิแพ้ โรคที่ทำให้การใช้ชีวิตลำบาก ?
โรคภูมิแพ้
เกิดจากการที่ร่างกายของเราเกิดปฏิกิริยาต่อสารก่อภูมิแพ้ที่ผิดปกติ ซึ่งคนที่เป็นภูมิแพ้จะมีปฏิกิริยาที่ตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้มากกว่าคนปกติ โดยสารก่อภูมิแพ้จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่
- สารก่อภูมิแพ้อากาศ ไร้ฝุ่น แมลงสาบ ขนแมว บุหรี่ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM.2.5 ควันรถ ละอองเกสรดอกไม้
- สารก่อภูมิแพ้ที่อยู่ในอาหาร เช่น โปรตีนต่างที่อยู่ในนมวัว ไข่ดาว ไข่แดง ถั่วลิสง และอาหารทะเล จำพวก กุ้ง ปู หอย เป็นต้น

ไข้หวัดหรือภูมิแพ้ ต่างกันอย่างไร
        หลายๆคนอาจกังวลใจว่าตนเองเสี่ยงเป็นภูมิแพ้ด้วยหรือไม่ เนื่องจากอาการไข้หวัดกับภูมิแพ้มีอาการคล้ายๆกัน โดยไข้หวัดจะเกิดจากเชื้อไวรัสเป็นหลัก และมีอาการจาม คัดจมูก น้ำมูกไหล หรือมีไข้ร่วมด้วย ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายไปเองประมาณ 1สัปดาห์ แต่หากเป็นภูมิแพ้ อาการแพ้ก็จะเกิดบริเวณจมูกหรือเยื่อบุโพรงจมูก และอาจเป็นๆหายๆ ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน เช่น จามหรือคัดจมูกตอนเช้า แต่พอเริ่มสายๆก็อาการดีขึ้น หรือมีอาการเวลาที่สัมผัสไร้ฝุ่น


ภูมิแพ้ โรคนี้เกิดจากอะไร
- ภูมิแพ้จากกรรมพันธุ์ เป็นโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ในกลุ่มที่ครอบครัวไม่มีประวัติป่วยเป็นโรคภูมิแพ้มาก่อน ซึ่งโอกาสเสี่ยงที่เป็นโรคภูมิแพ้ประมาณ 10% เนื่องจากสภาวะสิ่งแวดล้อมรอบตัวเต็มไปด้วยสารก่อให้เกิดภูมิแพ้ แต่หากในครอบครัวคนใดคนหนึ่งมีประวัติเคยเป็นโรคภูมิแพ้มาก่อน โอกาสที่จะเป็นก็มีประมาณ 50% หรือหากทั้งครอบครัวมีประวัติเคยเป็นภูมิแพ้ทั้งคุณแม่และคุณพ่อ โอกาสที่ลูกจะเป็นภูมิแพ้ก็มีสูงถึง 70%
- ภูมิแพ้จากสิ่งแวดล้อม ซึ่งเกิดจากสารก่อภูมิแพ้ที่เข้าสู่ร่างกายของเรา เช่น การหายใจ การรับประทานอาหาร หรือการสัมผัสสารต่างๆ โดยสารก่อภูมิแพ้ที่พบบ่อย ก็คือ ไรฝุ่น ละอองเกสร ขนสุนัขหรือแมว และอาหารบางชนิด เช่น นมวัว ไข่ แป้งสาลี

อาการเสี่ยงเป็น ภูมิแพ้
- อาการภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ เช่น น้ำมูก จาม คัดจมูก คันจมูก คันตา เคืองตา นอนกรน ไอเรื้อรัง ไอมีเสมหะ หอบหืด หายใจลำบาก และเหนื่อยง่าย
- อาการภูมิแพ้ระบบผิวหนัง เช่น ผื่นคัน หรือลมพิษ ซึ่งจะเกิดจากการแพ้ยา แพ้อาหาร หรือการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งอาการแพ้จะเกิดบริเวณทั่วร่างกาย ทั้งใบหน้า แขน ขา
- อาการภูมิแพ้ระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้หรืออาเจียนหลังรับประทานอาหาร ถ่ายเหลว ถ่ายมีเลือดปน ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดจากการแพ้นมวัว

