MIS-C ภาวะแทรกซ้อนในเด็ก อาการหลังจากหายโควิด 19
โรงพยาบาลเปาโลพระประแดง
22-ก.ค.-2565
MIS-C (มิสซี) ภาวะแทรกซ้อนหลังหายป่วยโควิดในเด็ก
มิสซี (MIS-C) ชื่อเต็มว่า Multisystem infammatiry syndrome in children เป็นภาวะอักเสบของอวัยวะทั่วร่างกายหลายระบบ ภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นเมื่อหายจากการติดเชื้อโควิด-19 ในช่วงระยะเวลา 2-6 สัปดาห์ ส่วนใหญ่พบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง การอักเสบในระบบต่างๆ ทั่วอวัยวะของร่างกาย ตั้งแต่ 2 ระบบขึ้นไป มีการคาดการณ์ว่า เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันที่สูงผิดปกติ มีอาการคล้าย โรคคาวาซากิ หากมีอาการรุนแรงสามารถส่งผลให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้




“อาการ” ภาวะMIS-C (มิสซี)

อาการของ MIS-C อาจเป็นภาวะมิสซีจะแสดงอาการในหลายระบบร่วมกัน  โดยผู้ปกครองต้องหมั่นสังเกตเด็ก โดยจะมีอาการลักษณะ
ของ MIS-C อาจมีมากกว่า 1 อย่าง ดังนี้
  • มีผื่นขึ้น
  • อาเจียน
  • ท้องเสีย
  • เจ็บคอ
  • ตาแดง
  • อ่อนเพลีย
  • ปวดท้อง
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • มีไข้นานต่อเนื่องเกิน 24 ชั่วโมง
  • มือเท้าบวม
  • ต่อมน้ำเหลืองบวม
  • ริมฝีปาก หรือลิ้นบวม
  • เวียนหัว (สัญญาณของความดันโลหิตต่ำ)
ผลกระทบต่อระบบหัวใจที่สามารถพบได้ในภาวะ MIS-C

จากที่กล่าวมาข้างต้น เห็นได้ว่า ภาวะมิสซี (MIS-C) นั้น จะทำให้ระบบในร่างกาย มากกว่า 2 ระบบเกิดความผิดปกติ อวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย ซึ่งมักเกิดการอักเสบกับระบบต่างๆดังนี้

  • ระบบประสาท เด็กมีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • ระบบหายใจ  เด็กมีอาการปอดอักเสบ ลิ่มเลือดอุดตันในปอด และหายใจลำบาก
  • ระบบหัวใจ และหลอดเลือด เด็กมีอาการช็อค หัวใจอักเสบ
  • ระบบเลือด การแข็งตัวเลือดผิดปกติ
  • ระบบทางเดินอาหาร เด็กมีอาการท้องเสีย ปวดท้อง และตับอักเสบ    
  • เด็กมีอาการไตวายเฉียบพลัน
  • ผิวหนัง เด็กมีอาการเยื่อบุผิวหนังอักเสบ เป็นผื่น แดง

การรักษาภาวะ MIS-C
หัวใจของการรักษา MIS-C คือ ลดการอักเสบและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น โดยในการรักษาเด็กจะต้องไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่น แพทย์จะทำการรักษาตามอาการ เพื่อป้องกันการอักเสบกลับเป็นซ้ำ ควบคุมและปรับการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน และต้องติดตามอาการต่อเนื่องในระยะยาวอย่างน้อย 1 ปี

ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่จำเพาะในภาวะ MIS-C การรักษาหลักเป็นการรักษาแบบประคับประคอง และ การรักษาตามอาการความผิดปกติในระบบต่างๆ IVIG ถือเป็นยาสำคัญที่ใช้ในการรักษา และ ยาในกลุ่ม anti-inflammatory drugs รวมถึง inflammatory cytokines antagonists อาทิเช่น Aspirin, corticosteroids, Anakinra, และ Tocilizumab เนื่องจากเชื่อว่ากลไกการเกิดภาวะ MIS-C คือ cytokine storm นอกเหนือจากการรักษาด้วยยา anti-viral drug ในกรณีที่ RT PCR positive

สรุป
ถึงแม้การติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในเด็กจะแสดงอาการความผิดปกติน้อยกว่าผู้ใหญ่ แต่พบว่า ภาวะการอักเสบทั่วร่างกาย (MIS-C) ซึ่งเชื่อว่าเป็นความผิดปกติของการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของร่างกาย ยังเป็นภาวะที่สามารถพบได้เด็ก และ มีความรุนแรงเป็นอันตรายถึงชีวิต การได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การสืบค้นอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้รับการวินิจัยภาวะดังกล่าวอย่างถูกต้อง และ รวดเร็ว เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งจะนำไปสู่การเลือกแนวทางการรักษาที่เหมาะสม เพื่อลดความรุนแรง และ ลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย

คลินิกเด็ก 24 ชม. โรงพยาบาลเปาโล พระประแดง
02 818 9000