การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (complete blood count, CBC) เป็นการตรวจปริมาณและลักษณะของเม็ดเลือดทั้งสามชนิด ได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด โดยเป็นการตรวจพื้นฐานทั้งเพื่อการตรวจร่างกายประจำปี และการตรวจเพื่อดูแลรักษาผู้ป่วย
การตรวจเลือด (Blood testing) เป็นหนึ่งในวิธีการสำคัญเพื่อบ่งชี้การทำงานของอวัยะต่าง ๆ ภายในร่างกาย หรือเป็นการตรวจวิเคราะห์หาปัจจัยเสี่ยงของสุขภาพของแต่ละบุคคล ซึ่งจะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคหรือสภาวะบางอย่างที่ผิดปกติของร่างกายได้ เชื่อว่าผู้ป่วยหลาย ๆ ท่านหรือผู้ที่เข้ารับการตรวจสุขภาพเมื่อได้ใบผลการตรวจเลือดจากโรงพยาบาลนั้น มักจะไม่เข้าใจความหมายของค่าต่าง ๆ จากข้อจำกัดดังกล่าวบทความนี้จึงได้รวบรวมคำอธิบายและความหมายของค่าต่าง ๆ ไว้เพื่อช่วยให้หลาย ๆ ท่านได้เข้าใจผลเลือดของตนเองได้ดียิ่งขึ้น
องค์ประกอบของเม็ดเลือด
เม็ดเลือด เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของน้ำเลือดและยังมีบทบาทที่สำคัญต่อคนและสัตว์ทุกชนิด หากเปรียบเทียบ เม็ดเลือดแดงก็เปรียบเสมืองขบวนรถไฟที่ประกอบไปด้วยตู้โบกี้ หากรถไฟทั้งขบวนมีความสมบูรณ์แบบและได้มาตรฐาน ก็จะสามารถขนส่งผู้โดยสารและสินค้าไปยังจุดหมายปลายทางได้อย่างสมบูรณ์แบบ ดังนั้นเม็ดเลือดที่สมบูรณ์ต้องประกอบด้วย
- พลาสมา ( plasma ) คือค่าหนึ่งของผลการตรวจเป็นของเหลวที่ร่างกายสร้างขึ้นพร้อมกับเลือด เพื่ออำนวยความสะดวกให้เลือดในการไหลเวียน พลาสมาประกอบด้วย 90 %และอีก 10 %เป็นโปรตีน วิตามินและแร่ธาตุ สารชีวโมเลกุลในการสร้างลิ่มเลือด ฮอร์โมน สารชีวโมเลกุลที่เป็นภูมิต้านทาน และสารของเสียที่ร่างกายผลิตขึ้นมาและติดปะปนมากับอาหาร
- เซลล์เม็ดเลือดขาว ( white blood cell , WBC ) คือค่าหนึ่งของผลการตรวจเป็นกลุ่มเซลล์เม็ดเลือดที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการฆ่าหรือทำลายจุลชีพก่อโรคที่เข้าสู่ร่างกายหรือเซลล์ในร่างกายที่กลายพันธุ์ไปเป็นเซลล์มะเร็งก็อาจถูกทำลายได้ เซลล์เม็ดเลือดขาวมีเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ของน้ำเลือดซึ่งมีองค์ประกอบแยกย่อยดังนี้
- เซลล์เม็ดเลือดแดง ( red blood cell , RBC ) คือค่าหนึ่งของผลการตรวจ คือเม็ดเลือดที่มีสีแดง เนื้อเม็ดเลือดสร้างด้วยโปรตีนมีรูปร่างคล้ายจานกลมเว้าตรงกลางเข้าหากันทั้งสองด้าน เพื่อที่จะมีพื้นที่ผิวให้มากที่สุดในการจับออกซิเจนจากปอดส่งต่อให้ทุกเซลล์ในร่างกายอย่างเพียงพอ โดยมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7.8 ไมครอน ความหนาขอบประมาณ 2.6 ไมครอนและตรงกลางประมาณ 0.8 ไมครอน ซึ่งมีองค์ประกอบแยกย่อยดังนี้
ค่าไหน บอกอะไร มาทำความเข้าใจกัน
ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count หรือ CBC)