ปัจจัยเสี่ยงเป็นภูมิแพ้
1. ซักประวัติอาการแพ้ เช่น คนในครอบครัวเป็นภูมิแพ้ไหม หรือมีสิ่งกระตุ้นอะไรบ้างที่ทำให้เกิดสารก่อภูมิแพ้ภายในบ้าน เช่น สูบบุหรี่ เลี้ยงสัตว์ และสิ่งแวดล้อมรอบบ้านมีไร้ฝุ่นบ้างไหม
2. การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง ด้วยการสะกิดผิว (Skin test) ซึ่งสามารถตรวจวินิจฉัย และทราบผลอาการแพ้ได้ภายใน 20 นาที โดยแพทย์จะหยดน้ำยาที่สกัดจากสารภูมิแพ้ชนิดต่างๆ ที่มีอยู่ในอากาศหรือที่สงสัยว่าผู้ป่วยแพ้ เช่น ฝุ่น ขนสัตว์ แมลงสาบ ซึ่งวิธีนี้จะแนะนำให้ทดสอบกับผู้ที่มีอายุ 1 ปีขึ้นไป เนื่องจากผลการทดสอบภูมิแพ้อาจจะแสดงผลได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ โดยวิธีการทดสอบแบบสะกิดผิวหนังหากเป็นผู้ใหญ่จะหยดน้ำยาสกัดลงไปที่ท้องแข็ง แต่หากเป็นเด็กเล็กก็จะหยดน้ำสกัดลงไปบริเวณที่หลัง ซึ่งจะต้องหยดลงไปบริเวณที่ไม่มีผื่นขึ้น รวมทั้งผู้ป่วยต้องงดยาแก้แพ้ หรือยาประเภทสเตรอยด์ มาด้วยก่อนทำการทดสอบภูมิแพ้
3. การทดสอบภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด (Blood Test Allergy) โดยเป็นวิธีที่สามารถตรวจได้ทุกช่วงวัยทั้งผู้ใหญ่ เด็ก หรือผู้สูงอายุ โดยไม่ต้องงดยาแก้แพ้หรือยาสเตรอยด์ก่อนมาตรวจภูมิแพ้ ซึ่งวิธีนี้จะต้องนำเลือดไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ และอาจจะใช้เวลาในการรอผลเลือดประมาณ 7 วัน

เมื่ออาการแพ้รุนแรง อันตรายไหม ?
        หากปล่อยให้ภูมิแพ้เกิดอาการรุนแรง ก็อาจทำให้เกิดอาการแพ้พร้อมๆกันได้หลายระบบในร่างกาย เช่น มีผื่นลมพิษ ปากบวมหรือตาบวม หายใจลำบาก และหน้ามืดเป็นลมหมดสติไป ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินที่ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ต้องรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเกิดอันตรายถึงชีวิต หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมาได้

เมื่อเป็น ภูมิแพ้ ต้องรักษาอย่างไร ?
- การหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ เมื่อรู้ว่าตัวเองมีอาการแพ้สิ่งเหล่านั้น เช่น หากแพ้อาหารทะเลก็ไม่ควรกินอาหารทะเลเข้าไป หรืออาจคิดว่ากินไปได้แล้วค่อยกินยาตามไป ถ้าหากคิดแบบนั้นก็คงคิดผิด เพราะเมื่ออาการแพ้รุนแรงมากขึ้นก็อาจอันตรายถึงชีวิตได้
- การฉีดวัคซีนป้องกันภูมิแพ้ ซึ่งเป็นการฉีดป้องกันในสิ่งที่แพ้ เพื่อสร้างภูมิต้านทานให้แข็งแรง
- สำหรับผู้ป่วยที่เป็นหอบหืด หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้หรือใช้ยาฉีดพ่นบริเวณรอบหน้าที่สัมผัสไร้ฝุ่น
- สำหรับผู้ป่วยภูมิแพ้ผิวหนัง ควรใช้สบู่หรือโลชั่นที่อ่อนโยนต่อผิวหนัง เพื่อเก็บรักษาความชุ่มชื่นให้กับผิวหนัง

มาเอาชนะ ภูมิแพ้ ด้วยการดูแลสุขภาพกัน
- ผู้มีอาการแพ้ขนสัตว์ หลีกเลี่ยงการนำสัตว์เลี้ยง เข้ามาในห้องนอน
- หลีกเลี่ยงการเข้าไปในห้องที่เพิ่งทำความสะอาดเสร็จ ควรรออย่างน้อย 20 นาที เพื่อรอให้ฝุ่นที่ฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศตกลงสู่พื้นให้หมด
- หลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้ เช่น ควันบุหรี่ หมอกควัน
- ล้างมือทันที หลังจากสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ เช่น หลังจากสัมผัสสัตว์ หลังจากทำความสะอาดบ้าน หลังจากสัมผัสเกสรดอกไม้
- สวมหน้าทุกครั้ง เมื่อต้องออกจากบ้าน เพื่อป้องกันการสัมผัสสารก่อนภูมิแพ้ผ่านทางการหายใจ

ทั้งนี้ หากไม่แน่ใจ มีอาการ คัน, ผื่น, ตุ่ม, คัน หรือกังวลสามารถเข้ามาปรึกษากับแพทย์ได้ เพื่อหาแนวทางการป้องกันที่ดีที่สุดในการใช้ชีวิตประจำวันให้ห่างไกลจากโรคภูมิแพ้นั่นเอง 
 

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ
คลินิกโรคภูมิแพ้สำหรับเด็ก ,คลินิกทันตกรรมสำหรับเด็ก
ศูนย์กุมารเวชกรรม 24 ชั่วโมง

โรงพยาบาลเปาโล พระประแดง
โทร. 02 818 9000 ต่อ 107 , 108


รับข่าวสารและกิจกรรมทางสุขภาพดีๆ ได้ที่
Facebook : โรงพยาบาลเปาโล พระประแดง

เพิ่มเพื่อน