“หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน” เรื่องด่วนต้องรู้
โรงพยาบาลเปาโลโชคชัย4
03-ต.ค.-2561
title โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่รุนแรง ( Heart Attack ) สามารถทำให้เสียชีวิตได้ โรคนี้จึงเป็นอีกหนึ่งโรคที่ต้องให้ความสำคัญเพราะทุกวินาทีหมายถึงชีวิต

โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันมีสาเหตุจากหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจอุดตันรุนแรงจึงทำให้มีเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอส่งผลให้คนไข้มีอาการต้องมาโรงพยาบาล

โดยส่วนใหญ่กรณีของโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันนั้นความรุนแรงของโลกเป็นสิ่งที่น่ากลัวเพราะบางรายอาจเสียชีวิตทันทีหรือแม้กระทั่งมาโรงพยาบาลแล้วก็ยังมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตที่สูงซึ่งการรักษาสามารถทำได้หลายวิธี

การให้ยาละลายลิ่มเลือดเข้าทางหลอดเลือดดำ

การทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจคือ การใส่สายสวนซึ่งมีบอลลูนไปบริเวณหลอดเลือดที่ตีบผ่านทางขาหนีบหรือข้อมือ เมื่อถึงจุดที่ตีบตัน จึงใส่ลมในบอลลูนให้พองตัว ซึ่งผนังหลอดเลือดที่ตีบตันขยายออกทำให้เลือดไหลผ่านไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้มากขึ้น
การผ่าตัดต่อหลอดเลือด เลี้ยงหัวใจหรือการผ่าตัดบายพาสคือการผ่าตัดต่อเส้นเลือดไปเลี้ยงหัวใจเพื่อทำทางเบี่ยงเสริมหลอดเลือดบริเวณที่ตีบตันให้เลือดผ่านส่วนที่ตีบหรือตันไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้มากขึ้นโดยหลอดเลือดดำอาจนำมาจากขาหรือหลอดเลือดแดงจากทรวงอกหรือปลายแขน

หลายคนมักมีคำถามว่าสิ่งใดเป็นปัจจัยของโรคที่น่ากลัวนี้ สามารถแบ่งง่าย ๆ ออกเป็น 2 ส่วนคือ

1.ปัจจัยที่แก้ไขไม่ได้

ได้แก่ เพศ เพศชายพบโลกนี้สูงกว่าเพศหญิงอายุในเพศชายที่อายุมากกว่า 45 ปีและเพศหญิงอายุมากกว่า 55 ปีถือเป็นกลุ่มเสี่ยงประวัติครอบครัวกรณีผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจหรือเสียชีวิตกะทันหันในช่วงอายุน้อยผู้ชายวัยอายุน้อยกว่า 65 ปีและผู้หญิงอายุน้อยกว่า 65 ปีก็จะนับว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง

2.ปัจจัยที่แก้ไขได้

ได้แก่ การควบคุมดูแลโรคประจำตัว อาทิ ความดันโลหิตสูงเบาหวานไขมันในเลือดสูงเป็นต้นการงดสูบบุหรี่และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของโรคนี้ได้อีกทั้งผู้ที่มีชีวิตที่เคร่งเครียดเร่งรีบอยู่ในภาวะกดดันตลอดเวลาก็นับเป็นกลุ่มเสี่ยงมากกว่าผู้ที่ใช้ชีวิตแบบไม่เร่งรีบ

คนไข้ที่มีอาการเข้ามารับการรักษาแพทย์จะซักประวัติตรวจร่างกายเพื่อพิจารณาความเสี่ยงและอาการที่เกิดขึ้นสำหรับการตรวจร่างกายอื่นๆแพทย์จะพิจารณาตามความเหมาะสมเช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ( EKG ) การเอกซเรย์ปอดตรวจเลือดอัลตร้าซาวด์หัวใจ (Echocardiogram: ECHO ) ตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการเดินสายพาน (Exercise stress test: EST) และการตรวจเพิ่มเติมอื่นๆที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล

สิ่งสำคัญของโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่หมออยากจะฝากสำหรับทุกๆคนคือเมื่อใดที่มีอาการเฉียบพลันขอให้รีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านที่มีความพร้อมทันที อย่ารอให้มีอาการรุนแรงแล้วค่อยมารักษา เพราะทุกวินาทีคือโอกาสของชีวิต