โรคกระดูกพรุน ดูแลเร็ว ป้องกันได้
โรงพยาบาลเปาโลเกษตร
21-ก.ย.-2566

ใครๆ ก็อยากมีกระดูกที่แข็งแรง ไม่เปราะบางแตกหักง่าย เพื่อความมั่นใจในการทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวและไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใด แต่ทว่า เมื่อสูงวัยขึ้น... ความแข็งแรงของกระดูกย่อมถดถอยไปตามกาลเวลาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะความหนาแน่นของมวลกระดูกของคนเราจะลดลงตามอายุ โดยการสร้างขึ้นใหม่ทดแทนนั้นไม่เพียงพอเหมือนสมัยเป็นหนุ่มเป็นสาว ทำให้ผู้สูงอายุเสี่ยงกับการแตกหักของกระดูกเมื่อเกิดการหกล้มหรือได้รับอุบัติเหตุสูงขึ้น ปัจจุบัน ไม่เพียงแต่ผู้สูงอายุเท่านั้นที่จะเกิดภาวะกระดูกพรุนนี้ เพราะการใช้ชีวิตประจำวันของเรา บางครั้งก็ส่งผลให้มีภาวะกระดูกพรุนเร็วขึ้นโดยไม่รู้ตัว เช่น การเคลื่อนไหวร่างกายที่ไม่เหมาะสม หรือการรับประทานอาหารและยาบางประเภท

ใครหรือพฤติกรรมใดทำเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน

  1. สตรีวัยหมดประจำเดือน

  2. ผู้สูงวัยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป

  3. มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน

  4. สูบบุหรี่มากๆ และติดต่อกันหลายปี

  5. ใช้ยาสเตียรอยด์เกินขนาด

  6. น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากโหมออกกำลังกายหรืออดอาหาร

  7. ขาดวิตามินดี หรือแคลเซียม

  8. ภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล เช่น โรคต่อมไทรอยด์

  9. ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นประจำ



เสริมสร้างสุขภาพกระดูกให้แข็งแรง เพื่อป้องกันกระดูกพรุนได้อย่างไร?

  1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

  2. รับประทานผัก ผลไม้ที่มีวิตามินดี เพราะมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างแคลเซียมให้กับร่างกาย

  3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ให้มีแรงกดพอประมาณ

  4. งดสูบบุหรี่

  5. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงสารคาเฟอีน เนื่องจากมีผลทำลายกระดูก

  6. ตรวจสุขภาพประจำปี และไปพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการเจ็บป่วย

เมื่อสงสัยว่าจะเป็นโรคกระดูกพรุน ควรไปพบแพทย์ แพทย์จะทำตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูกในบริเวณต่างๆ เช่น กระดูกสันหลัง (SPINE) กระดูกสะโพก (HIP) หรือกระดูกแขนบริเวณข้อมือ (FOREARM & WRIST) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ วินิจฉัยที่จะทำให้เราทราบถึงภาวะเสี่ยงของโรคกระดูกบาง โรคกระดูกพรุน อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กระดูกเปราะและแตกหักง่าย เพื่อหาทางป้องกันพร้อมเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกและหากตรวจพบว่ามีภาวะกระดูกบางหรือพรุน แพทย์จะให้การรักษาตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ซึ่งเป็นการดูแลความหนาแน่นของมวลกระดูกให้กลับมาอยู่ในระดับที่มีความปลอดภัยและแข็งแรงเพียงพอ ทั้งยังเป็นการช่วยชะลอไม่ให้กระดูกพรุนลุกลามมากเกินไปอีกด้วย



สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม
แผนกศัลยกรรม กระดูกและข้อ โรงพยาบาลเปาโล เกษตร
โทร. 02 1500 900 ต่อ 5114
Facebook : โรงพยาบาลเปาโล เกษตร
Line official account : Paolo Hospital Kaset
Line ID : @paolokaset