พ่อแม่อย่ากังวล หากเด็กชายเล่นแบบเด็กหญิง เด็กหญิงเล่นแบบเด็กชาย
โรงพยาบาลเปาโลโชคชัย4
24-ก.ย.-2561
title หลายต่อหลายครั้งที่พ่อแม่เริ่มเป็นกังวล เมื่อเห็นลูกเล่นในแบบที่ไม่สมดุลกับเพศของเขา เช่นเด็กชายเล่นของเล่นของเด็กผู้หญิง ส่วนเด็กหญิงเล่นของเล่นเด็กผู้ชาย

ซึ่งปัญหาเหล่านี้อาจจะสร้างคำถามและความกังวลใจให้กับคนเป็นพ่อแม่ว่าลูกของเราเมื่อโตไปจะมีพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไหมนะ หรือ สิ่งเหล่านี้มันบอกอะไรกับคนเป็นพ่อแม่และควรรับมือหรือจัดการกับปัญหานี้อย่างไร เราไปฟังเรื่องราวเหล่านี้จาก นพ.รัตนภูมิ วัฒนปัญญาสกุล แพทย์เฉพาะทางจิตเวชเด็กและวัยรุ่น จากโรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4 กัน


ทำไมลูกถึงเล่นไม่ตรงกับเพศ

สำหรับเด็ก ๆ แล้วบางครั้งก็มักจะเล่นของเล่นที่ไม่ตรงกับเพศของตัวเอง เช่น เป็นเด็กหญิงแต่ชอบเล่นแบบเด็กผู้ชายชอบเล่นหุ่นยนต์ เล่นรถ หรือแม้กระทั่งเล่นชกต่อยแบบเด็กผู้ชาย หรือ ในทางกลับกันที่ลูกเป็นเด็กผู้ชายแต่ชอบเล่นตุ๊กตาหรือเล่นทำกับข้าวแบบเด็กหญิง ซึ่งก็ไม่ได้แปลว่าเด็กจะเปลี่ยนรสนิยมทางเพศไปเลย ซึ่งพ่อแม่ไม่ควรที่จะต่อว่าหรือดูลูกหากลูกเล่นในทางตรงข้ามก็ควรอธิบายให้เขาได้เข้าใจว่าการเล่นแบบไหนที่เหมาะสมกับเพศของเขา ดังนั้นหากลูกของคุณเล่นในแบบเพศตรงข้ามก็ไม่ควรกังวลจนมากเกินไป

สาเหตุของพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศของเด็ก

สาเหตุของพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศของเด็ก นอกเหนือจากเรื่องพันธุกรรมที่อาจจะเป็นสาเหตุแล้ว อีกสาเหตุหนึ่งที่มักเป็นต้นเหตุของพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศในเด็กก็คือ คือ เรื่องของปมชีวิตหรือการใช้ชีวิตซึ่งก็คือ สภาพสิ่งแวดล้อมหรือการเลี้ยงดูที่หล่อเลี้ยงเด็กมา คือ พ่อแม่จะต้องเป็นตัวอย่างที่ดีของลูกให้ถูกหน้าที่ เช่น บทบาทของความเป็นพ่อก็คือเป็นผู้นำครอบครัวที่เข้มแข็ง บทบาทของแม่ก็คือเป็นแม่บ้านที่ดูแล โดยทำหน้าที่ของตนเองให้สมดุล พ่อปฏิบัติหน้าที่ในส่วนของผู้ชายถ้ามีงานที่เป็นของผู้ชายก็ให้พ่อทำไปแม้แม่จะทำได้แต่ก็ควรให้พ่อทำ หน้าที่ของแม่เช่นทำกับข้าวก็ให้แม่ทำ เพื่อให้เขาได้ทราบถึงบทบาทหน้าที่ที่ถูกต้องและชัดเจนของเพศนั้น ๆ

นอกจากการปฏิบัติหน้าที่ของพ่อแม่แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่นับว่ามีความสำคัญสำหรับเด็ก ๆ และเป็นภูมิคุ้มกันชั้นดีสำหรับการเลี้ยงดูเขาก็คือ ความอบอุ่นในครอบครัว เพราะหลายครั้งที่พฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศในเด็กนั้นเกิดจาก การที่เด็กขาดความอบอุ่น

เทคนิคการดูแลเด็ก ๆ ในยุคปัจจุบัน

การดูแลเด็ก ๆ และการแก้ปัญหาพฤติกรรมของเด็กนั้นมีระยะขั้นตอนดังต่อไปนี้

ระยะที่ 1 ระยะรักช่วงอายุ 1 ขวบปีโดยระยะนี้เป็นระยะที่ให้ความรักให้ทุกอย่างเช่น หากเขาหิวนมก็ให้เขากิน หากร้องก็อุ้ม

ระยะที่ 2 ระยะกฎ ช่วงอายุ 11/2 – 31/2 ปี ระยะนี้จะเป็นช่วงที่กฎต้องมาก่อน ซึ่งบางครั้งพ่อแม่อาจจะคิดว่าไม่ควรตั้งกฎกับเขาซึ่งแท้จริงพ่อแม่ควรจะสอนเขาว่าอะไรควรไม่ควร สิ่งใดทำได้สิ่งใดทำไม่ได้แล้วค่อยนำไปสู่ระยะที่ 3

ระยะที่ 3 ระยะนอกกรอบหรือระยะสร้างสรรค์ช่วงหลัง 31/2 ครึ่ง ระยะนี้เป็นระยะที่พ่อแม่อาจจะปล่อยให้เขาได้เรียนรู้ด้วยตนเอง เขาจะเริ่มทดลองเริ่มเรียนรู้ที่จะสร้างสรรค์หรือทำด้วยการเลียนแบบโดยเด็กจะเลียนแบบเพศเดียวกัน ถ้าความสัมพันธ์กับพ่อแม่ดี เด็กก็จะเลียนแบบพฤติกรรมแบบพ่อและแม่ที่เป็นเพศเดียวกัน

ระยะที่ 4 ระยะเป็นตัวเอง ช่วงอายุ 6 – 12 ปี ในช่วงนี้เป็นช่วงที่เด็กจะมีความคิดสร้างสรรค์ โดยจะเด็กเริ่มที่จะอยากลงมือปฏิบัติและลงมือทำด้วยตนเอง



ขอบคุณข้อมูลโดย นพ.รัตนภูมิ วัฒนปัญญาสกุล

แพทย์เฉพาะทางจิตเวชเด็กและวัยรุ่นโรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4