ข้อเท้าพลิกบ่อยๆ เสี่ยง “ โรคข้อเท้าหลวม “
โรงพยาบาลเปาโลพระประแดง
29-พ.ย.-2565
หลายๆ คนอาจจะหักโหมจากการออกกำลังกายหนักๆ และทำให้เกิดข้อเท้าพลิกบ่อย ๆ  แต่ก็เป็นเรื่องปกติเนื่องจากข้อเท้าพลิกอาจจะทำให้บาดเจ็บเพียงเล็กน้อย จึงปล่อยไว้เป็นระยะเวลานาน
แต่รู้หรือไม่ หากปล่อยไว้นานๆ อาจเสี่ยงให้ก่อเป็น โรคข้อเท้าหลวม ได้ !!



นายแพทย์สร ตันสุธัญลักษณ์ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ( เท้า – ข้อเท้า ) โรงพยาบาลเปาโล พระประแดง เปิดเผยว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคข้อเท้าหลวม โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากการเล่นกีฬาทำให้เกิดอุบัติเหตุข้อเท้าพลิก
และหากมีการพลิกซ้ำบ่อยๆ
จะทำให้เกิดการอักเสบ และข้อเท้าเสื่อมในอนาคตมากขึ้นและกลายเป็นโรคข้อเท้าหลวม นอกจากนักกีฬาที่มีความเสี่ยงแล้ว ผู้หญิงที่สวมรองเท้าส้นสูง ก็เสี่ยงข้อเท้าพลิก และก่อให้เกิด โรคข้อเท้าหลวมได้เช่นกัน

ระดับอาการความรุนแรงของโรคข้อเท้าหลวม ที่ต้องพบแพทย์
เอ็นข้อเท้าที่สำคัญ จะมี 3 เส้น คือ เอ็นด้านหน้า ด้านนอก และด้านใน หากเกิดข้อเท้าพลิก หรือมีอาการเจ็บที่ข้อเท้าและดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์ ไม่ต้องพบแพทย์แต่หากยังมีอาการ ปวดมาก ข้อเท้าบวมมาก หลังพลิก ไม่ทุเลาเป็นมากกว่า 2 สัปดาห์
ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและวินิจฉัยอย่างละเอียด


วิธีการรักษาโรคข้อเท้าหลวม
แพทย์จะทำการประเมินอาการ เริ่มตั้งแต่อาการน้อยหรือข้อเท้าบวมเล็กน้อย ไปจนถึงขั้นที่มีอาการอักเสบที่รุนแรง โดยเบื้องต้นหากมีอาการน้อยจะมีการใส่เฝือกและลดการสวมใส่รองเท้า เพื่อลดการอักเสบของข้อเท้าที่เกิดการอักเสบและทำการ
เสริมสร้างกล้ามเนื้อทำหน้าที่ชดเชยในช่วงแรกไม่ให้ข้อเท้าที่พลิก และเส้นเอ็นที่เกิดการอักเสบไม่ให้อักเสบเพิ่มและเสียหายมากกว่าเดิม

แต่ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะมีอาการที่ดีขึ้นประมาณ 80% แต่จะยังคงมีผู้ป่วยที่มีอาการไม่ดีขึ้นประมาณ 20% สำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ อาจจะต้องทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง และในกลุ่มผู้ป่วยที่อักเสบถึงขั้นรุนแรง จะทำการวินิจฉัยด้วยวิธีการตรวจ
ด้วยคลื่นแม่เหล็กฟ้า MRI ที่สามารถดูความผิดปกติ ว่าเส้นเอ็นมีการฉีกขาดมากแค่ไหนรวมถึงการดูรอยโรคที่อยู่บนกระดูกชิ้นอื่นๆ ด้วย เพื่อทำการรักษาในระดับต่อไป โดยนวัตกรรมการผ่าตัดส่องกล้องแผลเล็ก MIS อีกหนึ่งทางเลือกของการรักษา

ข้อมูลโดย :
นายแพทย์สร ตันสุธัญลักษณ์
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ (เท้า-ข้อเท้า)
โรงพยาบาลเปาโล พระประแดง