เริ่มกันที่ค่า CBC ค่านี้จะบอกให้รู้ว่าเลือดของเรามีความผิดปกติไปจากที่ควรจะเป็นหรือไม่ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงโรคโลหิตจาง หรือภาวะธาลัสซีเมีย และมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ โดยจะมีการแยกย่อยเป็นค่าต่างๆ ดังนี้
ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin:Hb/HGB) เป็นค่าระดับโปรตีนในเซลล์เม็ดเลือดแดงบ่งบอกถึงความสามารถในการลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ในร่างกายของเม็ดเลือดแดง
ค่าปกติของฮีโมโกลบิน
ผู้ชาย | 13–17.4 grams per deciliter (g/dL) |
ผู้หญิง | 12–16 grams per deciliter (g/dL) |
- หากค่าสูงกว่ามาตรฐาน ก็จะบ่งบอกให้รู้ว่ามีภาวะเลือดข้น
- หากค่าต่ำกว่ามาตรฐาน ก็จะบ่งบอกให้รู้ว่ามีภาวะโลหิตจาง
ฮีมาโทคริต (Hematocrit: HCT) เป็นค่าปริมาณความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงต่อปริมาตรของเลือดทั้งหมด ซึ่งค่านี้จะแสดงโดยการวัดเป็นเปอร์เซ็นต์ค่าปกติของฮีมาโทคริต
ผู้ชาย | 40-50% |
ผู้หญิง | 35-47% |
- หากค่าสูงกว่ามาตรฐาน ก็จะบ่งบอกให้รู้ว่ามีภาวะเลือดข้น
- หากค่าต่ำกว่ามาตรฐาน ก็จะบ่งบอกให้รู้ว่ามีภาวะโลหิตจาง
จำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว (White Blood Cell Count: WBC) ซึ่งในผู้ที่สภาพร่างกายแข็งแรงเป็นปกติ ควรมีเม็ดเลือดขาวประมาณ 4,500-10,000 cell/ml- หากค่าสูงกว่ามาตรฐาน อาจบ่งบอกถึงภาวะการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสต่างๆ ในร่างกาย
- หากค่าต่ำกว่ามาตรฐาน คุณถือว่ามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
การจำแนกชนิดของเม็ดเลือดขาว (Differential WBC)เม็ดเลือดขาวเป็นกำลังสำคัญในการต่อสู้กับเชื้อโรคที่ลุกลานเข้ามาในร่างกายของเรา ซึ่งแต่ละชนิดก็จะทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันเชื้อโรคต่างชนิดกันไป
ค่าปกติของเม็ดเลือดขาวแต่ละชนิด
Neutrophils | 50%–70% |
Lymphocytes | 20%–40% |
Monocytes | 0%–7% |
Basophils | 0%–1% |
Eosinophils | 0%–5% |
หากค่าเม็ดเลือดขาวชนิดใดเพิ่มสูงกว่าค่ามาตรฐานก็จะบ่งบอกให้รู้ถึงการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียในกลุ่มนั้น แต่หากค่า Eosinophils สูงก็จะบ่งบอกถึงอาการแพ้ การติดเชื้อปรสิต หรือพยาธิ ในร่างกาย
จำนวนเกล็ดเลือด (Platelet (thrombocyte) count) เพราะเกล็ดเลือดมีบทบาทสำคัญในการทำให้เลือดหยุดไหล หากเรามีเกล็ดเลือดน้อยเกินไปก็จะทำให้เลือดออกแล้วไม่หยุด แต่หากเกล็ดเลือดมากเกินไป ก็จะมีโอกาสที่จะเกิกการจับตัวกันของเกล็ดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบได้ ดังนั้นปริมาณเกล็ดเลือดที่เหมาะสมก็คือ 140,000–440,000 platelets/mm3 นั่นเอง
แผนกตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลเปาโล พระประแดงโทร . 02 818 9000 ต่อ 113